10 สุดยอดเคล็ด(ไม่)ลับหางานได้ดั่งใจผ่านโลกไซเบอร์

10 สุดยอดเคล็ด(ไม่)ลับหางานได้ดั่งใจผ่านโลกไซเบอร์

10 สุดยอดเคล็ด(ไม่)ลับหางานได้ดั่งใจผ่านโลกไซเบอร์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในโลกยุคที่การติดต่อสื่อสารและการทำธุรกรรมต่างๆ เป็นไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็ดขึ้นผ่านโลกไซเบอร์ ไม่เว้นแม้การสรรหาบุคลากรและการสมัครงาน สอดคล้องกับผลสำรวจจ็อบสตรีทดอทคอมเมื่อเร็วๆ นี้ พบว่า 91% ของผู้ประกอบการเลือกเว็บไซต์หางานเป็นช่องทางหลักในการสรรหาบุคลากร ในขณะเดียวกัน 85% ของผู้หางานก็เลือกใช้เว็บไซต์หางานเป็นช่องในการหางานเช่นกัน

แม้ว่าระบบออนไลน์จะช่วยให้การสมัครงานง่ายดายขึ้น แต่ความง่ายนี้เอง อาจเป็นอุปสรรคสำคัญของผู้หางานในคราวเดียวกัน ยิ่งสมัครงานง่าย การแข่งขันก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นด้วย หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เลือกหางานผ่านช่องทางนี้ คุณมั่นใจหรือไม่ว่าคุณใช้มันอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้คุณได้งานที่ใช่! ได้จริง "10 สุดยอดเคล็ด (ไม่) ลับหางานได้ดั่งใจผ่านโลกไซเบอร์" จะช่วยคุณเจองานที่ใช่!



1. ตั้งมั่นหางานที่ชอบทุกวัน บรรดาเว็บหางานมักลงประกาศตำแหน่งงานใหม่ๆ ทุกวัน ยิ่งเราเห็นงานใหม่ๆ ก่อนใครก็ยิ่งได้เปรียบ แต่ก็อย่าละเลยประกาศตำแหน่งงานที่ผ่านไปหลายวันก่อนหน้านี้เพราะงานบางอย่างก็ยากที่จะหาคนที่เหมาะสมและคุณก็อาจจะเป็นคนที่ใช่สำหรับงานนั้น

2. ค้นหาข้อมูลเพิ่มด้วยตนเอง การค้นหาข้อมูลบริษัทที่คุณส่งใบสมัครงานให้ได้มากที่สุดคืออีกเคล็ดลับที่ไม่ควรละเลย ข้อมูลเหล่านี้ย่อมเป็นประโยชน์กับคุณอย่างยิ่งเวลาที่คุณเข้าสัมภาษณ์งาน

3. เตรียมประวัติการทำงานให้พร้อมสำหรับโลกออนไลน์ บริษัทหลายต่อหลายแห่งต้องการให้ผู้สมัครส่งประวัติการทำงานในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์โดยให้กรอกในแบบฟอร์มออนไลน์ ดังนั้น คุณควรตรวจสอบจนมั่นใจว่าได้กรอกข้อมูลทั้งหมดโดยไม่พลาดสิ่งสำคัญ หากผู้ว่าจ้างได้รับข้อมูลไม่ครบ ใบสมัครของคุณก็อาจถูกมองข้ามอย่างน่าเสียดาย

4. ใส่คีย์เวิร์ดให้ครบถ้วน ตำแหน่งงานหนึ่งๆ อาจมีคนสมัครนับไม่ถ้วน ผู้ว่าจ้างบางรายอาจใช้ระบบคัดกรองอัตโนมัติโดยคัดทิ้งใบสมัครที่มีคุณสมบัติไม่ตรงตามที่ต้องการเพื่อประหยัดเวลา คุณจึงควรใส่คำสำคัญที่เป็นกุญแจไขสู่โอกาสและฝ่าด่านระบบคัดกรองเหล่านั้นไปให้ได้

5. ใส่ประวัติการทำงานแทรกลงในข้อความอีเมล์ในโลกไซเบอร์ที่เต็มไปด้วยไวรัส ผู้ว่าจ้างอาจลังเลที่จะเปิดเมลที่มีไฟล์แนบการใส่ข้อมูลประวัติการทำงานของคุณแทรกลงในอีเมล์จะเพิ่มความมั่นใจได้ว่า ผู้ว่าจ้างจะเห็นและได้อ่านประวัติของคุณ

6. มองเป้าหมายให้ชัดเจน อย่าส่งประวัติการทำงานเพื่อสมัครงานหลายตำแหน่งกับบริษัทเดียว แย่ไปกว่านั้นคืออย่าร่อนประวัติการทำงานหรือเรซูเม่ฉบับเดียวไปหาบริษัทหลายๆ แห่ง จงมุ่งมั่นกับงานที่คุณต้องการอย่างแท้จริง ไตร่ตรองดูว่าคุณเหมาะสมกับตำแหน่งงานนั้นๆ หรือไม่ และการเขียนประวัติการทำงานที่สอดรับกับงานแต่ละตำแหน่งโดยเฉพาะจะทำให้คุณมีโอกาสถูกเรียกสัมภาษณ์งานมากกว่าการเขียนเรซูเม่ฉบับเดียวและหว่านไปทั่ว

7. อย่าใช้เครื่องมือใดๆ ในออฟฟิศเพื่อหางาน จำให้ขึ้นใจว่าเจ้านายของคุณย่อมมีวิธีการติดตามการใช้อินเทอร์เน็ตของคุณ คุณอาจกำลังฝ่าฝืนกฎเกณฑ์และนโยบายการใช้อินเทอร์เน็ตในที่ทำงานโดยไม่ตั้งใจ และอาจทำให้เจ้านายรู้ว่าคุณกำลังหางานใหม่ ดังนั้น อย่าหางานในช่วงเวลาทำงาน แม้จะเป็นช่วงพักกลางวันก็ตามที

8. รักษาความเป็นส่วนตัว อย่าด่วนแจ้งหมายเลขโทรศัพท์พื้นฐาน หมายเลขประกันสังคม หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีและข้อมูลสำคัญที่ควรต้องเก็บเป็นความลับใดๆ ไว้ในเรซูเม่ของคุณ ข้อมูลเหล่านี้อาจตกอยู่ในมือของพวกมิฉาชีพ อ่านนโยบายรักษาความเป็นส่วนตัวของเว็บไซต์แต่ละแห่งจนเข้าใจว่าเว็บเหล่านั้นมีนโยบายรักษาข้อมูลของผู้สมัครงานอย่างไร

9. สร้างความประทับใจในแรกเห็น เรซูเม่ของคุณควรเขียนขึ้นอย่างมืออาชีพ อย่าใช้รูปแบบที่อ่านยาก หรือใช้ชื่อที่อีเมลที่ดู "น่ารัก" "แปลกประหลาด" หรือ "น่าขบขัน" สำหรับสมัครงาน

10. อย่าเพียงแค่รอ ปฏิเสธไม่ได้ว่าการหางานออนไลน์นั้นทำได้ง่ายและรวดเร็ว แต่ไม่ได้แปลว่าคุณจะได้งานเสมอไป คุณต้องทำการบ้านมาอย่างดีเพื่อให้คุณอยู่เหนือคู่แข่ง นั่นหมายความว่าคุณต้องเป็นฝ่ายรุกและติดตามว่าใบสมัครของคุณอยู่ในสายตาของผู้ว่าจ้างแล้วหรือยัง

สำหรับคนทำงานที่ต้องการแรงบันดาลใจหรือเคล็ดลับดีๆ เกี่ยวกับการทำงานสามารถเข้าไปอ่านบทความจากเหล่ากูรูด้านการสร้างแรงบันดาลใจได้ที่ www.jobstreet.com/th/careertips

ขอบคุณข้อมูล : jobstreet.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook