"นิมโฟมาเนีย" โรคคลั่งไคล้ใน sex เกินปกติ

"นิมโฟมาเนีย" โรคคลั่งไคล้ใน sex เกินปกติ

"นิมโฟมาเนีย" โรคคลั่งไคล้ใน sex เกินปกติ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นิมโฟมาเนีย (Nymphomania) เป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ซึ่งวงการแพทย์ในสมัยนั้นถือว่า Nymphomania เป็นโรคทางกายภาพ แต่ในวงการแพทย์ปัจจุบันถือว่า Nymphomania เป็นอาการป่วยทางจิต เพราะมีกรณีศึกษาของผู้หญิงคนหนึ่ง ซึ่งเป็นลูกสาวชาวนาในรัฐแมสซาชูเซตส์ เธอกล่าวคำพูดลามกอนาจารต่อหน้าสาธารณชนด้วยการเสนอร่างกาย และแสดงความคิดเห็นในเรื่องเพศ โดยปราศจากการควบคุมและมีอารมณ์ขุ่นหมอง

หลังจากการวินิจฉัยจากแพทย์ ซึ่งตรวจสอบร่างกายของเธอปรากฏว่า มดลูกของเธอขยายใหญ่ขึ้น ช่องคลอดหลั่งสารหล่อลื่นมากผิดปกติ และคลิตอริส (ปุ่มกระสัน) ที่ขยายใหญ่ขึ้น ซึ่งเป็นอาการที่บ่งบอกถึงความต้องการทางเพศ

ที่มาและความหมายของคำว่า “Nymphomania”
คำว่า นิมโฟมาเนีย (Nymphomania) มาจากคำว่า Nympho หมายถึง ผู้หญิงที่มีความต้องการทางเพศสูง และ Mania ซึ่งหมายถึง ความคลั่งไคล้หรือความบ้าคลั่ง Nymphomania จึงหมายถึง ผู้หญิงที่มีความต้องการทางเพศสูงเกินปกติ หรือคลั่งไคล้ในเซ็กซ์เกินปกติ *โรคนี้ในผู้ชายก็เป็นได้ แต่เรียกว่า สไตเรียซิส (Satyriasis) ซึ่งมีอาการคล้ายกับผู้หญิง แต่ต่างกันตรงที่ว่ามดลูกไม่หดตัว

สาเหตุของการเกิดโรคนิมโฟมาเนีย
ผู้หญิงที่ป่วยเป็นนิมโฟมาเนีย อาจมีสาเหตุมาจากทางกายภาพ คือ ความผิดปกติของกลีบสมองในส่วนขมับ ซึ่งจะพบได้น้อยมาก หรืออาจจะมาจากการได้รับยาบางชนิดมากเกินไป เช่น แอมเฟตามีน หรือติดสารเสพติด ส่วนสาเหตุที่มาจากสภาพจิตนั้น จะเกิดจากความผิดปกติทางอารมณ์ ที่มีความต้องการทางเพศมากเกินไป อารมณ์ไม่คงที่ สภาวะซึมเศร้า ที่ทำให้สารเคมีในสมองเปลี่ยนไป หรือการได้เห็นคนร่วมรักกันตั้งแต่เด็ก

ลักษณะอาการของผู้หญิงที่เป็นนิมโฟมาเนีย
ไร้ความสามารถที่จะระงับอารมณ์ในเรื่องเซ็กซ์ และมีความไม่สมบูรณ์ทางจิต จะต้องได้รับการตอบสนองทางเพศตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นกับใครก็ได้ และโดยไม่สนใจผลที่จะเกิดตามมา ถึงแม้ว่าจะได้รับการตอบสนองทางเพศหลายครั้งแล้ว ก็จะเกิดความต้องการทางเพศขึ้นอีก ผู้หญิงที่เป็นนิมโฟมาเนียจะเปลี่ยนคู่นอนบ่อย จนเรียกได้ว่าสำส่อนทางเพศ รวมไปจนถึงการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองหลายครั้งต่อวันด้วย

ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นตามมา จากการเป็นโรคนิมโฟมาเนีย คือความเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ การเผชิญกับความเครียด ความโศกเศร้า และอาการทางจิตที่หนักขึ้นเรื่อยๆ หากนานวันเข้าจะยิ่งรู้สึกด้อยค่า และจมดิ่งลงสู่การตัดสินใจคิดสั้นในที่สุด

 

“ฮิสทีเรีย” ต่างจาก ” นิมโฟมาเนีย”
ฮิสทีเรียอาจจะเกิดในผู้หญิงหรือผู้ชายก็ได้ มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ

โรคประสาทฮิสทีเรีย จะแบ่งเป็น Conversion Reaction คือคนที่มีความเครียด กังวลใจ หรือเกิดความขัดแย้งในจิตใจอย่างรุนแรง พวกนี้จะเกิดการผิดปกติที่ระบบการเคลื่อนไหวหรือรับรู้ เช่น เป็นอัมพาต ชาตามแขนและขา และ Dissociative Type คือสูญเสียความจำในบางเรื่อง ที่กระทบกระเทือนจิตใจจนไม่ต้องการรับรู้บุคลิกภาพแบบฮิสทีเรีย คนพวกนี้จะมีลักษณะการแสดงออกที่มากเกินความจริง เพื่อดึงดูดความสนใจ มีความเป็นเด็กสูง ชอบเรียกร้องความสนใจ และแสดงออกทางอารมณ์ค่อนข้างมาก ซึ่งอาจเกิดจากการขาดความรัก ความอบอุ่นในวัยเด็ก


การรักษาและการป้องกันโรคนิมโฟมาเนีย
โรคนิมโฟมาเนียถือเป็นเรื่องยากหากจะรักษา แต่ก็สามารถหายได้เพียงแต่ต้องใช้ระยะเวลา และการเอาใจใส่ในการรักษาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละรายด้วย สำหรับการรักษาก็มีตั้งแต่การบำบัด การใช้ยา การออกกำลังกาย และรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ส่วนวิธีป้องกันหากไม่อยากเป็นโรคนิมโฟมาเนีย

ในทางการแพทย์โรคนี้ยังไม่มีวิธีป้องกันที่ระบุไว้อย่างชัดเจน แต่หากดูแลตัวเองโดยการทานอาหารที่มีประโยชน์และสมดุล ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และนอนหลับอย่างเพียงพอ รวมทั้งเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม และกิจกรรมอื่นๆ ที่สร้างความสุขให้แก่ตัวเอง จะช่วยให้ห่างไกลและไม่หมกมุ่นกับเรื่องเพศได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook