กุมารแพทย์ เตือน เด็กเล็กควรหลีกเลี่ยง น้ำประปาเค็ม

กุมารแพทย์ เตือน เด็กเล็กควรหลีกเลี่ยง น้ำประปาเค็ม

กุมารแพทย์ เตือน เด็กเล็กควรหลีกเลี่ยง น้ำประปาเค็ม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กุมารแพทย์ เตือน วิกฤติภัยแล้งทำน้ำประปาเค็ม กระทบกลุ่มเสี่ยง คนเป็นโรคไต หัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้สูงอายุ และเด็กเล็ก คาดว่าจะเค็มยาวนานถึงพฤษภาคม 2563

หลังจากที่มีข่าว น้ำประปาเค็ม ในบางพื้นที่ของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เนื่องจากภาวะน้ำแล้งและน้ำทะเลหนุนสูง ทำให้รสชาติน้ำประปามีรสเค็ม จนทำให้หลายคนเกิดความกังวล โดยเฉพาะแม่ๆ ที่มีลูกเล็กและยังไม่รู้จะป้องกันลูกอย่างไร 

Sanook Women มีคำแนะนำจาก ผศ. นพ. วรวุฒิ เชยประเสริฐ กุมารแพทย์ทั่วไป และกุมารแพทย์เฉพาะทางโลหิตวิทยา รพ.นครธน ได้โพสต์ข้อความผ่านเพจ ลี้ยงลูกตามใจหมอ เกี่ยวกับข้อควรระวัง

ดังข้อความต่อไปนี้

#น้ำประปาเค็ม
#เด็กเล็กควรหลีกเลี่ยง

ข้อมูลที่ควรทราบ 2 อย่าง คือ

1. เด็กเล็ก โดยเฉพาะต่ำกว่า 1 ปี ไตยังทำงานไม่ดีเท่าผู้ใหญ่ นี่เป็นเหตุว่าเราไม่ควรปรุงรสใดๆ ในอาหารโดยเฉพาะรสเค็ม เพราะไตยังขับโซเดียมได้ไม่ดีเท่าผู้ใหญ่ ในขณะเดียวกันเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือนก็ไม่ควรดื่มน้ำเปล่า เพราะอาจเกิดภาวะน้ำเป็นพิษ หรือ Water Intoxication ได้ (ทั้งสองเรื่องเขียนไว้หมดแล้วในเพจ หาย้อนอ่านได้เลยครับ)

2. ช่วงนี้จนอาจลามไปถึงเดือน พ.ค. 2563 เป็นฤดูแล้งที่มีปัญหาภัยแล้งชัดเจน ทำให้บางพื้นที่น้ำทะเลหนุนสูง น้ำประปาที่ผลิตได้มีความเค็มสูงขึ้นกว่าปกติ ... เรียกภาษาชาวบ้านว่าน้ำประปา เป็น #น้ำกร่อย ... มีปริมาณโซเดียมสูงกว่าปกติ

แม้ว่าการประปานครหลวงพยายามแก้ไขด้วย การสูบน้ำดิบในช่วงเวลาที่น้ำทะเลหนุนให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ก็ตาม แต่ยังไงก็ยังอาจจะเค็มได้กว่าปกติ ตามมาตรฐานน้ำดื่มหากค่าความเค็มเกิน 0.3g/l หรือ 300 ppm. จะเริ่มเป็นน้ำกร่อย (มาตรฐานน้ำดื่ม องค์การอนามัยโลก : WHO)

กลุ่มเสี่ยงที่สุดที่ไม่ควรกินเค็ม ก็คือ คนเป็นโรคไต หัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้สูงอายุ และเด็กเล็ก ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำประปาช่วงนี้ และแนะนำให้ใช้น้ำกรองผ่านระบบ RO (Reverse Osmosis) เครื่องกรองน้ำปกติไม่แก้ปัญหาความเค็มนะครับ นอกจากนี้ควรลดการเติมเครื่องปรุงรสให้น้อยลงในการใช้น้ำปรุงอาหารด้วย

เด็กนมแม่ แฮปปี้มากช่วงนี้

เด็กเล็กที่กินนมผงต้องปรับตัวหน่อยครับ หากทำได้ควรชงนมจากน้ำขวดหรือน้ำที่ผ่านการกรองแบบ RO มาต้มสุกจะดีที่สุดในการเตรียมนม เพื่อลดโอกาสได้รับโซเดียมสูงเกินไปสู่ร่างกายนะครับ (ห้ามใช้น้ำแร่ในการชงนมโดยเด็ดขาดด้วย และน้ำที่ใช้ชงนมต้องผ่านการต้มทุกครั้งเพื่อฆ่าเชื้อนะครับ)

ทิ้งท้ายให้คิด

น้ำเค็มควรเลี่ยงหนี แต่สำหรับตัวพี่
แม้จะเค็มไปนิด แค่หนูก็คิดจะกินพี่อยู่ดี ...

น้ำไหนไม่กร่อย มุขพี่ล่ะกร๊อยกร่อย 555

#หมอวินเพจเลี้ยงลูกตามใจหมอ

เรื่องของวิชาการเราเอาไว้ท้ายสุด 555 มีการศึกษาการนำน้ำที่มีโซเดียมสูงมาชงนมผง เปรียบเทียบกันกับนมแม่ (32 มก./ลิตร และ 196 มก./ลิตร) พบว่า การที่ใช้น้ำที่มีโซเดียมสูงทำให้ความดันโลหิตของทารกแรกเกิดสูงขึ้นกว่าปกติได้ อ่านเพิ่มเติมได้ที่

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/m/pubmed/11821704/

>>  รู้จัก “เครื่องกรองน้ำแบบ RO” คืออะไร ทำงานอย่างไร และทำให้น้ำสะอาดแค่ไหน

>> กปน.เร่งแก้ไข "น้ำประปา" รสชาติผิดปกติ แนะผู้ป่วยโรคไต-โรคหัวใจ ควรหลีกเลี่ยง

>> เตือนช่วงนี้ “น้ำประปาเค็ม” มี “โซเดียม” สูง ผู้ป่วยโรคไตควรเลี่ยง

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook