4 โรคแทรกซ้อนตอนท้องที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ เป็นแล้วอาจเป็นได้อีก

4 โรคแทรกซ้อนตอนท้องที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ เป็นแล้วอาจเป็นได้อีก

4 โรคแทรกซ้อนตอนท้องที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ เป็นแล้วอาจเป็นได้อีก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ช่วงที่กำลังตั้งครรภ์ คุณแม่หลายท่านอาจจะประสบกับปัญหาโรคที่เกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ หรือที่เรียกกันว่าโรคแทรกซ้อน เพราะฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงเร็วและระบบภายในต้องรองรับอีกหนึ่งชีวิตที่อยู่ภายในครรภ์ จึงทำให้คุณแม่อาจเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้ง่าย ซึ่งโรคเหล่านี้ไม่ได้มากวนใจแค่เฉพาะช่วงการตั้งครรภ์เท่านั้น แต่อาจส่งผลกระทบในช่วงหลังคลอด พร้อมส่งผลเสียยาวนานหรืออาจจะกลับมาเป็นอีกครั้งถ้ามีการตั้งครรภ์ใหม่ ดังนั้นลองมาดู 4 โรคที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม ดังนี้

1.ครรภ์เป็นพิษ

ปัญหาเรื่องครรภ์เป็นพิษจะเกิดขึ้นกับท้องสาวหรือคุณแม่ท้องแรก โดยมักจะเกิดกับคุณแม่ที่มีอายุน้อยเกินไปหรือมีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ซึ่งภาวะครรภ์เป็นพิษนั้นส่งผลกระทบต่อเด็กค่อนข้างมาก และอาจจะทำให้ทั้งคุณแม่กับลูกเสียชีวิตได้ ทั้งยังส่งผลเรื่องสุขภาพหลังคลอด ที่ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโรคหัวใจและมีภาวะช็อกแบบเฉียบพลันได้มากกว่าคนปกติเป็นเท่าตัว ดังนั้น จึงควรตรวจสอบสุขภาพของตัวเองทุกปีและเข้าพบแพทย์เมื่อเกิดปัญหาผิดปกติที่เกี่ยวกับหัวใจและปัญหาสุขภาพในด้านอื่นๆ อยู่เสมอ

2.การเจริญเติบโตช้า

สำหรับคุณแม่ที่ประสบปัญหาเรื่องภาวะบุตรในครรภ์เติบโตช้าผิดปกติ นอกจากการคลอดที่จะทำให้เด็กออกมาตัวเล็ก และเสี่ยงต่อพัฒนาการช้าไปจนถึงการเสียชีวิตได้แล้ว ยังส่งผลหลังการคลอดที่จะทำให้คุณแม่เกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงถือว่าเป็นอีกหนึ่งโรคระหว่างการตั้งครรภ์ที่น่ากลัวเลยทีเดียว

3.เบาหวานขณะตั้งครรภ์

ช่วงตั้งครรภ์คุณแม่จะเสี่ยงต่อภาวะต้านอินซูลิน จึงทำให้เกิดเป็นปัญหาน้ำตาลในเลือดสูงและกลายเป็นโรคเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ได้มากที่สุด ซึ่งโรคเบาหวานนี้จะส่งผลเรื้อรังหลังคลอดได้ง่าย เพราะแม้ว่าหลังคลอดแล้วระดับน้ำตาลในเลือดของคุณแม่จะลดลง แต่กลับมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้มากกว่าคนทั่วไปถึง 7 เท่า ดังนั้นจึงควรดูแลสุขภาพของคุณแม่ให้ดีและควบคุมน้ำหนักกับน้ำตาลให้มาก เพื่อที่จะลดความเสี่ยงต่อปัญหาโรคเบาหวานในอนาคต

4.ความดันโลหิตสูง

เมื่อเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานได้ ก็ย่อมเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูงได้เช่นกัน โดยปัจจัยเสี่ยงของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่จะมีปัญหาต่อความดันจะเป็นเรื่องของอายุการตั้งครรภ์และการคลอดบ่อยครั้ง รวมไปถึงการมีลูกแฝด นอกจากนี้ยังอาจเกิดได้จากกรรมพันธุ์ ยิ่งถ้าคุณมีญาติเป็นความดันโลหิตสูงหลายคน คุณยิ่งเสี่ยงต่อภาวะนี้เป็นอย่างมาก ซึ่งถ้าเป็นในช่วงตั้งครรภ์และความดันขึ้นสูงก็มีสิทธิ์เสี่ยงแท้งได้ง่าย ที่สำคัญคือคุณแม่เองมีสิทธิ์เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้มากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า ดังนั้นจึงไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจความดันและรักษาอย่างต่อเนื่อง

ถ้าคุณแม่พบว่าตัวเองกำลังเผชิญกับปัญหาเรื่องโรคเหล่านี้ คุณควรเข้าพบแพทย์และทำการรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพในอนาคต

               

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook