เมื่อลูกฉี่รดที่นอน สัญญาณเตือนที่ไม่ควรมองข้าม

เมื่อลูกฉี่รดที่นอน สัญญาณเตือนที่ไม่ควรมองข้าม

เมื่อลูกฉี่รดที่นอน สัญญาณเตือนที่ไม่ควรมองข้าม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ เผยเด็กปัสสาวะรดที่นอนอาจส่งสัญญาณเตือน ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองไม่ควรมองข้าม พร้อมแนะเคล็ดลับช่วยลูกไม่ให้ฉี่รดที่นอน

"นายแพทย์ภาสกร ชัยวานิชศิริ" รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า การปัสสาวะรดที่นอนเป็นภาวะที่พบบ่อยในเด็ก ซึ่งจะถือว่าเป็นความผิดปกติต่อเมื่อเกิดขึ้นในเด็กที่ควรจะควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้แล้วแต่เด็กยังควบคุมไม่ได้ คือเป็นในเด็กที่มีอายุอย่างน้อย 5 ปีขึ้นไป โดยการปัสสาวะรดที่นอนเกิดขึ้นอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เป็นเวลาติดต่อกัน 3 เดือน และไม่ได้เป็นผลมาจากการใช้ยา เช่น ยาขับปัสสาวะ หรือเกิดจากโรคทางกาย เช่น โรคเบาหวาน เป็นต้น

ทั้งนี้ยังไม่พบสาเหตุเฉพาะของการเกิดปัสสาวะรดที่นอน แม้ภาวะปัสสาวะรดที่นอนส่วนมากจะหายได้เองเมื่อเด็กโตขึ้น แต่ปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อเด็กและครอบครัว ทั้งในด้านจิตใจและความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและผู้ปกครอง นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดโรคที่มาจากอาการปัสสาวะรดได้ เช่น การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ความผิดปกติของโครงสร้างของระบบการขับถ่ายปัสสาวะ โรคของต่อมไร้ท่อ เช่น เบาหวาน เบาจืด เป็นต้น

ฉะนั้นเด็กที่มีปัญหาเหล่านี้จึงจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือ


นายแพทย์สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีกรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่าการปัสสาวะรดที่นอนเป็นภาวะที่พบบ่อยในเด็ก แต่น่าจะเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ได้แก่ พันธุกรรม ความผิดปกติในการหลั่งฮอร์โมน ADH ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมปริมาณปัสสาวะการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ

โดยเด็กจะรู้สึกปวดปัสสาวะถึงแม้มีปริมาณปัสสาวะไม่มาก การนอนหลับซึ่งเกิดขึ้นได้ในทุกระยะของวงจรการนอนหลับ ความล่าช้าของพัฒนาการในการควบคุมการปัสสาวะ ท้องผูกเกิดจากก้อนอุจจาระกดทับกระเพาะปัสสาวะทำให้ความจุของกระเพาะปัสสาวะลดลง นอกจากนี้ความเครียดอาจเป็นตัวกระตุ้นทำให้อาการปัสสาวะรดเป็นมากขึ้นหรือทำให้อาการกลับมาเป็นใหม่ในเด็กที่เคยควบคุม

การปัสสาวะได้แล้ว สำหรับเคล็ดลับช่วยลูกไม่ให้ฉี่รดที่นอน ก่อนอื่นผู้ปกครองควรมองว่าปัญหาดังกล่าว เป็นเรื่องพัฒนาการในการควบคุมการขับถ่าย โดยจะค่อยๆ ดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น จึงไม่ควรลงโทษ หรือตำหนิ แต่ควรแสดงความเข้าใจ และเป็นกำลังใจ รวมถึงการปรับพฤติกรรมโดยใช้แรงจูงใจทางบวก คือ มีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กจะได้รับเมื่อไม่ปัสสาวะรดที่นอน

รวมทั้งสิ่งที่เด็กจะต้องปฏิบัติถ้าปัสสาวะรดที่นอน โดยให้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก หรือจะเลือกใช้เครื่องปลุกเตือนปัสสาวะรด เป็นวิธีที่ได้ผลที่สุดในปัจจุบัน แต่ในประเทศไทยเครื่องมือดังกล่าวยังใช้ไม่แพร่หลาย อีกทั้งมีราคาค่อนข้างสูง วิธีที่ทำง่ายๆคือการฝึกกระเพาะปัสสาวะ โดยให้เด็กดื่มน้ำมากๆในช่วงกลางวันและเมื่อรู้สึกปวดปัสสาวะให้เด็กฝึกกลั้นไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ ร่วมกับปรับอาหารและเครื่องดื่ม โดยปรับให้เด็กดื่มน้ำมากขึ้นในช่วงเช้าถึงบ่ายและลดการดื่มน้ำในช่วงเย็นโดยเฉพาะช่วง 2 ชม.ก่อนเข้านอนควรมีการจำกัดปริมาณน้ำ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook