โรคหัวใจ ป้องกันได้แค่ รู้เท่าทัน

โรคหัวใจ ป้องกันได้แค่ รู้เท่าทัน

โรคหัวใจ ป้องกันได้แค่ รู้เท่าทัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"การผัดวันประกันพรุ่ง" ไม่เคยส่งผลดีให้กับใคร โดยเฉพาะการดูแลและรักษาสุขภาพ เพราะหากรู้ตัวช้า สุขภาพจะยิ่งแย่ และอาการป่วยจะรุนแรงมากขึ้น เราจึงมักหาข้ออ้างมาสนับสนุนการผัดวันประกันพรุ่ง แต่ในความเป็นจริงแล้วข้ออ้างเหล่านั้นไม่สามารถนำมาต่อรอง กับสุขภาพ โดยเฉพาะ "การทำงานของหัวใจ" ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่สุดในร่างกาย เพราะต้องทำงานตลอด 365 วันโดยไม่มีการหยุดพัก เพื่อทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตให้หมุนเวียนทั่วร่างกายอย่างต่อเนื่อง

"หัวใจ" นับว่าเป็นอวัยวะที่ทำงานหนักมากที่สุด แต่กลับได้รับการดูแลและใส่ใจน้อยที่สุด โดยยืนยันได้จากอัตราผู้เสียชีวิตจาก "โรคหัวใจ" ที่พุ่งสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก เฉลี่ยปีละกว่า 17.5 ล้านคน ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นโรคที่มีค่าเฉลี่ยของกลุ่มเสี่ยงที่มีระดับอายุน้อยลงเรื่อยๆ โดยสามารถพบได้จากรายงานการเสียชีวิตของคนอเมริกันกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้เสียชีวิตที่ยังอยู่ในช่วงวัยรุ่น ก็เริ่มมีอาการของโรคหัวใจตั้งแต่อายุ 15 ปี เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการ ซึ่งกว่าผู้ป่วยจะได้รับการรักษาก็อาจสายเกินไป จึงทำให้โรคหัวใจถูกขนานนามว่าเป็น "เพชฌฆาตเงียบ" อย่างไม่มีข้อสงสัย

โดย ดร. ลุยส์ อิกนาร์โร กรรมการที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์และโภชนากร เฮอร์บาไลฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล ลิมิเต็ด เผยว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คือ ‘การใช้ชีวิตอยู่บนความเสี่ยง และละเลยการดูแลสุขภาพเท่าที่ควร' โดยเฉพาะการพักผ่อนไม่เพียงพอ การไม่ค่อยสนใจออกกำลังกาย เผชิญกับความเครียดไม่เลือกเวลาและสถานที่ และที่สำคัญคือ การเลือกรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา เช่น โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งทางการแพทย์พบว่า หากเราดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจมาเคาะประตูร้องเรียกอย่างเคร่งครัด ก็จะช่วยยืดชีวิตของคนเราได้มากกว่าการรักษาโรคถึง 4 เท่า โดยมีวิธีการง่ายๆ ดังนี้

ไขมันสูง...เสี่ยงสารพัดโรค แต่ถ้าเป็นไขมันดี... ยิ่งสูงยิ่งดี
ด้วยการดำเนินชีวิตของคนในปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพชีวิตที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด การันตีได้จากอาหารที่รับประทานแต่ละมื้อ ล้วนแต่เน้นที่ความรวดเร็วและกินง่ายไว้ก่อน เราจึงเห็นร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดเปิดใหม่อยู่แทบทุกมุมถนน ซึ่งผลพลอยได้จากการบริโภคอาหาร (ขยะ) จานด่วนเหล่านี้ คือ ร่างกายต้องเผชิญกับภาวะคอเลสเตอรอลสูง อันเนื่องมาจากไขมันไม่อิ่มตัว

จริงอยู่ที่ "ไขมัน" เป็นสิ่งจำเป็นต่อกระบวนการเผาผลาญภายในร่างกาย แต่ปัญหาที่พบ คือ เรามีไขมันตัวร้ายในร่างกายมากเกินไป จึงทำให้หลอดเลือดอุดตันและกลายเป็นปัญหาต่อระบบไหลเวียนเลือดตามมา วิธีป้องกันที่ถูกต้อง คือ เราต้องเลือกบริโภคไขมันดี ซึ่งประกอบด้วย ‘กรดไขมันโอเมก้า 3' ที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งพบมากในปลาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีโอเมก้า 3 เป็นส่วนผสมหลัก ทำหน้าที่กักเก็บไขมันอิ่มตัวเพื่อนำไปกำจัดทิ้งที่ตับ ทำให้ระบบหลอดเลือดไม่เกิดการอุดตันจากคอเลสเตอรอล โดยเราสามารถบริโภคเนื้อปลาได้ในทุกมื้ออาหารและทุกวัน ยิ่งมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ในร่างกายมากเท่าไร ยิ่งแสดงให้เห็นว่า เราอยู่ห่างไกลจากโรคหัวใจมากเท่านั้น

นอน...นอน...และนอน...รางวัลที่ดีที่สุด...ที่ร่างกายคุณต้องการ
โดยปกติแล้ว คนเราจะใช้เวลาในการนอนถึง 1 ใน 3 ส่วนของอายุขัย เพราะการนอนถือเป็นการพักผ่อนกล้ามเนื้อที่ใช้งานมาตลอดวันและเป็นช่วงเวลาที่กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลายมากที่สุด อีกทั้งยังเป็นช่วงที่อวัยวะต่างๆ เริ่มปฏิบัติการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ซึ่งจำนวนชั่วโมงที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการนอน คือ ประมาณ 7 ชั่วโมงต่อวัน แต่ถ้าร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ หรืออดนอนเป็นเวลานาน ร่างกายก็จะสร้างฮอร์โมนมากระตุ้นการทำงานของหัวใจและหลอดเลือดให้เพิ่มแรงสูบฉีดโลหิตไปทั่วร่างกายมากกว่าเดิม จึงทำให้อวัยวะทั้ง 2 ส่วนซึ่งจากเดิมที่ไม่เคยหยุดพักอยู่แล้วต้องทำงานหนักมากขึ้นกว่าปกติ ส่งผลให้ร่างกายมีความเสี่ยงที่จะเป็น "โรคความดันสูง" และ "โรคหัวใจ" มากขึ้น

"ความดันโลหิต - ความเครียด" ยิ่งสูง... ก็ยิ่งหนาว...!!!
"ความดันโลหิตและความเครียด" เป็นความผิดปกติของร่างกายที่สอดคล้องกันอย่างแยกไม่ออก เพราะอาการทั้ง 2 นั้นเปรียบเสมือน "ระเบิดเวลาที่ถูกดึงสลักออก" และเตรียมนับถอยหลังไปสู่โรคหัวใจได้ตลอดเวลา เมื่อเราเผชิญกับความเครียด หัวใจจะทำงานหนักเพราะเต้นเร็ว และเกิดการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายในจังหวะที่ผิดไปจากเดิม ส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงโดยอัตโนมัติ และถ้าร่างกายอยู่ในภาวะเช่นนั้นเป็นเวลานาน จะทำให้

หัวใจโตและเกิดผลเสียต่อเส้นเลือด ทำให้สูญเสียความยืดหยุ่นและส่งผลให้หลอดเลือดแข็งตัวในที่สุด คล้ายกับเวลาที่เราใช้แขนข้างขวามากและบ่อยกว่าข้างซ้าย กล้ามเนื้อแขนข้างนั้นก็จะโตกว่า พร้อมๆ กับเกิดการเสื่อมของเอ็น ข้อ และกระดูกของแขนข้างนั้นมากกว่าอีกข้างหนึ่งตามไปด้วย ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ระเบิดเวลาทำงาน เราจึงควรหลีกเลี่ยงการตกอยู่ในภาวะความเครียด ไม่ว่าจะเป็นช่วงสั้นๆ หรือเป็นเวลานาน ควรทำจิตใจให้ผ่องใส และผ่อนคลายด้วยการทำกิจกรรมที่ตนเองชอบ เพื่อควบคุมอารมณ์และความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

ออกกำลังกาย..."อัพจังหวะ..หัวใจให้เต้นตึ๊กตั๊กสม่ำเสมอ"
"It's never too late to exercise - ไม่มีคำว่าสายเกินไปที่จะเริ่มต้นออกกำลังกาย" เพราะการออกกำลังกายเป็นกุญแจสำคัญที่ไขไปสู่การมีสุขภาพดี แต่คนส่วนใหญ่ในยุคปัจจุบันกลับมีพฤติกรรมนั่งๆ นอนๆ มากขึ้น เนื่องจากความสะดวกสบายที่เกิดจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่แท้ที่จริงแล้ว "ความสบาย" ที่เกิดขึ้นกลับกระตุ้นความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้ออกแรงอย่างเต็มที่ในการสูบฉีดโลหิต จึงเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอ เราจึงต้องหาวิธีออกกำลังที่กระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจ ด้วยการออกกำลังแบบแอโรบิกที่ทำให้ทางการได้ออกกำลังเกือบทุกส่วน เช่น การว่ายน้ำ จ็อกกิ้ง ปั่นจักรยาน โดยทำอย่างน้อยวันละ 30 นาทีอย่างสม่ำเสมอ จะเห็นว่า วิธีป้องกันเพื่อรู้เท่าทัน และกำชัยชนะต่อ "เพชฌฆาตเงียบอย่างโรคหัวใจ" นั้น เป็นวิธีที่ไม่ซับซ้อน ทำได้ง่าย และไม่ต้องรอเวลา เราสามารถทำได้ตั้งแต่วินาทีนี้ โดยเริ่มจากปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตในแต่ละวัน เน้นลดปัจจัยเสี่ยงและใส่ใจ "3 อ. - อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์" แล้วคุณจะพบว่าไม่ใช่แค่ห่างไกลจากโรคหัวใจเท่านั้น โรคอื่นๆ ก็ไม่สามารถจะทลายกำแพงสุขภาพที่แข็งแกร่งของคุณเข้ามาได้ ขอเพียงอย่าแค่มุ่งมั่น แต่ต้องลงมือทำตั้งแต่เดี๋ยวนี้ เท่านั้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook