รู้เท่าทันโรคริดสีดวงทวาร

รู้เท่าทันโรคริดสีดวงทวาร

รู้เท่าทันโรคริดสีดวงทวาร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ริดสีดวงทวาร เป็นโรคที่พบบ่อยทั้งในเพศชายและเพศหญิง ริดสีดวงทวารเป็นเนื่องจากมีภาวะที่หลอดเลือดดำที่มีอยู่ตามธรรมชาติของคนทั่วไป ในบริเวณทวารหนักเกิดการปูดพองเป็นหัว เรียกว่า หัวริดสีดวง แล้วมีการปริแตกของผนังหลอดเลือดขณะเบ่งถ่ายอุจจาระ ทำให้มีเลือดออกเป็นครั้งคราว อาจพบเป็นเพียงหัวเดียวหรือหลายหัวก็ได้ โรงพยาบาลธนบุรี ให้ความรู้แนะนำเพื่อรู้ทันโรคริดสีดวงทวาร




สาเหตุของโรคริดสีดวงทวาร เกิดจากการเบ่งถ่ายอุจจาระ ท้องผูก การนั่งนานๆ ภาวะตั้งครรภ์ หรืออาจส่งผลมาจากน้ำหนักตัวมาก การรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ไอเรื้อรัง ตับแข็ง ต่อมลูกหมากโตและผู้ที่มีเนื้องอกในช่องท้อง เป็นต้น

ลักษณะอาการของผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวาร ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดสด คือ จะถ่ายอุจจาระออกมาก่อนจากนั้นจะมีเลือดสดๆ ไม่มีมูกเลือดปน มีก้อนที่ยื่นออกมาจากทวารขณะที่เบ่งอุจจาระ คลำได้ก้อนที่บริเวณทวารหนัก เจ็บและคันบริเวณทวารหนัก

สำหรับวิธีการรักษาริดสีดวงทวาร

ในปัจจุบัน มีวิธีการรักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก

- รักษาโดยการให้ยาเหน็บที่ทวารหนักเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและสร้างความแข็งแรงของผนังหลอดเลือด อาจใช้ร่วมกับยาระบายได้
- ฉีดยาที่หัวริดสีดวงทวารเพื่อให้เกิดพังพืดรัดหัวริดสีดวงและฝ่อได้เอง มักใช้ในกรณีที่หัวริดสีดวงมีเลือดออกและหัวริดสีดวงที่ย้อยไม่มาก
- ยิงยางรัดหัวริดสีดวง(Baron Gun) จะทำให้ริดสีดวงนั้นฝ่อและหลุดออกไปเองประมาณ 7 วัน
- รักษาโดยการผ่าตัด มักใช้ในระยะที่ 3,4 และริดสีดวงที่มีการอักเสบ

อาการหลังผ่าตัดริดสีดวงทวาร อาจมีเลือดออกได้ตั้งแต่หลังผ่าตัดจนถึงประมาณวันที่ 10 ของการผ่าตัดปกติจะมีเลือดออกไม่มากและจะหยุดเอง ถ้ามีเลือดออกมากให้มาพบแพทย์ หรือมีน้ำเหลืองซึ่งที่ขอบทวาร 4-6 สัปดาห์ ในกรณีที่ไม่ได้เย็บปิดแผล และบริเวณปากทวารหนักอาจบวมเป็นติ่ง แนะนำให้นั่งแช่ก้นด้วยน้ำอุ่น อาจถ่ายอุจจาระไม่ออกในระยะแรก

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร เน้นการรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ หรือ ยาเพิ่มกากใย ดื่มน้ำวันละประมาณ 6-8 แก้ว หลีกเลี่ยงเครื่องดื่ม ชา กาแฟ ออกกำลังกายสม่ำเสมอวันละ 30 นาทีถึง 1 ชม. อย่างน้อย 2-3 ครั้ง ต่อ สัปดาห์ ฝึกขับถ่ายอุจจาระสม่ำเสมอและขับถ่ายเป็นเวลาทุกวัน ผู้ที่มีอาการท้องผูกเป็นประจำให้สังเกตว่าอาหารชนิดใดที่รับประทานแล้วช่วยให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้นให้รับประทานอาหารชนิดนั้นเพิ่มขึ้นเพื่อส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระได้ง่ายขึ้น นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ติดต่อกันอย่างน้อย 6-8 ชม. ต่อวัน และหลีกเลี่ยงการนั่งหรือยืนนานๆให้เปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ


ข้อมูลโดยศูนย์โรคระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลธนุบรี

ภาพประกอบจาก http://www.photos.com/

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook