ภาวะตับแข็งในเด็กเล็ก สาเหตุ อาการ และวิธีรับมืออย่างถูกต้อง

ภาวะตับแข็งในเด็กเล็ก สาเหตุ อาการ และวิธีรับมืออย่างถูกต้อง

ภาวะตับแข็งในเด็กเล็ก สาเหตุ อาการ และวิธีรับมืออย่างถูกต้อง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

บ่อยครั้งเรามักเข้าใจว่าโรคตับแข็งเป็นโรคที่เกิดขึ้นในผู้ใหญ่ที่มักดื่มแอลกอฮอล์ แต่แท้จริงแล้ว โรคตับแข็งในเด็กเล็กก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน แถมเป็นหนึ่งในโรคร้ายที่อันตราย ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรจะรู้ถึงสาเหตุและวิธีสังเกตอาการ เพื่อปกป้องลูกน้อยให้ปลอดภัยจากโรคนี้นั่นเอง


ภาวะตับแข็งในเด็กเกิดขึ้นได้อย่างไร?

อาการตับแข็งในเด็ก อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้


1.ไวรัสตับอักเสบ
เด็กเล็กสามารถรับเชื้อไวรัสตับอักเสบผ่านทางคุณแม่ที่มีพาหะของโรคอยู่ในตัว หรืออาจรับเชื้อจากบุคคลอื่นที่ปนเปื้อนมาในอาหาร และสิ่งของที่ใช้ร่วมกัน

2.โรคทางพันธุกรรม
ร่างกายของเด็กอาจมีภาวะบกพร่องทางการใช้คาร์โบไฮเดรตบางประเภท หรือเกิดการผิดปกติของการสะสมธาตุเหล็กและทองแดงมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะตับแข็งขึ้นได้ง่าย

3.ท่อน้ำดีทำงานผิดปกติ
เด็กเล็กอาจมีภาวะร่างกายไม่สมบูรณ์ของท่อน้ำดีตั้งแต่แรกเกิด ทำให้ท่อน้ำดีตีบตัน ไม่สามารถขับของเสียออกจากร่างกายได้ตามปกติ ส่งผลให้ของเสียตกค้างสะสมจนเกิดภาวะตับแข็ง เพราะตับทำงานหนักเกินจำเป็น บางรายอาจเกิดตับล้มเหลวเฉียบพลันได้เลย

4.ได้รับยาเกินขนาด
หากเด็กเล็กได้รับยาเกินขนาด โดยเฉพาะประเภทยาแก้ปวด ลดไข้ พาราเซตามอล จะทำให้สะสมในตับ จนเกิดภาวะตับแข็ง บ่อยครั้งที่เราพบว่า ลูกไม่ได้รับยาเองโดยตรง แต่ผ่านมาจากแม่สู่ลูกขณะตั้งครรภ์ในกรณีที่คุณแม่ทานยาเป็นจำนวนมาก ก็ส่งผลเสียสะสมตั้งแต่ในครรภ์ จนสะท้อนออกมากับลูกตอนโตได้เช่นกัน


อาการของภาวะตับแข็งในเด็ก

ให้คุณแม่หมั่นสังเกต หากลูกมีอาการเหล่านี้ ให้รีบรักษาอย่างทันท่วงที เพราะอาการตับแข็งมักไม่แสดงออกในระยะแรก แต่จะเกิดขึ้นเมื่อภาวะตับล้มเหลวหรือความดันโลหิตสูง ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายได้เป็นอย่างมาก

1.มีเลือดคั่งตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า มีเลือดสีม่วงอมแดงปรากฏตามร่างกายโดยจะเห็นได้ชัดบริเวณสะดือ

2.เส้นผมและขนตามร่างกายมักขาดหลุดร่วง

3.ไข้สูงและอาเจียนเป็นเลือด

4.ท้องโตและขาทั้งสองข้างจะใหญ่ขึ้นจากการบวมน้ำ

5.เกิดผื่นคันตามผิวหนัง

6.ตัวเหลือง ตาเหลือง เพราะการสะสมน้ำดีที่มากเกินไป

7.กล้ามเนื้อกระตุก ร่างกายสั่นเทาผิดปกติ

8.งอแง เบื่ออาหาร ซูบผอม

9.อุจจาระมีสีดำคล้ำ มีเลือดปะปน


การรับมือภาวะตับแข็ง

หากลูกน้อยมีอาการของโรคดังที่กล่าวมา คุณแม่ควรรีบพาไปพบแพทย์อย่างเร็วที่สุด และดีที่สุดก็คือการป้องกันไม่ให้ลูกป่วยเป็นตับแข็ง ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ค่ะ

1.ตรวจเช็คลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิดให้ได้รับวัคซีนป้องกันอย่างครบถ้วน และสม่ำเสมอตามระยะที่กำหนด

2.ทำความสะอาดภาชนะใส่อาหาร ล้างฆ่าเชื้อด้วยน้ำร้อน และให้ลูกทานอาหารปรุงสุกทุกครั้ง

3.สอนทักษะเรื่องการดื่มแอลกอฮอล์ตามวัยที่ควร เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียในอนาคต

ทุกโรคร้ายสามารถเกิดขึ้นได้ แต่ไม่ต้องกังวลใจ เพียงคุณแม่หมั่นสังเกตลูกน้อยอยู่เสมอ เมื่อพบความผิดปกติก็จะทำการรักษาให้ลูกน้อยหายเป็นปกติและปลอดภัยได้ทันนั่นเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook