จากคำพูด "น้องแม็กซ์เวลล์" จิตแพทย์เตือน ห้ามเสี้ยมเด็ก เพราะอาจมีผลเสียระยะยาว
กลายเป็นประเด็นดราม่ารายวันขึ้นมาอีก หลังจากที่ ซาร่า คาซิงกินี ไลฟ์สดผ่านไอจีส่วนตัว พูดคุยกับลูกชาย มีแฟนๆ คอมเม้นท์ว่า "แดดดี้รักแม็กซ์เวลล์นะ" น้องแม็กซ์เวลล์ตอบกลับทันทีว่า "จริงหรอ? โกหกรึป่าว? ถ้ารักทำไมถึงเตะออกจากคอนโด" จากคำพูดดังกล่าวของน้องแม็กซ์เวลล์ ทำให้ "ซาร่า" โดนชาวโซเชียลถล่มอีกครั้งว่าเหมาะสมแล้วหรอไม่?
ล่าสุด เมื่อวันที่ 21 ก.ย. กอล์ฟ พิชญะ ได้ไปเปิดใจเกี่ยวกับประเด็นเดือดที่เกี่ยวข้องกับน้องชาย ไมค์-พิรัชต์ นิธิไพศาลกุล ในรายการโหนกระแส โดยมี หนุ่ม-กรรชัย กำเนิดพลอย ดำเนินรายการ และมี นพ. ธีรนันท์ มิตรภานนท์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ผอ.รพ.แพทย์รังสิต และ ดร.มนต์ชัย จงไกรรัตนกุล รองประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สภาทนายความ ร่วมให้ความรู้ด้วย
และต่อไปนี้เป็นคำสัมภาษณ์บางส่วนจากรายการ "โหนกระแส" ซึ่งคุณแม่คุณพ่อสามารถนำไปปรับใช้ในการเลี้ยงลูกได้
กอล์ฟเห็นไลฟ์ฝั่งโน้นแล้ว แม็กซ์เวลล์พูดว่ารักจริงหรือเปล่า ทำไมเตะออกจากคอนโด รู้สึกยังไงกับคำพูดหลาน?
กอล์ฟ : "หลานไม่มีทางพูดคำนี้ เวลาเจอหลาน เขาจะเป็นคนสดใสร่าเริง วิ่งมาหา ขนาดเจอผมบางครั้งยังเรียกแดดดี้ จนต้องบอกว่านี่ลุงนะ แต่วันนี้ที่เห็นผมว่าต้องมีการ input อะไรบางอย่าง อาจจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็แล้วแต่ เด็กตัวแค่นี้ไม่น่าพูดออกมาเองได้"
คำว่าเตะออกจากคอนโด น้องไม่มีทางพูด?
กอล์ฟ : "เวลาอยู่กับน้อง มีหลายอัน ที่เราเอ๊ะ อย่างน้องบอกว่าอยากได้ลัมโบกินี แม็กซ์ชอบ แม็กซ์อยากได้ เราเป็นเด็กเรายังไม่รู้ว่าเป็นรถอะไร เด็กแยกไม่ออก"
ในฐานะจิตแพทย์เด็ก เด็ก 5-6 ขวบ เขาสามารถมีความคิดตอบเองได้มั้ยว่าจริงเหรอ เตะจากคอนโดทำไม อะไรแบบนี้?
นพ.ธีรนันท์ : "ส่วนใหญ่คำพูดลักษณะแปลกๆ แบบนี้เขาต้องได้ยินมาจากคนรอบข้าง คนสนิท แต่ที่น่ากลัวคือการที่เรารู้สึกว่าหนึ่งในคนที่รักที่สุดไล่ออกจากบ้าน มันปวดร้าวมากเลย แต่เด็กอาจไม่ได้แสดงออก เด็กจะเก็บไว้ข้างใน"
หมอจะบอกว่า ใครก็ตามที่ไปพูดอะไรแบบนั้นมันสร้างรอยด่างดำในหัวใจเขา ทำให้รู้สึกว่าพ่อไม่รัก และไล่เขาออกไป?
นพ. ธีรนันท์ : "เด็กจะรู้สึกอกหักเลยครับ เพียงแต่เขาไม่ได้แสดงออกให้เราเห็นเหมือนผู้ใหญ่ เด็กเขาก็จะเก็บ"
ผลพวงต่อไป พูดแบบกว้างๆ นะ ถ้าผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ไปใส่เรื่องราวที่ไม่ค่อยดีงามสำหรับครอบครัวตัวเอง เด็กโตขึ้นไปภาวะจะเป็นยังไง?
นพ. ธีรนันท์ : "การใส่อะไรลบๆ โตขึ้นจิตใจก็จะโตแบบลบๆ เป็นอะไรได้บ้างก็เป็นไปได้หมด ซึมเศร้า วิตกกังวล ก้าวร้าว หรืออีกกลุ่มคือบุคลิกภาพที่มีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับสังคม มันเสียหมดในสมัยใหม่ เราเลยไปเน้นเรื่องต้องสื่อสารทางบวก ไม่เอาอันไม่ดี ต้องห้ามเสี้ยมเด็ก"
กรณีหลานคุณกอล์ฟ เป็นไปได้มั้ยคนรอบข้างไปพูดหรือทำให้เด็กคิดแบบนี้ เรื่องรถลัมโบกินี พ่อเขาบอกว่าลูกเปลี่ยนไป ต้องมาเริ่มต้นละลายพฤติกรรมกันใหม่ เป็นไปได้มั้ยถูกใส่อะไรเข้าไป ทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไป?
นพ. ธีรนันท์ : "เป็นไปได้สูงมาก จากในคลิปดูรักพ่อมาก แล้วอยู่ดีๆ วันหนึ่งเปลี่ยนไปโดยที่คุณพ่อไม่ได้ไปทำอะไรไม่ดี หรือทำให้กลัว แสดงว่าเด็กต้องมีภาพอะไรใหม่ๆ ที่ทำให้พ่อเปลี่ยนไปจากเดิม จากคนรอบข้าง"
การเปลี่ยนคุณภาพชีวิตเด็กมีผลกับเด็กมั้ย?
นพ.ธีรนันท์ : "การย้ายที่โรงเรียน ที่อยู่ เป็นความเครียดของเด็กนะครับ อยู่ดีๆ จับเด็กย้ายโรงเรียนบ่อยๆ เด็กจะมีปัญหาเรื่องการปรับตัว ส่วนคุณภาพชีวิตประกอบด้วยหลายส่วนไม่เกี่ยวโรงเรียนถูกหรือแพง หลักๆ คือผู้เลี้ยงดู อยู่กับคุณแม่หรือคุณพ่อตลอด เป็นสิ่งสำคัญที่สุด"
เด็กจำเป็นต้องเจอพ่อบ่อยๆ มั้ย?
นพ.ธีรนันท์ : "กรณีนี้เด็กเจอคุณพ่อแล้วมีรีเลชั่นชีพค่อนข้างดี ตัวน้องรักคุณพ่อและมีความสุข นึกภาพเด็กผู้ชายส่วนใหญ่เขาจะก็อปปี้คุณพ่อ โตมาอยากเหมือนคุณพ่อ บุคลิกจะเหมือนคุณพ่อ พอโมเดลที่เขาก็อปๆ อยู่ดีๆ หายไปเลย แล้วจะเกิดอะไรขึ้น เขาจะไปก็อปใครต่อ สิ่งที่น่ากลัวกว่านั้นคือเขาอาจจะไปก็อปคุณพ่อแต่เห็นจากมุมสายตาคนอื่น อย่างคุณพ่อเป็นคนไม่ดีหรือมีอินพุตเข้ามา โตขึ้นเขามีแนวโน้มที่จะก็อปปี้คุณพ่อ"
แก้ไขยังไง?
นพ. ธีรนันท์ : "ถ้าทำได้ดีที่สุด อยากให้คุณพ่อมีเวลาไปเล่นกับลูก พาไปเที่ยวให้มีรีเลชั่นชิพที่ดี พอเด็กมีความสุข มีความผูกพันที่ดี เด็กจะไปในทางที่ดีเอง รวมทั้งหลีกเลี่ยงมุมมองเชิงลบ ต้องเปลี่ยนมุมมองเชิงลบให้เป็นบวกให้ได้"
กรณีนี้คนดูแลน้องอยู่ อาจมีภาวะในความรู้สึกตัวเองด้วยแต่ไม่รู้ตัว?
นพ. ธีรนันท์ : "จริงๆ แล้วการที่คนเรามีการแสดงออกไม่ว่าจะก้าวร้าวหรือไม่ก็เกิดจากความเครียด ความไม่พอใจ หรืออึดอัดอยู่ข้างในเหมือนกัน ปกติคุณหมอจะแนะนำว่าคุณแม่ควรได้รับการพูดคุยกับจิตแพทย์ ประเมินเบื้องต้นก่อน เพราะรู้ๆ กันอยู่ว่ามีความเครียดสะสมต่อเนื่อง ต้องประเมิน สมมติยกตัวอย่างในเคสซึมเศร้าเขาจะมองทุกอย่างลบไปหมด ซื้อดอกไม้ให้ก็มองลบว่าทำไมช่อเล็ก เหมือนแก้วน้ำที่เติมไม่เต็ม คนรอบข้างก็จะซึมเศร้าตาม เวลาใช้ชีวิตอยู่ด้วยความไม่พอใจ ยังไงก็ไม่เติมไม่เต็ม และไม่มีความสุขได้"
คำว่าเด็กเป็นตัวประกัน ในครอบครัวคืออะไร?
นพ.ธีรนันท์ : "เพื่อเป็นอำนาจในการต่อรอง ตรงนี้เรียกว่าการพยายามรบเร้า ต่อรอง หรือป่วนประสาทประมาณนั้นเพื่อให้เรายอม ซึ่งถ้าที่เข้าใจ คุณไมค์โดนมาต่อเนื่องจนเครียดสะสม และยอมสุดๆ แล้ว ผมไม่เคยเห็นใครให้เงินเยอะขนาดนี้ตลอดเวลาที่ผ่านมา ในใจรู้สึกว่าคุณไมค์เป็นหนึ่งในพ่อที่ค่อนข้างดีมาก"
>> "กอล์ฟ พิชญะ" จุกอกหลังหลานพูด "เตะออกจากคอนโด" อ่านข้อมูลแบบเต็มๆ คลิก!