5 สาเหตุที่ทำให้คุณกลายเป็นคนขื้ลืม

5 สาเหตุที่ทำให้คุณกลายเป็นคนขื้ลืม

5 สาเหตุที่ทำให้คุณกลายเป็นคนขื้ลืม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อาการหลงลืมง่าย ลืมโน่นลืมนี่อยู่บ่อยครั้ง เป็นอาการที่หลายคนมักจะเป็นกันในทุกช่วงวัย ไม่ใช่เพียงแต่ผู้สูงอายุเท่านั้น เพราะในปัจจุบันนี้วัยรุ่นหรือวัยกลางคนหลายคนก็มีอาการหลงลืมไม่แพ้กัน เรามาดูกันดีกว่าว่า อาการหลงลืมบ่อยครั้งนั้น มีสาเหตุมาจากอะไรกันบ้าง

1. พักผ่อนไม่เพียงพอ

อาการเบลอ มึนๆ งงๆ เกิดขึ้นได้จากการที่ร่างกายนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ สังเกตได้ง่ายๆ เลยว่า วันไหนที่คุณนอนดึกและต้องตื่นเช้า วันนั้นทั้งวันคุณจะมีอาการหลงๆ ลืมๆ ได้ง่าย นอกจากนี้การพักผ่อนไม่เพียงพอ ยังนำมาซึ่งอารมณ์ที่แปรปรวน หงุดหงิดง่าย และมีความวิตกกังวลในเรื่องต่างๆ ได้ง่ายมากขึ้นด้วย

2. ความเครียดสะสม

ความเครียดจากเรื่องต่างๆ ที่สะสมอยู่ภายในสมองของคุณ เป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการหลงลืมได้ เพราะภาวะความเครียดที่เกิดขึ้นนั้น จะทำให้คุณหลุดโฟกัสในสิ่งต่างๆ ได้ง่าย ส่งผลให้สมาธิหลุดลอย ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ดีเท่าที่ควร

3. ยาที่รับประทาน

ยาที่รับประทาน เช่น ยาในกลุ่มระงับประสาท ยาควบคุมความดันโลหิต ยารักษาอาการซึมเศร้า ล้วนแล้วแต่มีผลข้างเคียงในการทำให้สมองจดจำสิ่งต่างๆ ได้ยากมากขึ้น โดยผู้ที่ได้รับยาเหล่านี้จะมีปัญหาในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ เพราะยามีฤทธิ์ในการกล่อมประสาททำให้เกิดความเบลอและมึนงง ดังนั้นหากอาการดังกล่าวรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณายาตัวใหม่ที่มีผลข้างเคียงน้อยลง

4. อายุมากขึ้น

เมื่ออายุของคนเราเพิ่มมากขึ้น ประสิทธิภาพในการจดจำสิ่งต่างๆ ก็ลดน้อยถอยลงไปด้วย จนบางครั้งก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ในกลุ่มผู้สูงอายุได้ ดังนั้นเพื่อป้องกันโรคหลงลืมที่อาจจะมาเยือน ควรฝึกฝนสมองในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และใช้สมองในการคิดทบทวนเรื่องราวต่างๆ อยู่เป็นประจำ จะช่วยทำให้ห่างไกลโรคหลงลืมหรืออัลไซเมอร์ได้

5. แอลกอฮอลล์

การดื่มเครื่องดื่มที่มีปริมาณแอลกอฮอล์เป็นประจำ จะทำให้ประสิทธิภาพของสมองลดลง โดยในผู้ดื่มแอลกฮอล์หนักๆ บางรายนั้น จะมีความจำที่แย่ลงหลังจากสร่างเมา จดจำสิ่งต่างๆ ได้ยากมากขึ้น และอาจรุนแรงถึงขนาดที่สูญเสียความฉลาดหลักแหลมไปเลยก็มี

อาการหลงลืมง่าย เป็นเรื่องที่คุณอาจจะไม่คาดคิดว่ามีสาเหตุมาจากปัจจัยต่างๆ รอบตัว และอาจจะส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เมื่อไม่ได้รับการรักษาหรือดูแลที่เหมาะสม ประสิทธิภาพของสมองในการจดจำ เรียนรู้สิ่งต่างๆ ก็จะลดน้อยถอยลงด้วยเช่นกัน ดังนั้นหันมาใส่ใจสมองด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดูแลร่างกายให้เหมาะสม เรียนรู้สิ่งใหม่ที่เป็นประโยชน์อยู่ตลอดเวลา ก็ถือเป็นตัวช่วยพัฒนาสมองให้สามารถจดจำสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook