ส่องวิธีกำจัดและป้องกันการเป็นเหา!

ส่องวิธีกำจัดและป้องกันการเป็นเหา!

ส่องวิธีกำจัดและป้องกันการเป็นเหา!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การเป็นเหาสามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย แต่พบบ่อยในเด็กผู้หญิงวัยเรียน อายุระหว่าง 3-12 ปี ซึ่งเกิดจากการสัมผัสและใกล้ชิดกับคนที่เป็นเหา ทำให้เหาติดต่อมาทางเส้นผม หรือการสัมผัสใกล้ชิดโดยตรง เช่น ใช้หวี ไดร์เป่าผม หมวก หรือหมอนร่วมกันนั่นเอง โดยลักษณะอาการของคนเป็นเหาคือมักจะคันศีรษะ เป็นรอยแดง สะเก็ด รอยแกะเกา หรือเป็นผื่นตุ่มแดงบนศรีษะ อาจมีไข้ต่ำๆ หรือต่อมน้ำเหลืองที่คอโต ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่สามารถพบได้ ได้แก่ การอักเสบและติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน ซึ่งถ้าเป็นเหาก็ต้องรีบรักษาหรือกำจัดออกไป หากรุนแรงควรพบแพทย์ผิวหนัง

 

วิธีกำจัดเหาที่ถูกต้อง

ใช้ใบยอ
เอาใบยอสดมาล้างให้สะอาด คัดเอาจำนวนตามต้องการ จากนั้นหั่นใบยอหยาบๆ และตำให้ละเอียด บีบคั้นโดยใช้ผ้าขาวบางกรองเอาเฉพาะน้ำใบยอออกมา และนำไปใส่ขวดเปล่าแล้วใช้สระผมวันละครั้ง สระได้ 2 วันแล้วให้ใช้หวีเสนียดสางเส้นผม จะพบว่ามีตัวเหาที่ตายติดออกมาย ให้สางผมจนเหาหมดจะหายได้ในที่สุด


ใช้ใบน้อยหน่า

- วิธีที่ 1 นำใบน้อยหน่า 15 – 20 ใบ ตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาวหรือแอลกอฮอล์ล้างแผลพอแฉะ คั้นเอาแต่น้ำมาทาให้ทั่วศรีษะ และใช้ผ้าโพกไว้ 10 นาที และใช้หวีเสนียดสางออก
- วิธีที่ 2 บดเมล็ดน้อยหน่ากับน้ำมะพร้าว ในอัตราส่วน 1 : 2 กรองเอาน้ำ ทาให้ทั่วศรีษะ ใช้ผ้าโพกไว้ 1 – 2 ชั่วโมง ข้อควรระวัง คือ อย่าให้น้ำยาเข้าตา เพราะจะทำให้เยื่อบุตาอักเสบ


ใช้ยาฆ่าเหา
- ยาฆ่าเหาชนิดทา วิธีใช้คือทายาลงบนผมที่แห้ง 2 ครั้ง ในระยะเวลาห่างกัน 1 สัปดาห์
- ในส่วนยาฆ่าเหาชนิดกิน ให้ประสิทธิภาพในการรักษาที่ดี แต่ไม่แนะนำให้ใช้ในเด็ก น้ำหนักตัวน้อยกว่า 15 กิโลกรัม หญิงให้นมบุตรและหญิงตั้งครรภ์


วิธีป้องกันไม่ให้เป็นเหา

- ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่นหรือผู้ที่เป็นเหา โดยเฉพาะหวี ที่แนะนำให้ล้างในน้ำร้อนอุณหภูมิ 65 องศาเซลเซียส หรือเคลือบด้วยยาฆ่าเหานาน 15 นาที
- รักษาความสะอาดของใช้ส่วนตัวอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า หมวก ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน หรือผ้าห่ม หมั่นซักด้วยน้ำร้อนและใช้ความร้อนทำให้แห้ง
- สระผมเป็นประจำหรืออย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
- ไม่อยู่ใกล้หรือสัมผัสกับผู้อื่น หากทราบว่าผู้อื่นหรือตนเองเป็นเหา
- ควรตัดเล็บให้สั้น ไม่แคะ แกะ เกา บริเวณที่เป็นเหา เพราะอาจทำให้ติดเชื้อซ้ำได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook