ไข้หวัดใหญ่ ไม่ใหญ่อย่างที่คิด

ไข้หวัดใหญ่ ไม่ใหญ่อย่างที่คิด

ไข้หวัดใหญ่ ไม่ใหญ่อย่างที่คิด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"เสริมภูมิคุ้มกันต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ ด้วยการเพิ่มวิตามินซี สังกะสี เวย์โปรตีน หรือ โป๊ยกั้ก (ที่อยู่ในพะโล้)"

"ฉันป่วย ฉันไม่สบาย และฉันเป็นไข้หวัดใหญ่มาก!" ข้อความอัพสเตตัสบนเฟสบุ๊คของเพื่อนสาวคนเก่ง ที่เรียกว่าเป็น Working Women เต็มขั้น ผู้ที่ทำงานตัวเป็นเกลียว หัวเป็นน็อต ไม่ว่าจะกินข้าวก็จะต้องคุยงาน ก่อนนอนก็ต้องเคลียร์เอกสาร แม้แต่ขับรถเธอยังต้องประสานงาน และเมื่อทำงานตลอดเวลาขนาดนี้ ร่างกายของเธอเลยประท้วงขึ้นมา โดยการอ่อนแอซะเลย เพื่อให้เธอได้หยุดพักสมองและร่างกายบ้าง (แอบสมน้ำหน้าในใจเล็กน้อยถึงปานกลาง)

 

 

ไซเรนทางร่างกายดัง สัญญาณบอกอาการไข้หวัดใหญ่

สิ่งที่ทำให้รู้ว่าเพื่อนสาวเป็นไข้หวัดใหญ่ มักจะมีอาการบอกถึงเลเวลไข้หวัด โดยสังเกตได้จาก มีไข้สูงนานผิดปกติ เช่น นานเป็นสัปดาห์ ปวดเมื่อยตามตัวมาก ไอ เจ็บคอ มีเสมหะมากกว่าขั้นปกติ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด และเมื่อรักษาแล้วมีแต่ทรุดลง ให้คิดไว้เลยว่า อาจจะเป็นไข้หวัดใหญ่ ซึ่งจะคล้ายๆ กับไข้หวัดธรรมดา แต่อาการจะหนักกว่าเดิมนั่นเอง แต่เราสามารถเปรียบเทียบอาการของไข้หวัด จากไข้ 3 ประเภทได้ดังนี้

 

 

ไข้หวัดทั่วไป

- มีไข้ ปวดตัวธรรมดา
- ระยะเวลาป่วยไม่นาน
- เกิดจากอ่อนแอได้รับเชื้อทางเดินหายใจ
- รักษาตามอาการ

ไข้หวัดใหญ่

- มีไข้ ปวดเมื่อยเนื้อตัวมาก
- ป่วยนานเป็นสัปดาห์และเป็นรุนแรง
- อ่อนแอ ภูมิคุ้มกันไม่ดีและมีเชื้อที่เข้ามาทักทาย
- ตามอาการและใช้ยาต้านไวรัส

ไข้เลือดออก

- มีไข้ ปวดเมื่อยเนื้อตัวได้มากเหมือนกัน
- ไข้สูงลอย ไม่ค่อยมีน้ำมูกหรืออาการไข้หวัดแต่จะซึมลงภายใน 3 - 7 วัน
- ได้เชื้อจากยุงลาย กระจายเชื้อเข้าสู่เลือดคน
- รักษาตามอาการและคอยดูแลเรื่องเลือดออกกับอาการช็อก

 

 


เครียด นอนดึก และกินตอนกลางคืน = คนอ่อนแอ

3 สิ่งนี้ ทำให้เจ้าไวรัสไข้หวัดใหญ่ มาจู่โจมได้ง่ายๆ ทั้งร่างกายยังประท้วง และแอบงอน ไม่ยอมแข็งแรงขึ้นมาดื้อๆ ปัญหาจึงเกิด แต่หากไม่อยากป่วย ก็ต้องรู้จักการจัดสรรเวลาให้กับร่างกายและสมองของตัวเองได้พักผ่อนบ้าง ออกกำลังกายบ้าง กินอาหารให้เหมาะสม กินข้าวให้เป็นเวลา และรู้จักการปล่อยวางให้เป็น

ไข้หวัดใหญ่ ไม่มียารักษาที่หายได้ร้อยเปอร์เซ็นต์

ไม่ต้องกังวลไป หากเรารู้ตัวแล้วว่าเราเป็นไข้หวัดใหญ่ เพราะยาที่จะรักษาอาการป่วยของเรา ที่เกิดจากพฤติกรรมผิดๆ ของตัวเองได้นั้น ก็คือ ตัวเอง ไม่ใช่การไปฉีดวัคซีนเข็มละหลายร้อย หรือ กินยาต้านไวรัสทีละเหยียบหมื่น บางทีการที่เราไปโรงพยาบาล อาจหมายถึงการไปรับเชื้อเพิ่มในขณะที่ร่างกายเราอ่อนแออยู่ก็ได้ แม้ถึงมือหมอ คุณหมอก็จะให้เพียงการรักษาประคับประคอง "ตามอาการ (Symptomatic treatment)" ไว้เท่านั้น เช่นปวดหัวก็ให้ยาแก้ปวด เบื่ออาหารก็ให้น้ำเกลือ เป็นต้น


การรักษาไข้หวัดใหญ่ด้วยตัวเราเอง

ตามหลักอายุรวัฒน์แล้วยาดีจะออกมาต่อเมื่อเราช่วยเขา ดังต่อไปนี้

1. นอนเร็ว เข้านอนให้หลับสนิท จะได้มีเคมีต้านโรคออกมา

2. เลี่ยงอาหารหวาน และของทอด ของมัน เพราะยิ่งไปเพิ่มการอักเสบ

3. กินอาหารที่มีวิตามิน กินร้อน ช้อนกลาง และให้ล้างมือบ่อยๆ

4. ใส่ถุงเท้าเวลานอน จะช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้ร่างกายได้อย่างน่าอัศจรรย์

5. รักษาตามอาการ แต่ อย่ายอมตามอาการ คือ เบื่ออาหารก็ต้องฝืนกิน หรือมีปวดตัวมากอาจทานยาพาราฯ หรือมีน้ำมูกก็ทานยาช่วยลดน้ำมูกสักหน่อย

สิ่งที่สำคัญ คือ การป้องกันตัวเองไม่ให้เราป่วย ไม่ใช่มานั่งซ่อมแซมเมื่อเราเป็นแล้ว ซึ่งเราสามารถดูแลตัวเองได้ง่ายๆ ด้วยการสร้างภูมิกายให้แกร่ง โดยการ นอนให้ไว กินให้เป็น อย่าเครียดเรื้อรัง เพราะตัวนี้เป็นยาสั่งให้ป่วยอย่างดีเชียว  และเมื่อเพื่อนสาวคนเก่งหายตระหนก (แต่ก็ไปนอนให้น้ำเกลืออยู่โรงพยาบาลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว) กลับมาดูแลตัวเองอีกครั้ง เธอได้อัพสเตตัสรอบใหม่ว่า "ฉันสุขภาพร่างกายดี สุขภาพจิตก็ย่อมดี = ฉันโชคดีที่สุดในสามโลก!"


ล้อมกรอบ 1

"สมุนไพรไล่หวัด" ส่วนใหญ่แล้ว จะมีกลิ่นฉุน หรือมีน้ำมันหอมระเหย หรือเรียกง่ายๆ ว่า เครื่องต้มยำของเรานั่นเอง (แต่ไม่ต้องใส่พริกสดนะ) ประกอบไปด้วย หัวหอม ตะไคร้ ขิง ข่า ไพล หากเบื่ออาหารไม่อยากซดน้ำ ก็เอามามัดรวมกันแล้วต้ม ให้สูดไอระเหยของมันก็พอช่วยได้ แต่ต้องยกเว้นในคนป่วยที่สงสัยว่าเป็นปอดบวมด้วย คือ มีไข้ ไอ และหอบอย่างรุนแรง แบบนี้ รีบหาหมอจะดีกว่ามาแก้กันเองค่ะ

ข้อมูลจาก
นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผอ.ศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook