เครื่องเทศในอาหารที่มีสรรพคุณทางยา
เครื่องเทศ มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชีย เป็นสิ่งที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์กันมาแต่โบราณ มีการค้าขายเป็นสินค้าแลกเปลี่ยนกันระหว่างประเทศทางตะวันออกและตะวันตก โดยมุ่งใช้ในด้านการปรุงแต่งรสอาหารและการถนอมอาหารเป็นสำคัญ เครื่องเทศบางชนิดที่เราใช้กันเป็นประจำ แม้มีชื่อเป็นภาษาไทย แต่ก็ไม่ได้มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย ได้มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ จึงได้เรียกกันว่า เครื่องเทศ ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2525 ได้กล่าวถึงเครื่องเทศไว้ว่า เป็นของหอมฉุนและเผ็ดร้อน ซึ่งได้มาจากต้นไม้ สำหรับใช้ทำยาไทยและปรุงอาหารโดยมาจากต่างประเทศ
เครื่องเทศไม่จัดว่าเป็นอาหาร เพราะใช้ในปริมาณน้อยมาก มีคุณค่าทางโภชนาการน้อย คุณค่าของเครื่องเทศอยู่ที่กลิ่น น้ำมันหอมระเหย และสารสำคัญคือ สารที่มีการศึกษาแล้วว่ามีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่มีอยู่ในเครื่องเทศนั้น ๆ พืชประเภทเครื่องเทศมักจะมีน้ำมันหอมระเหยเป็นองค์ประกอบ เครื่องเทศแห้ง เช่น ลูกผักชี ยี่หร่า จะยิ่งมีกลิ่นหอมมากขึ้นเมื่อถูกความร้อนซึ่งจะไปกระตุ้นให้กลิ่นหอมออกมามาก จึงนิยมนำมาคั่วก่อนใช้ในการปรุงอาหาร น้ำมันหอมระเหยได้จากหลายส่วนของพืชเครื่องเทศ ได้แก่ น้ำมันหอมระเหยจากส่วนเปลือกและลำต้น เช่น อบเชย จากส่วนใบ เช่น กระวาน มะกรูด จากส่วนดอก เช่น กานพลู จากผล เช่น ผักชี พริกไทย กระวาน และโป๊ยกั๊ก
ประโยชน์ในด้านกลิ่นของเครื่องเทศ มีทั้งช่วยดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ของวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการประกอบอาหาร เช่น กลิ่นสาบของอาหารประเภทเนื้อและกลิ่นคาวของปลา ช่วยแต่งกลิ่นของอาหารแต่ละจานให้มีกลิ่นหอมชวนรับประทาน รวมทั้งทำให้เกิดกลิ่นเฉพาะของอาหาร เช่น พะโล้ น้ำก๋วยเตี๋ยว แกงเขียวหวาน และต้มข่า เป็นต้น
เครื่องเทศที่นำมาใช้ในการประกอบอาหารมีทั้ง ประเภทสด เช่น ตะไคร้ ใบมะกรูด ขิง ข่า และประเภทแห้ง เช่น ลูกผักชี ยี่หร่า พริกไทย กระวาน และกานพลู เป็นต้น ในเครื่องเทศเหล่านั้นมีสารสำคัญที่มีสรรพคุณทางยาหลายชนิด การได้รับประทานอาหารที่ใช้เครื่องเทศปรุง แต่ง สี กลิ่น รส เป็นประจำจะทำให้ได้ประโยชน์จากสารต่าง ๆ เป็นผลดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะโรคทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ เครื่องเทศที่นิยมใช้ในอาหาร ได้แก่