ฝีมะม่วง โรคร้ายจากการมีเพศสัมพันธ์
ในสังคมปัจจุบัน พบว่า คนส่วนใหญ่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์กันเยอะมาก หากคุณคิดจะรักสนุกแบบไม่ผูกพันธ์และไม่รู้จักป้องกันระวังเสี่ยงติดโรคและอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ วันนี้ Helloคุณหมอ นำอีกหนึ่งโรคที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์มาฝากกันค่ะ นั้นคือ โรคฝีมะม่วง (Lymphogranuloma Venereum : LGV)เรามาทำความรู้จักเพื่อป้องกันไว้ก่อนายเกินแก้กันค่ะ
ฝีมะม่วง (Lymphogranuloma Venereum : LGV) คืออะไร
ฝีมะม่วง (Lymphogranuloma venereum) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง โรคนี้มีเกิดจากเชื้อแบคทีเรียคลาไมเดีย ทราโคมาติส (Chlamydia trachomatis bacterium) แบคทีเรียนี้จะผ่านเข้าสู่ผิวหนังทำให้เกิดแผลที่อวัยวะเพศ ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบจะบวมโตติดกันเป็นก้อนฝีขนาดใหญ่ จะรู้สึกเจ็บปวดมาก โรคนี้ส่วนใหญ่เกิดการมีรักร่วมเพศระหว่างชายกับชาย การไม่สวมถุงยางอนามัย และการมีคู่นอนหลายคน เป็นต้น
อาการของโรคฝีมะม่วง เป็นอย่างไร
อาการของโรคแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 Primary LGV (ระยะแผล) เริ่มละแผลจะหายไปได้เองภายใน 2-3 วัน ซึ่งเพราะไม่มีอาการเจ็บหรือปวดนี้เอง จึงทำให้ผู้ป่วยมักไม่ทันได้สังเกตเห็น
ระยะที่ 2 Secondary LGV (ระยะฝี) ต่อมาต่อมน้ำระยะแรกผู้ป่วยจะมีตุ่มนูน ตุ่มใส หรือแผลขนาดเล็ก ตื้น ๆ เกิดขึ้นที่อวัยวะเพศก่อน หรืออาจเกิดขึ้นที่อัณฑะหรือทวารหนักก็ได้ โดยที่ไม่มีอาการเจ็บหรือปวด น้ำเหลืองที่ขาหนีบจะบวมโตติดกันเป็นก้อนฝีขนาดใหญ่และเจ็บมากจนอาจเดินไม่ได้ ตรงกลางจะเป็นร่องของพังผืดคล้ายร่องของมะม่วงอกร่อง จึงเรียกโรคนี้ว่า “ฝีมะม่วง” ซึ่งอาจเป็นเพียงข้างเดียวหรือเป็นทั้งสองข้างก็ได้ และผิวหนังบริเวณที่เป็นฝีจะมีอาการอักเสบ มีลักษณะบวม แดง ร้อนร่วมด้วย ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดฝีมากจนเดินไม่ถนัด ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ตาอักเสบ ปวดข้อ ผื่นขึ้นตามตัว ถ้าไม่ได้รับการรักษา ฝีอาจยุบหายไปได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์ หรือเป็นเดือน แต่บางรายฝีอาจแตกเป็นรูหลายรูและมีหนองไหลจนกลายเป็นแผลเรื้อรังได้
ระยะที่ 3 Tertiary LGV ระยะนี้อาจเกิดขึ้นหลังจากได้รับเชื้อมานานถึง 20 ปี ผู้ป่วยจะมีอาการของลำไส้อักเสบ มีอาการคันก้น มีหนองและเลือดออกจากทวารหนัก ปวดเบ่ง อุจจาระลำเล็กลง น้ำหนักตัวลด และอาจมีการตีบตันของทวารหนักหรือทวารหนักมีก้อนเหมือนริดสีดวง วิธีการรักษาโรคฝีมะม่วง
การรักษาโรคฝีมะม่วงใช้วิธีในการรักษา 2 วิธี ดังนี้
การรักษาด้วยการกินยา
แพทย์จะจ่ายยาปฏิชีวนะ อะซิโธรมัยซิน (Azithromycin) แก่ผู้ป่วยโรคฝีมะม่วง โดยรับประทานอิริโธรมัยซิน 500 มก.วันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 20-30 วัน
การผ่าตัด
ผู้ป่วยฝีมะม่วงที่เกิดก้อนฝีหรือต่อมน้ำเหลืองบวมโตอาจต้องเจาะผิวเอาของเหลวในฝีออกมา เพื่อบรรเทาอาการของโรคให้ทุเลาลง ทั้งนี้ ผู้ป่วยบางรายที่ลำไส้ตรงตีบหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ อย่างรุนแรง จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด วิธีป้องกัน ฝีมะม่วง หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรค ซึ่งจะเป็นวิธีการป้องกันการเกิด โรคฝีมะม่วง ได้ดีที่สุด หลีกเลี่ยงการเที่ยวกลางคืนหรือการสำส่อนทางเพศ และถ้าจะหลับนอนกับคนที่สงสัยว่าเป็นโรคก็ควรจะสวมถุงยางอนามัยด้วยทุกครั้ง
ควรรักษาความสะอาดของอวัยวะเพศ (ฟอกล้างด้วยสบู่) หลังการร่วมเพศทันทีทุกครั้ง (การดื่มน้ำก่อนร่วมเพศและถ่ายปัสสาวะทันทีหลังร่วมเพศ หรือการฟอกสบู่ทันทีหลังร่วมเพศ อาจช่วยลดการติดเชื้อลงได้บ้าง แต่ไม่ใช่ว่าจะได้ผลทุกราย) การกินยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันโรคภายหลังร่วมเพศอาจได้ผลบ้าง แต่ต้องใช้ยาชนิดและขนาดเดียวกันกับที่ใช้รักษา ซึ่งดูแล้วจะไม่คุ้ม สู้รอให้มีอาการแสดงออกมาแล้วค่อยรักษาไม่ได้ หมั่นออกกำลังกายและรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอด้วยการรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ)
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด