กุ้งแช่น้ำปลา เมนูสุดโปรด กับอันตรายที่คุณไม่เคยรู้
กุ้งแช่น้ำปลา เป็นอีกหนึ่งเมนูสุดแซ่บที่ถูกใจใครหลายๆคน ด้วยรสชาติของน้ำยำที่เผ็ดเปรี้ยวอมหวานนำมาราดบนตัวกุ้งสด แล้วโรยหน้าด้วยกระเทียมหั่นบางๆตามด้วยใบสะระแหน่และมะระกินคู่กัน แต่รู้ไหมคะว่า ถึงแม้ว่ารสชาติจะอร่อยแค่ไหน แต่ถ้าหากคุณกินแบบนี้บ่อยจนเกินไปหรือไม่ถูกสุขอนามัยแล้ว ย่อมส่งผลเสียต่อร่างกายเช่นกัน แต่จะส่งผลเสียอย่างไรบ้างนั้น เราไปดูกันเลยค่ะ
กุ้งแช่น้ำปลา กับอันตรายที่คุณไม่เคยรู้
รู้หรือไม่คะว่าการกินกุ้งแช่น้ำปลา ซึ่งเป็นอาหารดิบมีความสุ่มเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อโรค ซึ่งเมนูนี้นอกจากจะเสี่ยงท้องเสีย ท้องร่วงจากการปรุงที่ไม่สะอาดแล้ว ในกุ้งสดๆ ยังมีการเชื้อก่อโรคอย่างเชื้อวิบริโอ พาราฮิโมไลติคัส (Vibrio parahaemolyticus) ซึ่งเป็นเชื้อที่พบได้ตามธรรมชาติในสิ่งแวดล้อมต่างๆ ตามชายฝั่งทะเล ในน้ำทะเล และตามตะกอนโคลนตมในทะเล อันตรายของเชื้อนี้ทำให้เกิดทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง ในบางรายอาจเกิดอาการตะคริวในช่องท้อง ปวดหัว อาเจียนหรือมีไข้
ระวัง 5 ความเสี่ยงจากการกิน กุ้งแช่น้ำปลา
แม้ว่าในกุ้งจะมีสารอาหารที่มีประโยชน์จำนวนมากก็ตาม แต่การรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปนั้นย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เรามาดู 5 ความเสี่ยงจากการกินกุ้งแช่น้ำปลากันคะว่ามีอะไรบ้าง
โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร
เมื่อเราทานอาหารที่มันไม่สะอาด และไม่สุก สิ่งที่ตามมาให้เห็นชัดมากที่สุดก็คือ เราจะติดเชื้อโรคในทางเดินอาหาร ทำให้บางคนถึงกับไอเป็นเลือดได้ หรือว่าเสียชีวิตก็ได้เช่นกัน ถ้าเชื้อเหล่านั้นมันเข้าสู่กระแสเลือกของเรา ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมากๆ
โรคแอนแทรกซ์
หากกินเนื้อที่มีเชื้อนี้เข้าไป จะเกิดการติดแอนแทรกซ์ในทางเดินอาหาร เกิดอาการอ้วกเป็นเลือด ถ่ายท้องรุนแรง ในรายที่เป็นมากก็ติดเชื้อในกระแสเลือดถึงแก่ความตายได้
อาหารเป็นพิษ
โรคอาหารเป็นพิษ มักเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วใน ระยะเวลาอันสั้นภายหลังจากรับประทานอาหาร อาการของโรคจะเกิดขึ้น ภายใน 1 ชั่วโมง จนถึง 8 วัน หลังการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ เบื่ออาหาร และอุจจาระร่วง
พยาธิใบไม้ในปอด
การกินกุ้งดิบ ทำให้เกิดโรคพยาธิใบไม้ในปอด หากไม่รักษาอาจ ทำให้พยาธิขึ้นสมอง มีอาการชัก สายตาผิดปรกติ มีอาการบวมเหมือนคนเป็นโรคพยาธิตัวจี๊ด
โรคอุจจาระร่วง
การกินกุ้งดิบ อาจเสี่ยงเป็น โรคอุจจาระร่วง โดยจะมีอาการ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลวบ่อยครั้ง อาจมีไข้ ส่วนการดูแลเบื้องต้น ให้ดื่มน้ำละลายผงน้ำตาลเกลือแร่ (โอ อาร์ เอส) เพื่อป้องกันการขาดน้ำหากอาการไม่ดีขึ้น
กินกุ้งแช่น้ำปลาอย่างไร ให้ห่างไกลโรค เลือกซื้อกุ้งที่สดจริงๆ ตัวไม่นิ่ม ไม่เละ ล้างทำความสะอาดดีๆ ผ่าหลังดึงเส้นดำออก ล้างอีกครั้งด้วยน้ำโซดาแช่เย็นกลิ่นคาวคงหายไปบ้าง ถ้ายังมีกลิ่นหลงเหลือรสชาติของน้ำจิ้มจะเป็นตัวช่วยได้ เนื่องจากมีส่วนผสมที่สามารถลดกลิ่นคาว
จะเห็นได้ว่านอกจากความหวานอร่อยที่เป็นธรรมชาติของกุ้งแล้วเรื่องของคุณค่าทางโภชนาการก็มีไม่น้อยเช่นกัน ดังนั้นหากอยากรับประทานกุ้งให้ได้ประโยชน์สูงสุดก็ควรรับประทานอย่างพอเหมาะ ใส่ใจในเรื่องของกรรมวิธีการปรุงเพียงเท่านี้เมนูกุ้งของทุกท่านก็จะเป็นอีกหนึ่งเมนูที่ทั้งอิ่มทั้งอร่อยและได้สุขภาพอีกด้วย
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด