5 อาการผื่นบนใบหน้าลูก สัญญาณความผิดปกติที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม

5 อาการผื่นบนใบหน้าลูก สัญญาณความผิดปกติที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม

5 อาการผื่นบนใบหน้าลูก สัญญาณความผิดปกติที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ถึงแม้ว่าตุ่มเล็กๆ หรือผื่นแดงบางๆ ที่ขึ้นบนใบหน้าของทารกแรกเกิดนั้น จะเป็นเรื่องทั่วไปที่สามารถพบได้ และไม่ใช่เรื่องร้ายแรงอะไร แต่ก็อาจจะมีผื่นหรือตุ่มบางชนิด ที่อาจเป็นสัญญาณของโรคบางอย่าง ดังนั้น เรามาทำความรู้จักกับอาการเหล่านี้ให้มากขึ้น พร้อมรู้จักวิธีรักษา เพื่อที่คุณแม่จะได้ไม่ต้องกังวลใจในการเลี้ยงลูก หากพบปัญหาเหล่านี้จะได้รับมือได้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง

1. ผดผื่นร้อน

หากพบผื่นแดง ตุ่มใสเล็กๆ รวมถึงตุ่มแดงมีหนองในช่วงหน้าร้อน บริเวณข้อพับต่างๆ เช่น ที่แขน ขา รวมถึงใบหน้า ให้สันนิษฐานไว้เลยว่าเกิดจากการเป็นผดผื่นร้อนที่เกิดจากการอับชื้น ซึ่งอาจเกิดจากการที่ลูกเจอสภาพอากาศร้อน เสื้อผ้าที่ใส่อาจไม่โปร่งหรือไม่สามารถระบายอากาศได้ดีพอ อาการนี้สามารถหายได้เองหากคุณแม่หมั่นให้ลูกอาบน้ำ และย้ายไปเลี้ยงลูกในห้องที่มีอากาศถ่ายเทอยู่เสมอ

2. ผื่นแดงทั่วไป

ผื่นชนิดนี้จะมีลักษณะคล้ายยุงกัด เพราะจะเป็นตุ่มนูนๆ สีแดงขึ้นมา อาจพบได้ที่ขา แขน นอกเหนือจากใบหน้า เป็นผื่นฮิตที่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิด ผื่นชนิดนี้ไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด เพราะเกิดจากการปรับตัวในระบบภูมิคุ้มกันของทารก หากคุณแม่มีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตลอด ผื่นนี้จะหายไปเองใน 2-4 สัปดาห์

3. ผื่นทารก

ผื่นชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นตุ่มใสๆ อย่างเดียว โดยพบได้ทั้งที่ใบหน้า และตามต้นแขน ต้นขา ส่วนมากมักมีสาเหตุมาจากการที่รูขุมขนเกิดการอุดตัน ดังนั้น ต้องหมั่นคอยดูแล อย่าพยายามให้ลูกเอามือไปถูหรือแกะเกา เพราะหากตุ่มแตกจะทำให้เกิดการแพร่กระจาย รวมถึงทิ้งรอยที่ไม่ค่อยน่าดูเอาไว้ อย่างไรก็ตาม ผื่นนี้สามารถหายได้เอง และรอยแผลก็จะจางลงไปเองได้ตามธรรมชาติด้วย

4. สิวทารก

สิวชนิดนี้จะพบได้มากในเจ้าตัวน้อยที่เป็นผู้ชาย และมักจะเกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ 3 สาเหตุเกิดจากการที่ต่อมไขมันถูกฮอร์โมนกระตุ้น จนทำให้เกิดตุ่มแดงมีหัวหนอง คล้ายสิวหัวช้างหรือสิวอักเสบในผู้ใหญ่ ถึงจะเห็นแบบนี้แต่ก็ไม่เป็นอันตราย ไม่จำเป็นต้องไปบีบหรือเค้นหนองออกมา

5. ผื่นมิเลีย

ผื่นนี้จะเป็นตุ่มที่มีลักษณะขาวขุ่น พบได้ที่ใบหน้า โดยเฉพาะบริเวณทีโซน สาเหตุเกิดจากการที่มีโปรตีนอยู่บนชั้นผิวหนังมากกว่าปกติ สะกิดให้หลุดได้ แต่หากไม่จำเป็นก็อย่าทำ เพราะจะหายได้เองเมื่อเด็กอายุ 1 เดือน แต่ในบางรายอาจอยู่ได้ถึง 3 เดือน

คุณแม่ลองสังเกตตอนเลี้ยงลูกดูว่า ตุ่มหรือผื่นที่เห็นมีลักษณะอย่างไร และลองดูอาการอื่นๆ ของลูกด้วย หากพบว่าเด็กร้องไห้งอแง หรือมีไข้ร่วมด้วย ก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเช็คว่ามีโรคอื่นแทรกซ้อนหรือไม่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook