โรคกรดไหลย้อน ภัยใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม
Gastro-Esophageal Reflux Disease โรคกรดไหลย้อน ภัยใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม
ลักษณะ นิสัยการใช้ชีวิตประจำวันของแต่ละคนนั้นสามารถส่งผลกับสุขภาพร่างกายได้ เหมือนกัน ด้วยชีวิตที่รีบเร่งของคนในปัจจุบัน ประกอบกับพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่ถูกต้อง และความเครียดจากเรื่องต่างๆ นำมาซึ่งปัญหาสุขภาพได้ อย่างเช่น ‘โรคกรดไหลย้อน' ที่เป็นภัยเงียบคุกคามคุณโดยรู้ตัว ซึ่งโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย แม้กระทั่งเด็กหรือสตรีมีครรภ์
astro-Esophageal Reflux Disease; GERD หรือ "โรคกรดไหลย้อน" กรดไหลย้อน คือภาวะที่มีกรด และน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจรวมไปถึงเอนไซม์เปบซินและน้ำดี ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร ซึ่งหลอดอาหารเป็นอวัยวะที่ไม่ทนต่อกรด จึงทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร โดยปกติแล้วหลอดอาหารจะมีการบีบตัวไล่อาหารลงสู่ด้านล่าง และหูรูดจะทำหน้าที่ป้องกันการไหลย้อนของน้ำย่อย กรด หรืออาหาร ไม่ให้ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร แต่ในบางคนนั้นหูรูดส่วนนี้ทำงานได้น้อยลง จึงทำให้มีกรดหรือน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาทำให้ผนังหลอดอาหารอักเสบ และการไหลย้อนของกรด ถ้ามีมาก อาจไหลออกนอกหลอดอาหาร อาจทำให้มีผลต่อกล่องเสียง ลำคอ หรือปอดได้ ถึงแม้โรคกรดไหลย้อนจะไม่ใช่โรคก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตดังกล่าวข้าง ต้น แต่หากละเลยไม่ทำการรักษา อาจทำให้เรื้อรัง มีความเสี่ยงให้กลายเป็น มะเร็งหลอดอาหารได้
อาการและสัญญาณที่เตือนว่า "โรคกรดไหลย้อน" มาเยือน ก็คือ ปวดแสบร้อนบริเวณกลางอก และหรือบริเวณลิ้นปี่ (heart burn), รู้สึกมีก้อนอยู่ในคอ, กลืนลำบากหรือกลืนแล้วเจ็บ, เจ็บคอหรือแสบลิ้นเรื้อรังโดยเฉพาะในตอนเช้า หรือไอแห้ง, รู้สึกเหมือนมีรสขมของน้ำดีหรือมีรสเปรี้ยวของกรดในคอหรือปาก, มีเสมหะอยู่ในคอหรือระคายคอตลอดเวลา เรอบ่อย คลื่นไส้ และรู้สึกจุกแน่นอยู่ในหน้าอก คล้ายอาหารไม่ย่อย ซึ่งอาการเหล่านี้อาจจะรุนแรงขึ้นหรือเกิดได้บ่อยขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความเครียดและการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน ดังนั้นเราจึงควรสังเกตตัวเองว่ามีอาการเหล่านี้บ่อยๆ หรือไม่ ถ้ามีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยควรรีบไปปรึกษาแพทย์จะดีกว่า
ส่วนปัจจัย ที่ทำให้เกิดหรือกระตุ้นโรคนี้ก็มีด้วยกันหลายอย่าง เช่น พฤติกรรมการกิน หรือกินอาหารที่ไม่ถูกต้อง อย่าง กินอาหารมื้อหนักตอนกลางคืนแล้วนอน กินอาหารไม่ตรงเวลา, การสวมเสื้อผ้าที่รวดรูปจนเกินไป, สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์, ท่านอนที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งควรนอนศีรษะเสมอหรือต่ำกว่าลำตัว, ยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs หรือโรค Hiatus hernia (เป็นโรคที่เกิดจากกระเพาะอาหารส่วนต้นเข้าไปในกระบังลม) , การมีน้ำหนักมากจนเกินไปด้วย และรวมความเครียดด้วย ฯลฯ
แม้ว่าโรค นี้จะไม่ใช่โรคที่มีอันตรายถึงชีวิตแต่ก็สามารถทำให้คุณภาพชีวิตที่ดีของเรา ลดลงได้ จากการศึกษาในประเทศอเมริกา พบว่า 60% ของผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนมีอาการปานกลางถึงรุนแรง ซึ่งในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีคุณภาพชีวิตที่แย่ลง โดย 75% นอนหลับยาก 51% รบกวนการทำงาน และอีก 40% ออกกำลังกายไม่ได้ หากคุณละเลยไม่ดูแลรักษา ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิด "มะเร็งหลอดอาหาร" ได้ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ควบคุมจัดการความเครียด, พฤติกรรมการรับประทานอาหาร จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรจะทำเป็นสิ่งแรก เมื่อรู้สึกว่ากรดไหลย้อน ให้ดื่มน้ำ กลืนน้ำลาย หรือเคี้ยวหมากฝรั่ง เพื่อช่วยสลายกรด หรือหากจำเป็นต้องรับประทานยาควรเลือกทานยาที่สามารถป้องกันการไหลย้อน ของกรด น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ถ้าหากมีอาการมากหรือบ่อยๆ ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติม
วิธีป้องกันโรคกรดไหลย้อน
- ควรรับประทานอาหารให้ครบทุกมื้อ และไม่รับประทานอาหารอิ่มเกินไปในแต่ละมื้อ เพื่อให้มีอาหารในกระเพาะอย่างสม่ำเสมอ ร่างกายจะได้ไม่ต้องทำงานหนักในการย่อยอาหาร สามารถย่อยอาหารได้หมดก่อนที่เราจะเข้านอน อย่ากินอย่างเร่งรีบ เคี้ยวอาหารให้ละเอียด อย่าดื่มน้ำมากในขณะรับประทานอาหาร ที่สำคัญห้ามกินแล้วนอนทันที เพราะกรดที่ออกมาย่อยอาหารยังไม่หมด ทำให้กรดไหลย้อนขึ้นไปได้
-ไม่ควรรับประทานอาหารที่ทำให้กล้าม เนื้อหูรูดไม่กระชับ เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ช็อกโกแลต เปปเปอร์มินต์ เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน ของทอดและอาหารที่มีไขมันสูงทั้งหลาย เป็นต้น
-ไม่ ควรรับประทานอาหารที่เพิ่มกรดในกระเพาะอาหาร เช่น ชา กาแฟ กระเทียม หัวหอม พริกและอาหารเผ็ดร้อน หน่อไม้ฝรั่ง ไข่ พาสต้า ก๋วยเตี๋ยว แป้งข้าวโพด ลูกพรุน ส้ม น้ำมะเขือเทศ น้ำอัดลม น้ำตาล และอาหารที่ผ่านการแปรรูป เป็นต้น
-จัดท่านอนให้ถูกต้อง โดยเวลานอนให้ใช้หมอนหนุนหัวให้สูงกว่าลำตัว และการนอนตะแคงขวา เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการกดทับท้องจนกรดไหลย้อน
-ไม่ควรใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นจนเกินไป เพื่อไม่ให้ความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น
- ควรออกกำลังกายเป็นประจำและควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอดี ไม่ให้มากจนเกินไป
- พักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้สบาย ไม่เครียดจนเกินไป เพราะความเครียดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำเกิดกรดมาก
ขอบคุณข้อมูลจาก
- น.พ. วิชัย วิริยะอุตสาหกุล อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลเทพธารินทร์