คู่มือคุณแม่สำหรับดูแล อาการไอของเด็ก ประเภทต่างๆ

คู่มือคุณแม่สำหรับดูแล อาการไอของเด็ก ประเภทต่างๆ

คู่มือคุณแม่สำหรับดูแล อาการไอของเด็ก ประเภทต่างๆ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อาการไอของเด็ก เกิดขึ้นได้เมื่อเด็กไม่สบาย หรือร่างกายอยู่ระหว่างการฟื้นตัวจากอาการไม่สบาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาการไออาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ หรือโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจอื่นๆ เช่น โรคหอบหืด เมื่อมีมูกหรือเสมหะติดอยู่บริเวณผนังหลอดลม เด็กอาจมีอาการหายใจไม่สะดวก การไอจึงถือเป็นอาการที่ช่วยทำให้หลอดลมโล่ง โดยให้อากาศผ่านเข้าไปสู่หลอดลมและเข้าไปในปอดได้

ประเภทของอาการไอในเด็ก

ไอแห้ง

สาเหตุของการไอแบบนี้ คือ โรคหอบหืด และการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น อาการหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ หรือ การอักเสบของทางเดินหายใจส่วนล่าง ตลอดจนหลอดลมอักเสบหรือปอดบวม

ไอแบบครูป (Croup Cough)

โรคครูปหรือหลอดลมและกล่องเสียงอักเสบ เด็กที่มีอาการไอแบบนี้มักเกิดอาการหลอดลมใหญ่ส่วนบนบวม อาการนี้ทำให้เกิดการไอที่มีเสียงก้อง คล้ายเสียงร้องของสิงโตทะเล หรือเสียงแหลมที่เรียกว่า เสียงฮี้ด (stridor) ในขณะหายใจเข้า

ไอมีเสมหะ

การติดเชื้อและโรคหอบหืดส่งผลให้เกิดอาการไอแบบมีเสมหะที่มีมูกปนในระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง

ไอกรน (pertussis)

เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียในจมูกและลำคอ อาการไอกรนจะมีอาการเหมือนอาการหวัดทั่วไป แต่จะรุนแรงขึ้นหลังจากนั้น 7-10 วัน ผู้ป่วยจะเกิดอาการไอรุนแรงติดกันอย่างเร็ว 5 ถึง 15 ครั้ง จากนั้น อาจหายใจลึกและเกิดเสียงกรน (whooping) ขณะหายใจ

อาการแทรกซ้อนของอาการไอ

หากลูกของคุณเริ่มมีอาการไอ หายใจไม่สะดวก หรือจับที่บริเวณลำคอ ให้สงสัยว่าอาจมีบางสิ่งติดอยู่ในลำคอหรือหลอดลม การปฐมพยาบาลอาการสำลัก (Heimlich maneuver) สามารถช่วยเด็กที่มีอายุมากกว่า 1 ปีได้ แต่หากเด็กมีอายุน้อยกว่า 1 เดือน ควรเรียกรถฉุกเฉิน เมื่อเด็กเกิดอาการเกี่ยวกับการหายใจอย่างชัดเจน หมดสติ หรือมีอาการชัก หากไม่เกิดอาการชัก คุณอาจต้องสังเกตอาการอื่นๆ ได้แก่ อาเจียน เจ็บหน้าอก หอบหืด อาการภูมิแพ้ การติดเชื้อไซนัส มีไข้สูงกว่า 100 องศาฟาเรนไฮต์นานเกิน 72 ชั่วโมง หรือไอติดต่อกันนานกว่าสามสัปดาห์

การรักษาอาการไอ

การบรรเทาอาการไอในเด็ก คุณสามารถ

  • ให้เด็กรับประทานเครื่องดื่มหรือซุปร้อน วิธีการนี้จะช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองหรือเจ็บที่บริเวณทรวงอกและป้องกันมูกไม่ให้ข้นขึ้น
  • ให้เด็กสูดหายใจรับอากาศที่ชื้น ด้วยเครื่องทำความชื้นแบบเย็น หรือการอาบน้ำอุ่น หรือการวางผ้าเปียกไว้ในห้องนอนของเด็ก
  • ให้เด็กสูดหายใจรับอากาศเย็น หากมีอาการไอแห้งหรือไอแบบครูป ไม่ควรให้เด็กออกกำลังกาย เนื่องจากอาการไออาจรุนแรงขึ้น
  • ใช้ยาที่หาซื้อตามร้านขายยาทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาขับเสบหะและแก้ไอ
  • ให้วัคซีนป้องกันคอตีบสำหรับเด็ก เพื่อช่วยป้องกันการไอจากโรคคอตีบได้

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook