ผู้หญิงที่ไม่เคยตั้งท้อง มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่ สูงกว่าหรือเปล่า

ผู้หญิงที่ไม่เคยตั้งท้อง มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่ สูงกว่าหรือเปล่า

ผู้หญิงที่ไม่เคยตั้งท้อง มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่ สูงกว่าหรือเปล่า
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ถึงแม้จะเป็นมะเร็งที่พบได้เพียงร้อยละ 3 ในผู้หญิง แต่มะเร็งรังไข่ (ovarian cancer) ก็มีอัตราการเสียชีวิตสูง เมื่อเทียบกับมะเร็งชนิดอื่นๆ ในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง โดยบางส่วนเนื่องจากมักแสดงอาการน้อย จนกระทั่งมีการแพร่กระจายมากขึ้น และเนื่องจากขาดการตรวจคัดกรองที่เหมาะสม และ ความเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่ ประการหนึ่ง ยังสัมพันธ์กับประวัติการตั้งครรภ์ของผู้หญิง

ผลของประวัติการตั้งครรภ์ต่อการเป็นมะเร็งรังไข่

มีหลายการศึกษาเผยว่า ผู้หญิงที่ไม่เคยมีบุตร หรือคลอดบุตรเมื่อมีอายุมาก จะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งรังไข่สูงขึ้นเล็กน้อย แต่ก็มีจำนวนเพียงเล็กน้อย ผู้หญิงที่เคยตั้งครรภ์ และอุ้มท้องจนถึงครบกำหนดคลอด ก่อนอายุ 26 ปี มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งรังไข่ต่ำกว่าผู้ไม่เคยตั้งครรภ์ ความเสี่ยงจะลดลงการการตั้งท้อง จนครบกำหนดคลอดในแต่ละครั้ง ผู้หญิงที่ครบกำหนดคลอดครั้งแรก หลังจากอายุ 35 ปี หรือไม่เคยตั้งครรภ์จนครบกำหนดคลอด มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งรังไข่สูงกว่า

มีสมมุติฐานว่า ยิ่งผู้หญิงได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเท่าใดในชีวิต ก็ยิ่งมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งรังไข่มากขึ้นเท่านั้น การคลอดบุตรจัดเป็น "การปกป้อง" เนื่องจากทำให้ผู้หญิงอยู่ห่างจากการตกไข่/ฮอร์โมนเอสโตรเจน เป็นเวลาเก้าเดือนในระหว่างตั้งครรภ์ นอกจากนี้ โอกาสในการเป็นมะเร็งรังไข่จะยิ่งลดลงมากขึ้น หากผู้หญิงเลือกที่จะให้นมบุตร สมมุติฐานอีกประการหนึ่งคือ เมื่อผู้หญิงตกไข่ การซ่อมแซมคอร์ปัสลูเทียม (corpus luteum) หรือถุงน้ำที่ไข่ถูกขับออกมา สามารถทำให้เกิดการกลายพันธ์ุ (genetic mutations) ที่ทำให้เกิดมะเร็งรังไข่ได้

ความเสี่ยงอื่นๆ

มะเร็งรังไข่สัมพันธ์กับปัจจัยหลายประการ ประการแรกคือ ผู้หญิงเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนหลังจากอายุ 50 ปี (แล้วมีฮอร์โมนเอสโตรเจนนานขึ้น) และผู้มีอายุมากกว่า 63 ปี มีโอกาสมากขึ้นในการเป็นมะเร็งรังไข่ นอกจากนี้ ผู้หญิงที่เป็นโรคอ้วน (ค่าดัชนีมวลร่างกายมากกว่า 30) มีความเสี่ยงมากขึ้น เนื่องจากเนื้อเยื่อไขมันสามารถเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่หมุนเวียนมากขึ้นในร่างกาย ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งยังลดลง หลังจากการรับประทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลา 3 ถึง 6 เดือน (ชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเท่านั้น)

สุดท้ายแต่ไม่ท้ายที่สุด ปัจจัยทางพันธุกรรมยังมีบทบาทในการเกิดมะเร็งรังไข่ (ความเป็นไปได้เกิดจากทั้งฝ่ายแม่ และฝ่ายพ่อ) ประวัติครอบครัวที่เคยเป็นมะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ สามารถสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ในการเป็นมะเร็งรังไข่ เนื่องจากการรับพันธุกรรมของยีนที่มีการกลายพันธ์ุบางชนิด เป็นสาเหตุร่วมกันของมะเร็งประเภทนี้ทั้งหมด

หากคุณมีข้อกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งรังไข่ โปรดปรึกษาแพทย์

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook