ลูกน้อยเป็นหวัดหรือภูมิแพ้กันแน่

ลูกน้อยเป็นหวัดหรือภูมิแพ้กันแน่

ลูกน้อยเป็นหวัดหรือภูมิแพ้กันแน่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงแบบนี้ คุณพ่อคุณแม่จะรู้สึกว่าลูกมีอาการป่วยอยู่บ่อยๆ เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล ปวดท้อง งอแงกวนบ่อยๆ ก็คิดว่าเป็นหวัดธรรมดา แต่บางทีอาจจะเป็นภูมิแพ้ได้ การที่จะแยกให้ชัดเจนว่าลูกเป็นหวัดหรือภูมิแพ้กันแน่นั้น ไม่ง่ายเพราะอาการทั้งสองโรคนี้ใกล้เคียงกันมาก ฉบับนี้เรามีวิธีแยกอาการทั้ง 2 มาฝากกัน เพื่อการรักษาอย่างถูกวิธีค่ะ





ความแตกต่างของหวัดกับภูมิแพ้


การติดเชื้อหวัด : ลูกน้อยจะมีอาการน้ำมูกข้น (อาจมี สีเหลือง หรือเขียวด้วย) และอาการมักจะดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์
ภูมิแพ้ : อาการที่พบส่วนใหญ่ คือ คัดจมูกบ้าง จาม หรือมีน้ำมูกใสๆ อยู่เรื่อยๆ เด็กบางรายอาจจะมีอาการไอค่อนข้างมาก และอาจมีอาการหอบ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซึ่งอาการหอบที่เกิดจากภูมิแพ้ในรายที่เป็นบ่อยๆ อาจจะกลายเป็นโรคหอบหืดในที่สุด

 

อาการภูมิแพ้ : ขึ้นอยู่ที่ภูมิต้านทานของเด็กแต่ละคน จะแพ้ไม่เหมือนกัน คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตได้จากสภาพสิ่งแวดล้อม รอบตัวลูก เช่น เมื่ออากาศเย็นลูกอาจจะมีอาการไอ จาม มีน้ำมูกใสๆ หรือเมื่อลูกอยู่ในที่ที่มีควันบุหรี่ลูกอาจมีน้ำมูกไหล เป็นต้น


สังเกตอาการแพ้จากพฤติกรรมลูกน้อย


ในเด็กที่มีปัญหาภูมิแพ้ อาจทำให้เกิดอาการคัน แน่นจมูก หายใจไม่สะดวก หรือบางครั้งอาจปวดท้อง ทำให้เด็กมีลักษณะเป็นเด็กที่งอแง หงุดหงิด กวนบ่อย เป็นที่เด็กเลี้ยงยาก

 

นอกจากยังมีภูมิแพ้ชนิดอื่นอีก เช่น แพ้ไร้ฝุ่น หรือแพ้ฝุ่นในห้องนั้น มักจะมีอาการเป็นไปเรื่อยๆ ตลอดปี หรือในรายที่แพ้ละอองเกสรดอกไม้ หรือเกสรหญ้า ก็จะมีอาการมากในช่วงดอกไม้หรือ หญ้างาม คือ ฤดูใบไม้ผลิ และหน้าฝน คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตพฤติกรรมของลูกว่าแพ้สิ่งไหน เพื่อที่จะหาทางป้องกันได้ถูกวิธี เพราะภูมิแพ้ถ้าไม่มีสิ่งมากระตุ้นก็จะไม่เกิดอาการใดๆ ขึ้น



ป้องกันโรคภูมิแพ้


ถ้าครอบครัวของคุณมีปัญหาภูมิแพ้คุณควรจะดูแลตนเองในระหว่างการตั้งครรภ์ตั้งแต่แรก โดยการเลี่ยงสารก่อแพ้ต่างๆ ดังนี้


- หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่ทำให้แพ้ได้ง่ายๆ เช่น ถั่วลิสง (รวมถึงเนยถั่วลิสง, คุกกี้ถั่ว, ไอศกรีมถั่ว) หรือ อาหารทะเลปริมาณมากๆ


- พยายามให้นมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน (ในกรณีที่ลูกมีอาการภูมิแพ้ขณะที่กินนมแม่ คุณแม่ต้องสังเกตว่าตนเองกินอาหารอะไรบ้าง เช่น เด็กอาจแพ้นมวัวที่คุณแม่ดื่ม เป็นต้น)


- ถ้าคุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ เนื่องจากมีน้ำนมไม่พอ หรือไม่สามารถทำได้จากสาเหตุต่างๆ ก็ควรพิจารณาใช้นมที่มีคุณสมบัติพิเศษที่ทำให้เกิดการแพ้น้อย (Hypoallergenic) เพื่อลดโอกาสเกิดปัญหา การแพ้ให้ลดน้อยลง


- ไม่ให้มีการสูบบุหรี่ในบ้าน


- ไม่ใช้พรมในห้องนอน (หรือทั้งบ้าน)


- ใช้ที่นอนและเครื่องนอนที่ป้องกันไรฝุ่น


- รักษาความสะอาดในบ้านให้สม่ำเสมอ พยายามให้มีฝุ่น เชื้อรา และสารก่อแพ้ให้น้อยที่สุด ไม่ควรมี สัตว์เลี้ยงในบ้าน (เช่น แมว, หนูแฮมสเตอร์, นกแก้ว, นกหงส์หยก) หรือปลูกต้นไม้ในห้องนอนเพราะจะเกิดเชื้อราในดินได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook