ดูแลสุขภาพลูกรักเมื่อปลายฝนต้นหนาว

ดูแลสุขภาพลูกรักเมื่อปลายฝนต้นหนาว

ดูแลสุขภาพลูกรักเมื่อปลายฝนต้นหนาว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"ท้องเสีย" ไม่ใช่อาการเจ็บป่วยทั่วไปสำหรับลูกเรานะคะ โดยเฉพาะใครที่มีลูกอายุน้อยกว่า 5 ปี เพราะสาเหตุของอาการท้องเสียของลูกอาจจะเกิดจากเชื้อโรคที่คุณพ่อคุณแม่คาดไม่ถึง และส่งผลอันตรายต่อน้ำหนักและพัฒนาการของเขา เชื้อโรคที่ว่าคือ ไวรัสโรต้า นั่นเองค่ะ

เคล็ดลับคุณแม่เคล็ดลับคุณแม่

ท้องเสียไม่ใช่เรื่องปกติของลูก?


อาการท้องเสียในเด็กไม่ใช่เรื่องปกติเลย เพราะเรามักจะมองว่าการท้องเสียในผู้ใหญ่เป็นเรื่องธรรมดา เลยคิดว่าถ้าเด็กท้องเสียก็คงเป็นเรื่องธรรมดาไปด้วย แต่สำหรับเด็กแล้วอาการท้องเสียมักจะเกิดจากได้รับเชื้อโรคทั้งเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งจะแสดงอาการและระยะเวลาในการแสดงอาการแตกต่างกัน

ท้องเสียที่เกิดจากการได้รับพิษของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะรักษา แต่ต้องดูแลสุขอนามัยดีๆ และให้ดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อแก้อาการขาดน้ำ เด็กก็สามารถหายได้เองใน 2-3 วัน แต่ถ้าเป็นการได้รับเชื้อไวรัสก็มีความจำเป็นต้องรักษาด้วยยาเพื่อให้หายเร็วขึ้น เพราะหากทิ้งไว้นานไม่รักษา เชื้อไวรัสก็อาจจะทำให้เกิดอาการท้องเสียเป็นโรคที่เรื้อรังโดยเฉพาะไวรัสโรต้าที่ค่อนข้างอันตรายต่อเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปี

การรับเชื้อไวรัสโรต้าเกิดขึ้นได้ทุกฤดู?


ในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี เราจะพบว่าเด็กกลุ่มนี้จะได้รับเชื้อไวรัสโรต้ามากในช่วงปลายฝนต้นหนาว เพราะเป็นช่วงที่เชื้อไวรัสเติบโตและแพร่กระจายได้ดี แต่ปัจจุบันพบว่าเด็กสามารถรับไวรัสโรต้าได้ตลอดทั้งปีเพราะสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงของโลกเรา ดังนั้นไม่ว่าฤดูไหน ช่วงเวลาไหนเด็กๆ ก็มีโอกาสได้รับเชื้อโรต้ามากพอๆ กันค่ะ

ลูกได้รับเชื้อไวรัสโรต้าได้อย่างไร?


เด็กๆ จะได้รับเชื้อไวรัสโรต้าจากสารคัดหลั่งต่างๆ เช่น น้ำลาย น้ำมูก อุจจาระโดยสารคัดหลั่งเหล่านี้จะติดอยู่ตามสถานที่ทั่วไปที่มีเด็กเยอะๆ เช่น สนามเด็กเล่นที่มีเครื่องเล่นของเด็ก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจจะไม่เคยเอะใจ หรือแม้จะรู้อยู่แล้วว่า แต่ก็ยังยอมปล่อยให้ลูกไปเล่น และมักจะลืมล้างมือลูกให้สะอาดหลังจากเล่นเสร็จ เมื่อลูกใช้มือมาจับหน้า หยิบอาหารหรือขนมเข้าปากก็จะได้รับเชื้อโรต้าเข้าไปแล้ว

ลูกได้รับเชื้อโรต้าแล้วจะเป็นอย่างไร?


เด็กได้รับเชื้อไวรัสโรต้าแค่ 24 ชั่วโมงก็แสดงอาการแล้ว วิธีสังเกตคือ ตัวร้อน มีไข้ต่ำๆ จาม มีน้ำมูก ถ่ายเหลวเป็นน้ำ ซึ่งหากเกิดอาการเหล่านี้สิ่งแรกที่ทำคือ ควรจะให้ลูกได้ดื่มสารน้ำเยอะๆ เพื่อป้องกันอาการขาดน้ำ แล้วจึงพามาพบหมอ

การมาพบหมอให้เร็วที่สุดสำคัญมาก เนื่องจากพ่อแม่บางคนพามาช้าทำให้ลูกขาดน้ำมากแล้ว ร่างกายอ่อนแรงมาก และไวรัสโรต้าจะเข้าไปทำลายเยื่อบุลำไส้เล็กให้หลุตลอก ส่งผลให้มีปัญหาในการย่อย และยังเกิดการแพ้อาหารได้โดยเฉพาะอาหารประเภทโปรตีนจาก นม ไข่ ถั่ว ยิ่งทำให้การรักษาต้องใช้เวลานานมากขึ้นอีก เพื่อฟื้นฟูลำไส้เป็นเวลาหลายสัปดาห์

ยารักษาการท้องเสียจากไวรัสโรต้ามีอะไรบ้าง?


ปกติแล้วหมอจะให้ยาเด็กตามอาการว่าเป็นมากหรือน้อย ซึ่งยาก็จะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มจุลินทรีย์สุขภาพถ้ามาพบหมอไว และมีอาการน้อยเพราะรับเชื้อโรคน้อย จุลินทรีย์สุขภาพจะช่วยสร้างภูมิต้านทานในลำไส้ไม่ให้ไวรัสทำลาย ทำให้อาการหายเร็วขึ้น

หากเด็กมีอาการมาก จะต้องได้รับยากลุ่มที่เป็นผงดินหรือผงแป้ง ซึ่งจะผสมกับน้ำ โจ๊ก อาหาร หรืออาจจะผสมกับวุ้นที่มีรสหวานนิดๆ เพื่อให้ลูกทานง่ายขึ้น ยากลุ่มนี้จะเข้าไปดูดซับเชื้อไวรัสและขับออกมาจากร่างกาย และเคลือบแผลในลำไส้ให้ฟื้นฟูเร็วจึงหายไวยากลุ่มนี้พ่อแม่สามารถซื้อแล้วนำไปใช้ป้อนลูกได้เอง

ป้องกันและดูแลลูกอย่างไรให้ไกลไวรัสโรต้า?


การป้องกันทำได้โดยจะต้องหยอดวัคซีนป้องกันไวรัสโรต้า2-3 ครั้งภายในอายุ 26 เดือน หรือถ้าจะให้ดีคือภายในอายุ 6 เดือน หากเด็กสัมผัสรับไวรัสโรต้าเข้าร่างกาย วัคซีนก็จะต้านไม่ให้ไวรัสแสดงอาการ หรือหากได้รับเชื้อมาก เด็กก็จะแสดงอาการน้อยกว่าที่ควรจะเป็นเนื่องจากวัคซีนจะช่วยต้านและลดอาการไม่ให้รุนแรง ดังนั้นพ่อแม่จึงต้องเข้าใจก่อนว่าวัคซีนเป็นการป้องกันและทำให้อาการน้อย แต่ไม่ใช่การป้องกันแบบ 100%

สำหรับการดูแลนั้นพ่อแม่ควรดูแลไม่ให้ลูกเล่นในที่ที่เสี่ยงกับการได้รับเชื้อ โดยเฉพาะที่ทีมีเด็กเยอะๆ อย่าง เครื่องเล่นในสนามเด็กเล่น บ่อบอลตามห้างสรรพสินค้า แต่หากเลี่ยงไม่ได้ หลังจากเล่นแล้วควรล้างมือลูกด้วยสบู่จะดีที่สุด...ทราบอย่างนี้แล้วอย่านิ่งนอนใจนะคะ ถ้าบ้านไหนมีลูกเล็กที่อายุยังไม่ถึง 6 เตือน ให้รีบพาไปหยอดรับวัคซีนโรต้า ป้องกันไว้ก่อน และคอยสังเกตอาการป่วยของลูกเสมอว่าเป็นไปตามที่คุณหมอกล่าวมาข้างต้นหรือไม่หากมีอาการดังกล่าวแต่ยังไม่รุนแรง คุณพ่อคุณแม่สามารถหาซื้อยาชนิดผงแป้งมาผสมกับอาหารให้ลูกทานเพื่อรักษาอาการท้องเสียได้ตามขนาดที่ถูกต้อง แต่หากพบอาการรุนแรงควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาให้ไวที่สุดค่ะ เพราะยิ่งรักษาได้เร็วเท่าไหร่ ลูกจะยิ่งมีสุขภาพและพัฒนาการที่ดีมากเท่านั้นนะคะ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.momypedia.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook