อาการท้องผูกในเด็ก พ่อแม่จะช่วยลูกได้อย่างไร?

อาการท้องผูกในเด็ก พ่อแม่จะช่วยลูกได้อย่างไร?

อาการท้องผูกในเด็ก พ่อแม่จะช่วยลูกได้อย่างไร?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อาการท้องผูกในเด็ก เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย โดยลูกๆ อาจถ่ายอุจจาระไม่ออก หรือลักษณะของอุจจาระแข็งและแห้ง โชคดีที่ในหลายกรณีอาการท้องผูกในเด็กเป็นอาการชั่วคราว และคุณพ่อคุณแม่สามารถรับมือกับอาการท้องผูกในเด็กได้ ด้วยหลากหลายวิธีต่อไปนี้

อาการแบบไหนที่ถือว่าลูกท้องผูก

การขับถ่ายของเด็กแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน แต่ถ้าการขับถ่ายของลูกคุณมีอาการเหล่านี้ ก็แสดงว่าลูกของคุณอยู่ในข่ายที่ถือว่า "ท้องผูก" แล้วล่ะ

  • ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
  • อุจจาระแข็ง แห้ง และถ่ายอุจจาระยาก
  • อุจจาระมีขนาดใหญ่ ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคในการขับถ่าย
  • มีอาการเจ็บปวดขณะขับถ่าย
  • มีอาการปวดท้อง
  • อุจจาระเหลวหรือมีลักษณะคล้ายดินเหนียว
  • มีเลือดปนกับอุจจาระที่แข็ง

ทำไมเด็กถึงท้องผูก

อาการท้องผูกในเด็กอาจเกิดจากปัจจัยเหล่านี้

  • อั้นอุจจาระ เด็กๆ อาจไม่สนใจการขับถ่าย เนื่องจากพวกเขาอาจกลัวการเข้าห้องน้ำ หรือติดเล่นจนไม่อยากไปเข้าห้องน้ำ ทำให้เด็กบางคนอาจอั้นอุจจาระ จนเป็นเหตุให้เกิดอาการท้องผูก
  • อาหาร การกินอาหารที่มีไฟเบอร์อย่างผักและผลไม้ไม่เพียงพอ รวมถึงดื่มน้ำไม่เพียงพอ สามารถทำให้เกิดอาการท้องผูกในเด็กได้
  • การเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวัน การเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวัน เช่น การไปท่องเที่ยว อาจส่งผลกระทบต่อเวลาในการขับถ่ายของลูก
  • ยาบางชนิด ผลข้างเคียงจากยาบางชนิดสามารถทำให้เกิดอาการท้องผูกได้
  • การแพ้นมวัว การแพ้นมวัวหรือการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมวัวมากเกินไปอาจเป็นเหตุให้เกิดอาการท้องผูก
  • ปัญหาสุขภาพ อาการท้องผูกสามารถบ่งบอกได้ว่าเด็กๆ อาจมีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร หรือมีโรคอื่นๆ แต่อาการท้องผูกเนื่องจากการเป็นโรคเป็นสาเหตุที่พบได้ไม่บ่อย

วิธีบรรเทาอาการท้องผูกของลูกที่พ่อแม่ช่วยได้

1.กินอาหารไฟเบอร์สูง

คุณพ่อคุณแม่ควรเพิ่มผักและผลไม้ในมื้ออาหารให้ลูกๆ เพื่อให้ได้รับไฟเบอร์ในปริมาณอย่างน้อย 3-5 กรัม นอกจากนี้ยังสามารถให้ลูกกินอาหารเช้าซีเรียลไฟเบอร์สูง ขนมปังธัญพืช และถั่วชนิดต่างๆ เนื่องจากอาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์เหล่านี้จะช่วยให้อุจจาระของเด็กๆ นุ่มและพองขึ้น ซึ่งส่งผลทำให้ขับถ่ายได้ง่าย โดยเด็กๆ ควรได้รับไฟเบอร์ 14 กรัมจากการกินอาหาร 1000 แคลอรี่ต่อวัน ส่วนปริมาณไฟเบอร์ที่ควรได้รับต่อวันในแต่ละวัยนั้น สำหรับวัยเด็กควรได้รับไฟเบอร์ 20 กรัมต่อวัน ส่วนวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ เพศหญิง ควรได้รับไฟเบอร์ 29 กรัมต่อวัน และวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ เพศชาย ควรได้รับไฟเบอร์ 38 กรัมต่อวัน นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่อาจให้ลูกๆ กินอาหารไฟเบอร์สูง เช่น ถั่ว ธัญพืช ผักและผลไม้ แต่ควรค่อยๆ เริ่มต้นและอาจค่อยๆ เพิ่มปริมาณไฟเบอร์ในมื้ออาหาร เพราะเด็กๆ บางคนอาจไม่คุ้นเคยกับการกินอาหารไฟเบอร์สูง

2.ดื่มน้ำให้มาก

หากเด็กๆ กินอาหารที่ไฟเบอร์สูงแล้ว ยังขับถ่ายได้ไม่ดี ควรให้ลูกดื่มน้ำให้มาก รวมถึงจำกัดปริมาณน้ำหวาน โดยไม่ควรให้ลูกดื่มน้ำหวานเกิน 4 ออนซ์ (118.3 มิลลิลิตร) ต่อวันในเด็กเล็ก ส่วนเด็กๆ วัยเรียนไม่ควรดื่มน้ำหวานเกิน 6-8 ออนซ์ (177-236 มิลลิลิตร) ต่อวัน มากไปกว่านั้นการดื่มน้ำจะช่วยทำให้อุจจาระของเด็กๆ นุ่มขึ้น ส่งผลดีต่อการขับถ่าย ข้อควรระวังคือการดื่มนมอาจทำให้เด็กๆ บางคงอาจมีอาการท้องผูก ดังนั้นจึงควรให้เด็กดื่มนมในปริมาณที่ไม่มากจนเกินไป

3.ขับถ่ายให้เป็นเวลา

คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้เด็กๆ เข้าห้องน้ำเป็นอย่างแรกในตอนเช้า และควรเข้าห้องน้ำหลังจากกินอาหาร 5-10 นาทีในแต่ละมื้ออาหาร โดยควรให้ลูกๆ ขับถ่ายเป็นเวลาจนเป็นนิสัย

4ให้ลูกออกกำลังกาย

พยายามพาลูกกออกไปเดินหรือวิ่ง หรือชวนให้ลูกเล่นกีฬา การเคลื่อนไหวร่างกายปกติแล้วจะช่วยทำให้อาการท้องผูกดีขึ้นได้

5. ตรวจสอบยาของลูก

ผลข้างเคียงจากยาบางขนิดอาจทำให้เกิดอาการท้องผูก จึงควรปรึกษาแพทย์หากลูกท้องผูกเนื่องจากกินยารักษาโรค

6.ใช้ตัวช่วย

หากเด็กๆ ได้รับไฟเบอร์ไม่เพียงพอในมื้ออาหาร คุณหมออาจให้กินอาหารเสริมไฟเบอร์ แต่อย่างไรก็ตามเด็กๆ จำเป็นต้องดื่มน้ำอย่างน้อย 1 ลิตรต่อวันเพื่อให้อาหารเสริมไฟเบอร์ทำงานได้อย่างดี นอกจากนี้คุณหมออาจให้เด็กๆ กินยาที่ทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม (stool softener) เพื่อบรรเทาอาการท้องผูก โดยคุณหมอจะจ่ายยาที่เหมาะกับอายุและน้ำหนักของเด็กๆ

เมื่อไหร่ควรไปหาคุณหมอ

อาการท้องผูกในเด็กโดยปกติไม่อันตราย แต่อย่างไรก็ตามหากเด็กๆ มีอาการท้องผูกรุนแรงอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพ ดังนั้น หากเด็กมีอาการท้องผูกนานกว่า 2 สัปดาห์ และมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย ควรไปพบคุณหมอ

  • เป็นไข้
  • อาเจียน
  • มีเลือดในอุจจาระ
  • ท้องบวม
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • แผลรอยแยกขอบทวารหนัก (anal fissures)
  • ภาวะลำไส้ตรงยื่นออกมาทางช่องทวารหนัก (rectal prolapse)

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook