จาก "จอยซ์ ทีเค" สื่อ ชีวิต "ผู้หญิง" หลังลูกกรง

จาก "จอยซ์ ทีเค" สื่อ ชีวิต "ผู้หญิง" หลังลูกกรง

จาก "จอยซ์ ทีเค" สื่อ ชีวิต "ผู้หญิง" หลังลูกกรง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีข่าว จอยซ์ ทีเคŽ ได้รับอิสรภาพหลังจากต้องปิดฉากชีวิตไร้อิสรภาพอยู่เรือนจำกว่า 8 ปี 9 เดือน ด้วยข้อหาร่วมกันมียาเสพติดให้โทษประเภท 1 ไว้จำหน่ายโดยผิดกฎหมายกับแฟนหนุ่ม

แต่กว่าจะถึงวันที่เธอได้รับอิสรภาพเส้นทางการต่อสู้ของเธอนั้น ยากเข็ญŽ และ ยาวนานŽ

จากครั้งแรก ศาลชั้นต้นสั่งจำคุก 8 ปี 1 เดือน ปรับ 3.4 แสนบาท แต่เคราะห์ซ้ำกรรมซัด เพราะศาลอุทธรณ์พิพากษาจำคุก 33 ปี 5 เดือน ปรับ 8 แสนบาท

จนล่าสุด ศาลฎีกาอ่านคำพิพากษา พิเคราะห์เห็นว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้อง แต่ไม่ปรากฏพยานหลักฐานชี้ชัดว่าจอยซ์มีส่วนรู้เห็นกับยาบ้าที่ซุกซ่อนไว้ในบ้านจำนวน 3,740 เม็ด แต่มีส่วนรู้เห็นกับยาบ้าที่ตำรวจล่อซื้อ 300 เม็ด จึงยกประโยชน์ให้จำเลย ศาลจึงสั่งให้บังคับคดีตามศาลชั้นต้น ขณะที่แฟนหนุ่มยังต้องก้มหน้ารับกรรมด้วยอัตราโทษกว่า 33 ปี

เรื่องราวชีวิตของเธอ นับได้ว่าเป็นอุทาหรณ์ให้ใครหลายคนได้ไม่น้อย ยิ่งในห้วงเวลาที่ ยาเสพติดŽ กำลัง ระบาดŽ อย่างหนักในประเทศไทยเช่นนี้

การเข้าเรือนจำไม่ยากกว่าที่คิด แต่ออกยากกว่าที่คิดŽ

รศ.ดร.นภาภรณ์ หะวานนท์ ผู้เขียนหนังสือ ชีวิตที่ถูกลืม เรื่องเล่าของผู้หญิงในเรือนจำŽ กล่าวขึ้นในงานเปิดตัวภาพยนตร์โทรทัศน์โครงการ ชีวิตที่ถูกลืมŽ เรื่องเล่าจากผู้ต้องขังหญิง ภายใต้โครงการกำลังใจในพระดำริ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และสำนักปลัดกระทรวงยุติธรรม ร่วมกันจัดขึ้นที่อาคารเอ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

เป็นคำกล่าวที่ชวนสะท้านสันหลัง กับความจริงที่ รศ.ดร.นภาภรณ์ ได้ทำการศึกษาผู้หญิงในทัณฑสถาน 420 คน

เมื่อก่อนคุกสร้างมาเพื่อคุมขังผู้ชาย แต่ปัจจุบันมีจำนวนผู้หญิงติดคุกสูงขึ้น สาเหตุส่วนใหญ่มาจากคดียาเสพติดŽ รศ.ดร.นภาภรณ์เผย

คดียาเสพติดมีหลายรูปแบบ ทั้งขายเพราะอยากได้เงินก็มี หรือสามีขายยา ภรรยาไม่รู้ แต่พอตำรวจจับก็ต้องจับทั้งหมด เพราะถือว่าอยู่บ้านเดียวกัน เข้าข่ายสมรู้ร่วมคิดŽ

จากความจริงข้อนี้ สะท้อนให้เห็นว่าจำนวนที่เพิ่มขึ้นของนักโทษหญิง ส่วนหนึ่งมาจากความไว้วางใจคน เพราะมีผู้หญิงจำนวนมาก ติดคุกเพราะผู้ชาย เพราะแฟน สามี หรือเพื่อน ซึ่งพวกเธอบอกว่า นึกไม่ถึงว่าจะต้องมาติดคุกแบบนี้Ž

บางคนการศึกษาดี หน้าตา ผิวพรรณดี แต่ก็ต้องติดร่างแหเข้าไปด้วย เช่น บางคนนั่งกินสุกี้กับเพื่อนอยู่ รู้ว่าเพื่อนมียาเสพติดคิดว่าไม่เป็นไร แต่พอตำรวจเข้าจับกุม ก็จับทั้งหมด ไม่มีใครรอด หรือบางคนนั่งรถไปกับเพื่อน ไม่รู้ว่าเพื่อนขายยา แต่พอตำรวจเข้าจับกุม ก็ไม่รอดเช่นกันŽ

ผู้เขียนหนังสือบอกว่า คดีแบบนี้เป็น คดีบ้องแบ๊วŽ ที่ไม่ควรเกิด แต่พอเกิดแล้ว ติดคุกสถานเดียวและโทษร้ายแรงมาก อยากให้ผู้หญิงระวังตัว อย่าไว้ใจใครง่ายๆ เพราะชีวิตในเรือนจำใช่ว่าจะสบาย

นภาภรณ์ หะวานนท์นภาภรณ์ หะวานนท์

แม้กระเป๋าสักใบยังเอาเข้าไปไม่ได้ โดดเดี่ยวเดียวดายเดินเข้าไป ความรู้สึกช่วงแรกๆ มีทั้งกดดัน เหงา เครียด ไม่รู้จะเอาอย่างไรกับชีวิต แม้แต่จะฆ่าตัวตายยังทำไม่ได้ และบรรยากาศในนั้นมีกฎระเบียบสูงมากŽ รศ.ดร.นภาภรณ์อธิบายถึงความเป็นอยู่ของผู้ต้องขังหญิงที่เธอเข้าไปสัมผัส

อย่างไรก็ตาม แม้จะประสบกับความยากลำบาก หากชีวิตมนุษย์มักมีความมหัศจรรย์ซ่อนอยู่

ผู้ต้องขังหลายคนก้าวข้ามความเจ็บปวด และสามารถหาช่องทางเล็กๆ ทำให้ตัวเองมีความสุขได้Ž ความสุขเหล่านั้นคือกิจกรรมต่างๆ ที่เรือนจำเปิดโอกาสให้ทั้งการศึกษา การฝึกอาชีพ ที่หลายคนมุ่งมั่นตั้งใจเรียนจนจบการศึกษาขั้น

พื้นฐานไปจนถึงปริญญาโท และบางคนก็เป็นเลิศด้านการตัดเย็บเสื้อผ้า คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อได้รับพระกรุณาจากพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ที่ทรงผลักดันให้เกิด ข้อกำหนดกรุงเทพŽ ขึ้น จากทัณฑสถานที่สร้างขึ้นเพื่อผู้ชายมีกฎระเบียบแบบผู้ชาย ก็ได้รับการเอาใจใส่ให้ละเอียดอ่อนกับผู้หญิงมากขึ้น

หลายทัณฑสถานเริ่มตระหนักกับผู้หญิงมากขึ้น สมัยก่อนผู้หญิงประสบปัญหาเรื่องผ้าอนามัย แต่ตอนนี้มีการจัดงบประมาณเพื่อเรื่องนี้โดยเฉพาะ หรือเมื่อก่อนเวลาญาติมาเยี่ยมก็ต้องคุยผ่านกระจก แต่ตอนนี้ก็จัดห้องให้เยี่ยม อีกทั้งหลายเรือนจำเริ่มตื่นตัวเรื่องการดูแลโรคภัยต่างๆ ที่เกี่ยวกับผู้หญิงทั้งมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูกŽ

ระบบต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี เอื้อต่อผู้หญิงมากขึ้น หากเรือนจำก็คงมิใช่สถานที่ที่น่าเข้าไปอยู่เท่าไหร่นัก


ทางที่ดี วันนี้...ในวันที่ยังมีอิสรภาพอย่างเต็มเปี่ยม ผู้หญิงต้องดูแลตัวเองให้ดี เรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์ได้อย่างมาก เพราะใช่ว่าคนที่เข้าไปอยู่ในคุกจะเป็นคนไม่ดี ดังนั้นต้องระวังตัว ถ้ารู้ว่าเพื่อนเราเกี่ยวข้องกับยาเสพติด อย่าไปนั่งรถเขา อย่าไปกินข้าวกับเขา ต้องเลิกคบ เพราะแม้เราจะไม่ยุ่งกับยาเสพติด แต่ถ้าติดร่างแหเข้าไปด้วย ก็ต้องติดคุกอย่างน้อย 5-6 ปี กว่าศาลจะยกฟ้อง กว่าจะพิสูจน์ตัวเองได้ว่าไม่ผิดŽ

การเข้าเรือนจำไม่ยากกว่าที่คิด แต่ออกยากกว่าที่คิด โทษยาเสพติดแรงมาก กว่าจะออกมา 10 ปี ถือว่าเป็นบุญของคนที่เข้าไปเกี่ยวข้องแล้ว ต้องระวังตัว เพราะยาเสพติดเยอะ โทษรุนแรง และกฎหมายที่เกี่ยวกับการสมรู้ร่วมคิดแรงมาก และถูกตีความน่ากลัวมากŽ รศ.ดร.นภาภรณ์กล่าวย้ำด้วยความห่วงใย

สำหรับภาพยนตร์โทรทัศน์โครงการ ชีวิตที่ถูกลืมŽ มีทั้งหมด 4 เรื่อง 8 ตอน เป็นการนำเสนอและตีแผ่เรื่องราวที่สะท้อนให้เห็นความจริงที่ผู้ต้องขังหญิงประสบเหตุการณ์วิกฤตในชีวิต ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 22.30-23.00 น. ทางไทยพีบีเอส

ภายใต้ลูกกรงแห่งอิสรภาพ ความลับŽ จะถูกเปิดเผย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook