ไขข้อสงสัย ติดมือถือตอนท้อง อันตรายถึงทารกในครรภ์หรือไม่?

ไขข้อสงสัย ติดมือถือตอนท้อง อันตรายถึงทารกในครรภ์หรือไม่?

ไขข้อสงสัย ติดมือถือตอนท้อง อันตรายถึงทารกในครรภ์หรือไม่?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สังคมก้มหน้าที่หันไปทางไหนก็ต้องเจอพฤติกรรมติดมือถือกันอยู่ทั่วไปแบบนี้ ไม่เว้นแม้กระทั่งในกลุ่มของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ซึ่งอาจถือได้ว่านี่เป็นปัจจัยที่ 5 ของการใช้ชีวิตไปแล้วก็ว่าได้ ยิ่งคนท้องที่มีเวลาอยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำงานบ้านที่หนักหนาเหมือนสมัยก่อน การจับมือถือมาเล่นฆ่าเวลาก็ชวนเพลิดเพลินใจ จนลืมเอะใจไปว่าคลื่นไฟฟ้าที่ส่งออกมาจากมือถือนั้น จะส่งผลกระทบไปถึงลูกน้อยในครรภ์ด้วยหรือไม่ และเพื่อไขข้อสงสัย เราจะพาคุณไปติดตามเรื่องนี้กันให้มากขึ้นดังนี้

คลื่นจากโทรศัพท์ ส่งผลอันตรายต่อเด็กในครรภ์หรือไม่?

หากพูดถึงเรื่องของรังสีที่แผ่ออกมาจากโทรศัพท์นั้น เป็นลักษณะของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จะกระจายตัวออกมาก็ต่อเมื่อโทรศัพท์ถูกเปิดเครื่องใช้งาน อย่างไรก็ตาม จากผลการวิจัยมากมายก็ยังไม่พบปัญหาว่า ตัวคลื่นดังกล่าวจะส่งผลกระทบแบบ "โดยตรง" ต่อทารกในครรภ์ เนื่องจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะทะลุทะลวงเข้าสู่ผิวหนังของเราได้ในระยะไม่เกิน 1-2 เซนติเมตรเท่านั้น จึงไม่ใช่ความน่ากังวลใจกับการเล่นมือถือ โอกาสที่จะกระทบกับตัวลูกน้อยในครรภ์จึงแทบจะเกิดขึ้นไม่มี แต่กระนั้นสิ่งที่น่ากังวลใจกลับเป็นภาวะติดมือถือของคุณแม่ที่มากเกินไป กลายเป็นผลกระทบ "ทางอ้อม" ที่ส่งผลเสียไปจนถึงทารกในครรภ์แบบไม่รู้ตัวได้มากกว่า

ติดมือถือตอนท้อง อันตรายทางอ้อมที่คุณแม่ควรตระหนัก

ความน่ากังวลใจในคนท้องที่มีพฤติกรรมติดมือถือ แม้ไม่ได้อยู่ใกล้จุดที่คลื่นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้ากระจายตัวออกมา แต่การเกิดขึ้นจากภาวะติดมือถือมากเกินไป ก็ย่อมสามารถส่งผลกระทบแบบทางอ้อมไปสู่ลูกน้อยในครรภ์ได้เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการนั่งเล่นมือถือในท่าเดิมๆ มากเกินไป ไม่เคลื่อนไหวหรือขยับร่างกายติดต่อกันนานเป็นชั่วโมง จนทำให้รู้สึกปวดเมื่อย เกิดภาวะเครียดขึ้นมาแบบไม่รู้ตัว จนส่งผลให้สมองหลั่งสารที่เป็นพิษเข้าไปขัดขวางพัฒนาการของทารก

บางรายที่มีภาวะติดมือถือรุนแรง ส่งผลให้ใช้เวลาในแต่ละวันไปกับการเล่นมือถือ ไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย นั่งในท่าที่ไม่เหมาะสม ทำให้ทารกถูกบีบรัดจากภายนอก ทำให้เด็กอึดอัด ไม่สบายตัวไปด้วย โดยที่ตัวคุณแม่เองก็ยังไม่รู้ตัว เพราะใจจดจ่ออยู่กับหน้าจออย่างเดียว เวลาที่ดูแลสุขภาพตัวเองก็ลดน้อยลง เสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน กินอาหารได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกน้อย เกิดภาวะขาดสารอาหาร ภาวะเหล่านี้ย่อมเป็นผลต่อพัฒนาการของพวกเขาในช่วงที่กำลังเจริญเติบโตได้อย่างแน่นอน

จะเห็นได้ว่าการเล่นมือถือ ไม่ได้มีผลวิจัยที่ชี้ชัดถึงความเสี่ยงที่มาจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่จะส่งผลกระทบต่อคุณแม่ตั้งครรภ์และเด็กทารก แต่สิ่งที่มักคาดไม่ถึงคือ ผลเสียที่ตามมาในด้านสุขภาพ และด้านจิตใจของคุณแม่มากกว่า ผลเหล่านี้หากเกิดในด้านลบ ซึ่งผลดังกล่าวย่อมกระทบไปสู่ทารกได้ ดังนั้น คุณแม่มือใหม่ที่ยังไม่ทันตระหนัก ก็ควรปรับพฤติกรรม เล่นมือถือให้เป็นเวลา แล้วหันมาดูแลสุขภาพตัวเอง เพื่อลูกน้อยในครรภ์ที่แข็งแรงสมบูรณ์กันจะดีกว่าค่ะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook