รับมือด้านความปลอดภัยทางอาหารอย่างไร ในช่วงการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19

รับมือด้านความปลอดภัยทางอาหารอย่างไร ในช่วงการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19

รับมือด้านความปลอดภัยทางอาหารอย่างไร ในช่วงการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในช่วงเวลาที่ทั่วโลกเกิดความระส่ำระส่ายจากการระบาดใหญ่ของ เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดและมีการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จในหมู่ผู้บริโภค เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่เริ่มรักษาระยะห่างทางสังคมหรือ Social Distancing และบริษัทใหญ่ๆ หลายบริษัทเริ่มมีนโยบายให้ทำงานจากที่บ้าน สิ่งสำคัญในเวลานี้คือการทำคุณภาพชีวิตของตัวเองให้ดีเมื่อต้องอยู่บ้าน เลือกรับฟังข่าวสารจากแหล่งที่เชื่อถือได้เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีทางร่างกายและจิตใจของเรา ในทางหนึ่งนี่คือการที่เราจะสร้างภูมิคุ้มกันโรคไวรัสตัวใหม่ล่าสุดนี้และใช้ชีวิตอย่างมีสติ


คุณภาพชีวิตที่ดีที่บ้านประกอบไปด้วยการมีโภชนาการที่ดี การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และการออกกำลังกายเป็นประจำ หลายๆ คนเริ่มทำอาหารเองหรือสั่งอาหารมาที่บ้านมากขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารนอกบ้าน ผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่าการแพร่เชื้อของโรคโควิด-19 เกิดขึ้นได้จากคนสู่คนเท่านั้น[1] อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าให้มองข้ามความจำเป็นในการปฏิบัติตามสุขอนามัยส่วนบุคคลอย่างเข้มงวดในการจัดเตรียมอาหาร องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้

-          ใช้เขียงและมีดแยกต่างหากสำหรับเนื้อดิบและอาหารที่ปรุงสุกแล้ว
-          ล้างมือทุกครั้งระหว่างการเตรียมเนื้อดิบและอาหารที่ปรุงสุกแล้ว
-          ไม่ควรรับประทานสัตว์ป่วยหรือสัตว์ที่ตายจากโรค
-          ถึงแม้ในพื้นที่ที่มีการระบาดของไวรัส  วัตถุดิบเนื้อต่างๆ ยังสามารถรับประทานได้หากผ่านการปรุงสุกอย่างทั่วถึงและมีการจัดเตรียมอย่างถูกต้อง[2]


การมีโภชนาการที่ดีควรมีสัดส่วนของโปรตีนที่เหมาะสม นอกเหนือจากเนื้อสัตว์แล้วยังมีตัวเลือกอาหารอื่นๆ ที่มีโปรตีนสูง เช่น เต้าหู้ ชีส เห็ด ถั่ว ธัญพืชต่างๆ และปลา อาหารทะเลถือเป็นแหล่งโปรตีนสำหรับอนาคตของโลกเพราะมีกรรมวิธีการผลิตที่ยั่งยืนปล่อยก๊าซคาร์บอนออกมาน้อยกว่ากรรมวิธีการผลิตเนื้อสัตว์[3] ในบรรดาผู้ส่งออกอาหารสู่ประเทศไทย นอร์เวย์เป็นผู้นำตลาดอาหารทะเลโดยเฉพาะแซลมอนและฟยอร์ดเทราต์ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 87 จากมูลค่าการส่งออกกว่า 5.2 พันล้านบาท ในปี 2562 ที่ผ่านมา


สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) ได้ดำเนินการเพื่อตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นในการจัดส่งอาหารที่ปลอดภัย ยั่งยืน และมีคุณค่าทางโภชนาการท่ามกลางการระบาดของโรคโควิด-19 นอร์เวย์มีมาตรการที่เข้มงวดในการควบคุมการระบาดของโรคและในขณะเดียวกันยังให้ความมั่นใจว่าสายการผลิตและส่งออกอาหารซึ่งเป็นภาคการบริการที่สำคัญต่อสังคมจะดำเนินการต่อไปเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพได้ นอร์เวย์ส่งออกอาหารทะเลกว่าร้อยละ 95 ไปทั่วโลก หลายๆ ประเทศรวมถึงประเทศไทยเองต้องพึ่งอาหารทะเลจากนอร์เวย์เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดภายในประเทศ


เจ้าหน้าที่สาธารณสุขแนะนำให้บริโภคแซลมอนซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูงสัปดาห์ละครั้ง[4] แซลมอนจากนอร์เวย์ได้รับการรับรองว่าเป็นอาหารที่ปลอดภัยและมีประโยชน์ สามารถรับประทานแบบดิบ เช่น ซูชิและซาชิมิ ได้แม้ไม่ผ่านการแช่แข็ง การเพาะเลี้ยงแซลมอนจากนอร์เวย์เป็นไปตามกฎระเบียบที่เข้มงวดเพื่อความปลอดภัยด้านอาหารตามกฎหมายของสหภาพยุโรป นอร์เวย์มีการติดตามสารพิษตกค้างจากยาและสิ่งแวดล้อมในปลาที่เพาะเลี้ยงทุกๆ ปี และเลี้ยงดูแซลมอนด้วยอาหารแห้งที่ผ่านกรรมวิธีอบร้อนทำให้ปราศจากพยาธิ[5] แซลมอนจากนอร์เวย์ไม่เป็นพาหะ ผู้บริโภคไม่สามารถรับเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้จากการรับประทานแซลมอน[6]

สิ่งสำคัญที่เราต้องทำในช่วงเวลาวิกฤตแบบนี้คือตั้งสติให้ดี รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ก่อนลงมือทำอะไรก็ตาม เป็นที่เข้าใจได้หากหลายคนอาจมีความกังวลอยู่บ้างแต่อย่าตื่นตระหนก พยายามรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ นอนหลับให้เพียงพอ และออกกำลังกายอยู่เสมอเพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน หากต้องกักตุนอาหารเพื่อการอยู่บ้านให้เลือกวัตถุดิบคุณภาพสูงจากร้านค้าปลีกที่น่าเชื่อถือ มีบรรจุภัณฑ์ที่สะอาด ปลอดภัย จากแบรนด์และประเทศแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้เป็นหลัก

 
[1] https://www.efsa.europa.eu/en/news/coronavirus-no-evidence-food-source-or-transmission-route
[2] https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/advice-for-public
[3] www.oceanpanel.org/future-food-sea
[4] https://www.hi.no/en/hi/temasider/seafood/monitoring-seafood
[5] https://www.mattilsynet.no/language/english/fish_and_aquaculture/farmed_atlantic_salmon_and_rainbow_trout_are_safe_for_sushi_and_sashimi.31976
[6] https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/advice-for-public

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook