วิธีวินิจฉัยความรุนแรงของสิว และการรักษาสิว

วิธีวินิจฉัยความรุนแรงของสิว และการรักษาสิว

วิธีวินิจฉัยความรุนแรงของสิว และการรักษาสิว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สิว ปัญหาผิวพรรณสุดคลาสสิก ที่ส่งผลกระทบทั้งด้านร่างกายและจิตใจของคนทุกเพศทุกวัยก็ว่าได้ หลายคนกำลังถูกคุกคามด้วยสิวประเภทต่างๆ ทั้งสิวอุดตัน สิวอักเสบ ทุกคนล้วนหาวิธีทำให้สิวหายและวิธีการรักษาสิว ซึ่งบางครั้งก็รักษาหาย บางครั้งก็เป็นเรื้อรังหรือรุนแรงจนกระทั่งต้องพึ่งหมอ แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าปัญหาสิวที่เกิดขึ้นนั้นรุนแรงถึงขั้นไหน และจำเป็นต้องใช้วิธีรักษาสิวอย่างไรบ้าง ต่อไปนี้คือข้อมูลเกี่ยวกับการจัดระดับความรุนแรงของสิวตามหลักของแพทย์ผิวหนัง รวมทั้งวิธีการรักษาสิวในขั้นต่างๆ ด้วย การจัดระดับความรุนแรงของสิว สิวเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์ผิวหนังส่วนมาก สิวจะปรากฏอาการในผู้หญิงช่วงอายุ 14-17 ปี และในผู้ชายช่วงอายุ 16-19 ปี ความรุนแรงของสิวจะมากขึ้น 3-5 ปี หลังจากเริ่มเป็นสิว และมักหายไปในช่วงอายุ 20-25 ปี อย่างไรก็ตาม สิวก็สามารถเกิดได้ในวัยผู้ใหญ่ได้เช่นกัน โดยร้อยละ 85 ของผู้เป็นสิวจะเป็นชนิดไม่รุนแรง มีเพียงร้อยละ15 ที่เป็นสิวอักเสบรุนแรง การจัดระดับความรุนแรงของสิว ก็เพื่อให้เป็นแนวทางในการดูแลรักษาสิวของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาสิว ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและมีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับของทั้งแพทย์และผู้ป่วย  

  • สิวเล็กน้อย (mild acne) คือการมีหัวสิวไม่อักเสบ (comedone) เป็นส่วนใหญ่ หรือมีสิวอักเสบ (papule) และ สิวหัวหนอง (pustule) ไม่เกิน 10 จุด (ระดับ GEA 0,1,2)
  • สิวปานกลาง (moderate acne) หมายถึงการมีสิวตุ่มนูน (papule) และสิวหัวหนอง (pustule) ขนาดเล็กจำนวนมากกว่า 10 จุด และ/หรือ มีสิวไตแข็ง (nodule) น้อยกว่า 5 จุด (ระดับ GEA 3)
  • สิวรุนแรง (severe) หมายถึงการมีสิวประเภทต่างๆ ได้แก่ ตุ่มนูน (papule) และ สิวหัวหนอง pustule มากมาย สิวอักเสบแดงเป็นก้อน (nodule) และ สิวซีสต์ (cyst) เป็นจำนวนมาก หรือมีสิวอักเสบอยู่นานและกลับเป็นซ้ำ หรือมีหนองไหล (ระดับ GEA 4,5)

ตารางการแบ่งระดับความรุนแรงของสิวตามหลัก GEA Scale*

GEA Scale คำอธิบาย
0 ไม่มีสิว แต่อาจเห็นรอยดำหรือรอยแดงได้บ้าง
1 แทบไม่มีสิว มีเพียงสิวหัวปิด สิวหัวเปิด จำนวนเล็กน้อย สิวอักเสบจำนวนน้อยมาก
2 เห็นได้ว่ามีสิว กินพื้นที่น้อยกว่าครึ่งใบหน้า
3 พบสิวกินพื้นที่มากกว่าครึ่งของใบหน้า มีสิวหัวปิด สิวหัวเปิด ตุ่มสิว และตุ่มหนองจำนวนหนึ่ง อาจมีสิวไตแข็งร่วมด้วย 1 ตุ่ม
4 สิวกินพื้นที่ทั่วใบหน้า มีตุ่มอักเสบ ตุ่มหนอง สิวหัวเปิด สิวหัวปิดจำนวนมาก
5 สิวอักเสบและสิวไตแข็งจำนวนมากทั่วทั้งใบหน้า



  *ข้อมูลจาก Journal of the European Academy of Dermatology and Venereology   แนวทาง การรักษาสิว แบบมาตรฐาน แบ่งตามความรุนแรงของสิว หลักการในการรักษาสิวโดยทั่วไปคือ การป้องกันการเกิดสิวใหม่ และลดการอักเสบของรอยโรคเดิมลง ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการรักษา ปัจจุบัน การรักษาสิวมีทั้งยาทาเฉพาะที่ และยารับประทาน โดยจะเลือกใช้วิธีรักษาสิวแบบใด ขึ้นกับความรุนแรงของสิวในขณะนั้น   สิวเล็กน้อย (mild acne) ลักษณะสิวที่พบมักเป็นสิวหัวขาว สิวหัวดำ และสิวผด บริเวณใบหน้า จมูกและหน้าผาก ไม่รุนแรง อาจใช้ยาทาหรือครีมรักษาสิวที่มีส่วนประกอบของตัวยาสำคัญ ได้แก่

  • Benzoyl peroxide 2.5%-5%
  • Topical retinoids 0.01%-0.1%
  • Clindamycin 1% solution
  • Erythromycin 2%-4% solution หรือ gel
  • Salicylic acid
  • Azelaic acid
  • Sulfur, resorcinol

  นอกจากการใช้ยาดังกล่าวแล้ว การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เครื่องสำอาง หรือสารทำความสะอาดในขณะที่เป็นสิว และควรศึกษาข้อมูลของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน การรู้จักเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมจะเป็นการช่วยบรรเทาความรุนแรงของสิว และปกป้องผิวจากการเกิดสิวเพิ่มอีกด้วย โดยพื้นฐานแล้ว ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่าไม่ทำให้เกิดสิวอุดตันหรือสิวอักเสบ (noncomedogenic และ non-acnegenic) ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดสิวหัวเปิดหรือสิวหัวปิด อาจมีส่วนประกอบของสารสำคัญที่ช่วยลดความมันบนใบหน้า เช่น แอร์ลิเซียม (Airlicium) คาร์โนซีน (Carnosine) และซิงก์ (Zinc) หรือสารที่มีคุณสมบัติช่วยลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย เช่น สารสกัดต้นวิชฮาเซล (Hammelis)  และ พิร็อกโทน โอลาไมน์ (Piroctone Olamine) เป็นต้น   หมายเหตุ ไม่ควรใช้ Clindamycin หรือ Erythromycin ทาอย่างเดียว เพราะมีความเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อดื้อยา ควรใช้ร่วมกับ Benzoyl peroxide   สิวปานกลาง (moderate acne) เป็นระยะที่เริ่มมีสิวอักเสบเกิดขึ้นซ้ำๆ ในระยะนี้ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาทาที่ใช้กับระดับสิวเล็กน้อย ร่วมกับยารับประทาน คือ ยาในกลุ่ม Tetracycline แต่ถ้าแพ้ยาในกลุ่ม Tetracycline ให้ใช้ Erythromycin แทน สิวรุนแรง (severe acne) ในระยะนี้จะเกิดสิวหลายชนิดรวมกันทั้งสิวอุดตัน สิวอักเสบและสิวประเภทอื่นๆ รวมทั้งยังอาจขยายบริเวณจากใบหน้า ลามไปถึงแผ่นหลัง แผ่นอก หรือสะโพก อีกด้วย ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนัง ในกรณีการรักษาที่ไม่ตอบสนองด้วยวิธีรักษาสิวแบบมาตรฐานใน 2-3 เดือน   ถ้าอยากรู้ว่าเป็นสิวระดับไหนตอนนี้ก็มี application Spot Scan ที่ให้เราเข้าไปวิเคราะห์ปัญหาสิว  และติดตามผลการรักษาสิวได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย http://bit.ly/thspotscan-LRP   การดูแลผิวหลัง การรักษาสิว เมื่อสิวหายไปแล้ว ก็ใช่ว่าจะวางใจได้ เพราะปัญหาที่อาจเกิดตามมา คือ รอยแดง รอยดำ หลุมแผลเป็น และแผลเป็นนูน ซึ่งเกิดจากสิวอักเสบและสิวหัวดำ โดยการดูแลรักษารอยสิวก็มีหลายวิธี ซึ่งสามารถทำได้ด้วยตัวเอง เช่น  

  • การใช้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเรตินอยด์(Retinoids) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยผลัดเซลล์ผิวและลดจุดด่างดำจากรอยแผลสิว
  • การใช้ครีมลดรอยสิวที่มีส่วนประกอบของ โปรซีหลาด (Procerad) วิตามินอี วิตามินซี อาร์บูติน กลูต้าไธโอน โคจิก ทรานซามิค ฯลฯ ที่ช่วยลดรอยดำ รอยแดงที่เกิดจากสิว
  • การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยผลัดเซลล์ผิว เช่น AHA, BHA, LHA

การรักษาสิวและรักษารอยสิวนั้นเป็นการรักษาที่ต้องใช้เวลาอยู่สักหน่อย และผู้ป่วยจำเป็นต้องดูแลรักษาตัวเองเป็นอย่างดี ทั้งในระหว่างที่เป็นสิว และหลังจากการรักษา และควรศึกษาครีมรักษาสิวหรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้ร่วมในการรักษาสิวด้วย เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งลดการเกิดสิวเพิ่มในอนาคต Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook