ขาดอากาศหายใจ สาเหตุการเสียชีวิตของเด็กที่พ่อแม่ควรใส่ใจป้องกัน

ขาดอากาศหายใจ สาเหตุการเสียชีวิตของเด็กที่พ่อแม่ควรใส่ใจป้องกัน

ขาดอากาศหายใจ สาเหตุการเสียชีวิตของเด็กที่พ่อแม่ควรใส่ใจป้องกัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การขาดอากาศหายใจ เป็นภาวะที่เป็นอันตรายต่อชีวิตประเภทหนึ่ง ที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีการขาดออกซิเจนอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นสาเหตุที่มีสัดส่วนมากที่สุดของการเสียชีวิตในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ทั่วโลก ดังนั้น เราควรป้องกันลูกของเราจากการ ขาดอากาศหายใจ ได้อย่างไร และเราควรทำอะไร เมื่อพบคนที่อยู่ในภาวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิตดังกล่าวนี้

ใครมีความเสี่ยงมากที่สุด

การขาดอากาศหายใจจัดเป็นสาเหตุหลักสาเหตุหนึ่ง ในการเสียชีวิตของทารก และเด็กวัยหัดเดินทั่วโลก จากข้อมูลของนักวิจัย การเสียชีวิตจากการขาดอากาศโดยส่วนใหญ่ เกิดขึ้นในช่วงปีแรกของเด็กทารก และสูงสุดในช่วง 9 ถึง 11 เดือน อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงที่สำคัญยังคงอยู่จนกระทั่งอายุ 6 ปี (จนกว่าพัฒนาการของหลอดลม และกลไกการหายใจมีความสมบูรณ์)

สาเหตุที่ทำให้ขาดอากาศหายใจ

รูปแบบที่พบได้มากของการขาดอากาศหายใจ ได้แก่ การสำลัก การถูกบีบรัด และการถูกวัสดุต่างๆ ปิดคลุมจนหายจไม่ออก ต่อไปนี้เป็นรายการของสาเหตุของการขาดอากาศที่พบได้มากที่สุด ที่คุณควรป้องกันลูกของคุณให้ดีอยู่เสมอ

เครื่องนอน

หมอนและผ้าห่มอาจสร้างสภาพแวดล้อม สำหรับการนอนหลับที่สบายมากขึ้นสำหรับคุณและคู่รักของคุณ แต่เป็นฆาตกรเงียบสำหรับลูกน้อยของคุณ เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องระลึกถึงความจริงที่ว่า ทารกที่อายุต่ำกว่า 2 ปียังไม่สามารถเปลี่ยนอิริยาบถ และยกศีรษะได้อย่างเต็มที่ เมื่อทางเดินหายใจถูกอุดกั้น ดังนั้น วัตถุใดๆ ที่สามารถบดบังใบหน้าของทารกได้ต้องถูกนำออกไปให้ห่าง


สถานที่ปิด (ที่เก็บของท้ายรถ กล่อง ตู้เสื้อผ้า)

ใครบ้างที่ไม่ชอบเล่นซ่อนหา โดยเฉพาะเมื่อรู้ว่ามีสถานที่ที่ดีที่สุดที่จะเข้าไปซ่อน อย่างเช่น ในตู้เย็นขนาดเล็กที่ไม่ได้ใช้แล้ว กล่อง หรือกะบะท้ายรถ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่จะสอนลูกของคุณ ไม่ให้ปีนป่ายเข้าไปยังสถานที่ดังกล่าว เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะไม่สามารถออกมาได้ และจะไม่มีออกซิเจนที่เพียงพอในการหายใจ ในทันทีที่เด็กปิดประตู

ของเล่น

ของเล่นอาจฟังดูเหมือนเป็นวิธีที่ดี ที่จะทำให้ลูกของคุณไม่ซุกซน วิ่งและร้องตะโกนรอบบ้าน อย่างไรก็ดี ของเล่นขนาดเล็ก ที่เป็นตุ๊กตา หรือที่แยกชิ้นส่วนได้ สามารถทำให้เกิดการหายใจไม่ออกได้ ของเล่นที่มีสายยาวหรือมีปุ่มกด ยังสามารถบีบรัดหรือทำให้เด็กสำลักได้

อาหาร

อาหารชิ้นเล็ก มีทรงกลม และแข็ง เช่น องุ่น ถั่วต่างๆ เมล็ดพืชต่างๆ และลูกอมแข็ง ทำให้มีความเสี่ยงสูงในการติดหลอดอาหารได้

เสื้อผ้า

เสื้อผ้าที่มีสาย แถบ หรือเส้น สามารถบีบรัดทารกได้

วัตถุขนาดเล็ก

มีรายงานที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เกี่ยวกับการเสียชีวิตที่เกิดขึ้นเนื่องจากการสำลักลูกโป่งยาง กระดุม ฝาขวด ตัวต่อ แบตเตอรี่ และวัตถุที่รับประทานไม่ได้อื่นๆ

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook