สอนเตาะแตะ “รู้ผิด&บอกขอโทษ”

สอนเตาะแตะ “รู้ผิด&บอกขอโทษ”

สอนเตาะแตะ “รู้ผิด&บอกขอโทษ”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ถึงคุณจะหยุดลูกวัยเตาะแตะไม่ให้ทำพี่น้อง เพื่อนพ้อง สัตว์เลี้ยง และข้าวของรอบตัวเขาเดือดร้อนได้ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเขา แต่ใช่ว่าคุณจะทำอะไรไม่ได้เลยนี่นา เด็กน้อยสามารถเรียนรู้และเข้าใจความคาดหวังของสังคมเมื่อเขาทำสิ่งไม่สมควร เรียนรู้ความผิดและการกล่าวขอโทษได้




กรณีที่1 ลูกโยนไอแพดของคุณลงบนพื้น


หายใจเข้า-ออกลึกๆ จนความโกรธ โมโหคลาย หยุดประโยคร้อยเหตุผลต่างๆ นานา พร่ำบอกเพื่อให้เจ้าตัวเล็กสำนึกผิด เปลี่ยนเป็นบอกให้ลูกพูดคำสั้นๆ สามสี่พยางค์นี้ เช่น "ผมขอโทษ" "ผมผิดเอง" หรือ "ผมไม่ได้ตั้งใจ" คำพูดเหล่านี้จะช่วยให้ลูกเข้าใจว่าการขอโทษเป็นเรื่องสำคัญ และเมื่อลูกยอมพูดตามแล้ว ค่อยให้เขาพูดทวนการกระทำที่ไม่สมควรเข้าไปในคำขอโทษด้วยเช่น "ผมขอโทษที่โยนมันลงพื้น" หรือ "ผมไม่ได้ตั้งใจจะโยนมันลงพื้น"เพื่อให้ลูกเข้าใจและยอมรับว่าเขาทำสิ่งที่ไม่สมควรนั้น

กรณีที่ 2 ลูกแกล้งดึงหางของแมว แต่ไม่ยอมขอโทษ


เด็กบางคนอาจอายจนไม่กล้าขอโทษ ขณะที่อีกหลายคนดื้อเกินกว่าจะยอมบอกขอโทษ ทางที่ดีที่สุดในตอนนี้คือคุณไม่ควรบังคับให้ลูกกล่าวคำขอโทษแต่พูดกับเขาว่า "แม่รู้ว่าลูกเสียใจ" หรือ "แม่รู้ว่าลูกไม่ได้ตั้งใจที่จะ..." อย่างน้อยวิธีนี้ก็ทำให้ลูกวัยนี้รับรู้ถึงความผิดพลาดของตัวเอง ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้การบอกขอโทษ

กรณีที่ 3 ลูกล้มหอคอยตัวต่อของเพื่อนแต่พูดขอโทษเฉยๆ


ในบางครั้ง การพูดขอโทษเพียงอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอ กรณีนี้คุณควรต้องบอกให้ลูกรู้ความรู้สึกของเพื่อนลูกด้วยอย่างสั้นๆ เช่น "น้องต้นเสียใจที่หอคอยของเขาพัง ถ้าเป็นลูกจะรู้สึกยังไง เสียใจมากเหมือนกันใช่มั้ย" จากนั้นคุณสามารถแนะนำวิธีที่ลูกจะแก้ไขสิ่งไม่สมควรที่เขาทำลงไป เช่น "ถึงบอกขอโทษแล้ว แต่ลูกไปลูบหลังน้องต้นและช่วยสร้างหอคอยเพื่อปลอบใจเพื่อนได้ และลูกเองจะรู้สึกดีขึ้นด้วยนะ"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook