6 ข้อควรรู้ที่แม่ลูกอ่อนควรทำและไม่ควรทำในช่วงให้นมลูก
แม่ลูกอ่อนหลายคน อาจจะยังไม่คุ้นชินกับวิธีเลี้ยงลูกที่เหมาะสม เพราะยังเกิดคำถามและข้อสงสัยต่างๆ ที่ยังสับสนอยู่ไม่น้อยว่า สิ่งใดควรทำและไม่ควรทำ โดยเฉพาะในช่วงที่กำลังให้นมลูก ด้วยความกังวลที่ว่า ถ้าทำแล้วอาจจะส่งผลกระทบต่อน้ำนม และทำให้ลูกอาจจะได้รับสารอาหารจากน้ำนมที่ไม่เพียงพอ วันนี้เราจึงมาไขความกระจ่างให้คุณแม่มือใหม่ทุกคนได้รู้ว่า สิ่งใดควรทำและไม่ควรทำ โดยแยกเป็นข้อๆ ได้ดังต่อไปนี้
1.รับประทานวิตามินบำรุงได้
วิตามินบำรุงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวิตามินรวม น้ำมันตับปลา หรือบำรุงกระดูก คุณแม่สามารถทานได้ค่ะ แต่คุณแม่ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการอุดตันของท่อน้ำนม อาจจะต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานวิตามินเหล่านี้ เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตน้ำนมได้
2.รับประทานยาคุมได้
ยาคุมกำเนิดนั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือประเภทที่มีส่วนผสมของโปรเจสติน และประเภทที่ไม่มีส่วนผสมดังกล่าว คุณแม่ที่ต้องการรับประทานยาคุมในช่วงให้นมลูก ควรรับประทานยาคุมที่มีส่วนผสมของโปรเจสตินซึ่งถือเป็นยาคุมกำเนิดประเภทที่ปลอดภัย และไม่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตน้ำนม
3.รับประทานโปรตีนได้ตามปกติ แต่ต้องสังเกตอาการของลูก
คุณแม่สามารถรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ นม ไข่ หรืออาหารทะเลได้ตามปกติ แต่จะต้องสังเกตอาการของลูกด้วยว่ามีอาการแพ้เกิดขึ้นหรือไม่ เพราะน้ำนมที่ออกมานั้นจะมีสารอาหารประเภทโปรตีนที่คุณแม่ทานเข้าไป ถ้าพบความผิดปกติ ควรหยุดรับประทานทันที
4.หลีกเลี่ยงการรับประทานกระเทียมในช่วงให้นม
การรับประทานกระเทียมนั้น อาจจะส่งผลทำให้น้ำนมมีกลิ่นของกระเทียมออกมา ทำให้ลูกของคุณเกิดอาการขยาดกลิ่นนั้นได้ ดังนั้น หากจำเป็นต้องรับประทานผักผลไม้ในช่วงนี้ ควรหลีกเลี่ยงกระเทียมหรือผักผลไม้ที่มีกลิ่นแรงหรือกลิ่นฉุน เช่น เครื่องเทศต่างๆ เป็นต้น
5.ไม่ควรกินยาลดความอ้วนในช่วงให้นม
ยาลดความอ้วนในปัจจุบัน มักจะมีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ ซึ่งจะส่งผลกระทบในการกดภูมิคุ้มกันต่างๆ ในร่างกาย ทำให้ปริมาณน้ำนมอาจจะลดลงได้ ดังนั้น คุณแม่จึงควรหลีกเลี่ยงการลดน้ำหนักในช่วงให้นมด้วยวิธีกินยาลดน้ำหนัก แต่หันมาลดการกินแป้ง ไขมัน โดยกินผักผลไม้เป็นหลักแทนจะดีกว่า
6.หลีกเลี่ยงการทาครีมบริเวณหน้าอกในช่วงให้นม
เนื่องจากกลิ่นของครีมต่างๆ นั้นที่ทาบริเวณหน้าอกนั้น อาจจะสัมผัสโดนตัวของลูกขณะให้นม แล้วเกิดอาการแพ้ได้ หรืออาจจะส่งกลิ่นรบกวนประสาทสัมผัสของลูกได้
ทั้งหมดนี้คือข้อปฏิบัติหลักๆ ในการดูแลลูกน้อยในช่วงให้นมที่คุณแม่ลูกอ่อนควรทราบ เพื่อให้ลูกน้อยของคุณได้รับสารอาหารจากน้ำนมอย่างเต็มที่ และเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตน้ำนมของตัวคุณแม่เองด้วย