ลูกน้อยท้องอืด เกิดจากสาเหตุใด รับมืออาการนี้ได้อย่างไรบ้าง

ลูกน้อยท้องอืด เกิดจากสาเหตุใด รับมืออาการนี้ได้อย่างไรบ้าง

ลูกน้อยท้องอืด เกิดจากสาเหตุใด รับมืออาการนี้ได้อย่างไรบ้าง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โดยทั่วไปแล้ว สาเหตุของอาการท้องอืดในคนทั่วไป มักมีสาเหตุมาจากกระบวนการย่อยอาหารที่ทำงานไม่ปกติ เช่นเดียวกันกับในเด็กทารก เนื่องจากในเด็กทารกช่วง 3 เดือนแรกนั้นระบบย่อยอาหารยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ ถึงแม้จะมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตลอดเวลา แต่บางครั้งด้วยสภาพการไหลของน้ำนมที่อาจเร็วหรือช้าเกินไป รวมถึงการไม่ได้จับให้ลูกเรอ ย่อมก่อให้เกิดแก๊สสะสมในกระเพาะอาหารที่มากเกินไปจนนำมาซึ่งอาการท้องอืดได้


รู้ได้อย่างไรว่าลูกน้อยท้องอืด ?

เมื่อลูกน้อยมีอาการท้องอืด คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้เบื้องต้นด้วยสัญญาณดังต่อไปนี้

·        ลูกดิ้นอยู่ตลอดเวลา บางครั้งก็ร้องไห้จนหน้าแดง โดยเฉพาะหลังกินนม อาจพบการยกขาสูง และกำมือแน่นเพราะหายใจไม่ออกร่วมอยู่ด้วย หากสัมผัสที่ท้องของลูก อาจพบว่าท้องแข็งกว่าปกติ และเมื่อเคาะดูจะดัง เพราะมีลมอัดแน่นอยู่ข้างใน

·        คุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยตัวเอง จะสังเกตได้ชัดว่าลูกนอนกรน เพราะอาการท้องอืดทำให้หายใจไม่สะดวก และหากปล่อยให้ลูกท้องอืดบ่อยครั้ง จะพบว่าอุจจาระจะมีลักษณะหยาบ เพราะมีลมอยู่ภายในเยอะ และที่สังเกตได้ง่ายสุด คือการที่ลูกน้อยผายลม หรือเรอออกมามากกว่าปกตินั่นเอง


เมื่อลูกน้อยท้องอืด ควรทำอย่างไร ?

คุณแม่ทุกคน สามารถแก้อาการท้องอืดของลูกน้อยได้ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้

1.อุ้มพาดบ่า
โดยให้คางลูกเกยไหล่คุณแม่ไว้ และให้เอามือลูบหลังโดยการลูบลงหลังกินนมเสร็จ ถ้าอุ้มพาดบ่าไม่คล่อง ให้ลูกนอนคว่ำแบบพาดบนตักแทนก็ได้

2.นวดท้องให้ลูกขับลมออกมา
วิธีนี้เป็นเทคนิคการเลี้ยงลูกเพื่อให้หายจากอาการท้องอืดได้ง่าย เพียงแค่จับลูกนอนหงาย ใช้ฝ่ามือค่อยๆ กดที่หน้าอกเบาๆ แล้วไล่ลงมายังใต้สะดือ ก่อนจะหมุนมือวนไป 2-3 ครั้ง ถ้ากลัวว่าจะลงน้ำหนักมือมากเกินไป ให้จัดท่าลูกเหมือนการปั่นจักรยานอากาศ แต่ให้กดเข่างอไปใกล้ท้อง เหมือนวิธีการขับลมของผู้ใหญ่

3.ทามหาหิงคุ์
หรือน้ำคั้นใบกะเพรา (คั้นจนมีสีดำ) โดยนำมาทาที่บริเวณท้องและหน้าอกของลูก เพื่อให้ความร้อนช่วยกระตุ้นให้เกิดการขับลมออกมา


วิธีป้องกันไม่ให้ลูกท้องอืด

การป้องกันไม่ให้ลูกน้อยท้องอืดนั้น ทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่ดีที่สุด คือการพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกกลืนอากาศมากกว่าอาหาร ทุกครั้งที่ให้นมเสร็จ ต้องพยายามทำให้ลูกเรอให้ได้ เพื่อขับลม ทั้งระหว่างกินนม และหลังกินนม

ปัญหาท้องอืดในเด็กทารก จัดเป็นปัญหาทั่วไปที่พบได้ในการเลี้ยงลูก แต่หากเมื่อไรก็ตามที่ลูกท้องผูกนานเกินไปจนถ่ายอุจจาระเป็นเลือด มีอาการท้องเสีย และมีไข้สูง ต้องรีบพาไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook