ทำความรู้จักมูกก่อนคลอดเป็นอย่างไร พร้อมอาการคนท้องต้องรู้

ทำความรู้จักมูกก่อนคลอดเป็นอย่างไร พร้อมอาการคนท้องต้องรู้

ทำความรู้จักมูกก่อนคลอดเป็นอย่างไร พร้อมอาการคนท้องต้องรู้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คุณแม่ตั้งครรภ์ ควรสังเกตอาการที่มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างตั้งครรภ์ หากมีสิ่งใดผิดปกติควรปรึกษาแพทย์ที่ฝากครรภ์ทันที โดยเฉพาะระยะใกล้คลอดที่จะมีมูกออกมา โดยมูกก่อนคลอดเป็นอย่างไร และมีอาการใกล้คลอดอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลยค่ะ


มูกก่อนคลอดเป็นอย่างไร
เมื่อครรภ์แก่ใกล้คลอดจะทำให้เนื้อเยื่อที่เป็นเมือกเหนียว ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่มดลูกไหลออกมาจากช่องคลอด โดยจะมีลักษณะเป็นแบบใส สีขาวขุ่น หรือเป็นสีปนชมพูก็ได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีมูกก่อนคลอดไหลออกมาได้ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 37 ขึ้นไป พร้อมทั้งมีอาการเตือนอื่นๆ ร่วมด้วย


เช็กเลย 7 อาการคนท้องใกล้คลอด อาการอื่นๆ ที่สังเกตได้

เมื่อใกล้คลอด นอกจากการมีมูกไหลออกมาแล้ว ก็จะมีอาการเตือนที่สังเกตได้ดังต่อไปนี้


1.ท้องลดต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด
มาถึงไตรมาสสุดท้ายในช่วง 2-3 สัปดาห์ก่อนคลอดคุณแม่จะมีความรู้สึกว่าท้องที่เคยนูนอยู่ด้านบนจะลดต่ำลงเข้าไปอยู่ในช่วงอุ้งเชิงกรานด้านล่าง ซึ่งเป็นการเคลื่อนตัวของทารกเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดในอีกไม่นาน


2.คุณแม่รู้สึกว่ามดลูกหดตัวอย่างรวดเร็ว
เมื่อมดลูกหดตัวอย่างรวดเร็วเพื่อช่วยให้ทารกได้มาอยู่ตำแหน่งพร้อมคลอด คุณแม่จะรู้สึกปวดหลังพร้อมทั้งสังเกตว่ามดลูกมีการหดตัวอย่างรุนแรงตามมา รวมถึงมีอาการปวดถี่ๆ มากขึ้น


3.มีมูกเลือดไหลออกมาทางช่องคลอด
เป็นสัญญาณที่บอกว่าใกล้ถึงเวลาที่คุณแม่จะคลอดแล้ว โดยจะมีมูกเลือดเหนียวเหนียวไหลออกมาทางช่องคลอด ช่วงนี้มดลูกจะมีการขยายตัวกว้างมากที่สุดจนถึง 10 เซนติเมตร ซึ่งเมือกที่ปากมดลูกจะถูกปล่อยออกมาพร้อมกับมีเลือดที่เกิดจากการฉีกขาดของเส้นเลือดบริเวณปากมดลูก หากมีอาการอย่างนี้ต้องรีบไปพบหมอเพื่อเตรียมคลอดทันที


4.เป็นตะคริวบ่อยๆ และมีอาการปวดหลัง
เมื่อท้องแก่ใกล้คลอดคุณแม่จะมีอาการเป็นตะคริวบ่อยครั้ง ซึ่งสาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน จึงส่งผลให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานผิดปกติ โดยเฉพาะเส้นเลือดดำที่อยู่ในอุ้งเชิงกรานจะถูกศีรษะของทารกกดทับ จนทำให้มีอาการตะคริวได้ง่าย ในบางรายอาจจะมีการขาดแคลเซียม และแมกนีเซียม รวมถึงการดื่มน้ำที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายจึงทำให้คุณแม่เป็นตะคริวได้บ่อยขึ้น


5.ขับถ่ายอุจจาระบ่อยครั้ง
คุณแม่มีจะอาการปวดท้องถ่ายอุจจาระบ่อยขึ้นได้ ในบางรายอาจจะมีการอาเจียนร่วมด้วย สาเหตุเพราะร่างกายต้องการขับของเสียออกมาให้เร็วที่สุด เพื่อเตรียมความพร้อมในการคลอดทารกนั่นเอง


6.น้ำคร่ำแตก
ขณะที่ทารกอยู่ในครรภ์ก็จะมีน้ำคร่ำของแม่หุ้มตัวเอาไว้ โดยเมื่อใกล้คลอดน้ำคร่ำก็จะแตกออก ซึ่งการที่น้ำคร่ำแตกก่อนที่จะคลอด จะทำให้ทารกเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้นหากน้ำคร่ำแตก คุณแม่ต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที


7.อาการเจ็บท้องใกล้คลอด
จะมีอาการเจ็บติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง 5 ถึง 8 ชั่วโมงแล้วปวดถี่มากขึ้นเรื่อยๆ โดยหากปวดถี่ทุก 5 นาที ให้ไปโรงพยาบาลได้เลย

ทั้งหมดนี้เป็นอาการที่จะเกิดขึ้นได้ในไตรมาสสุดท้ายของคุณแม่ ยังไงแล้วลองสังเกตอาการดูนะคะ แต่ไม่ควรวิตกกังวลเกินไป เพราะเมื่อถึงเวลาคลอดจริง กลไกธรรมชาติของร่างกาย จะช่วยให้คุณแม่คลอดลูกออกมาได้อย่างง่ายดายมากขึ้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook