แนวทางเบื้องต้น ดูแลลูกห่างไกล COVID-19 เมื่อเด็กเปิดเรียน

แนวทางเบื้องต้น ดูแลลูกห่างไกล COVID-19 เมื่อเด็กเปิดเรียน

แนวทางเบื้องต้น ดูแลลูกห่างไกล COVID-19 เมื่อเด็กเปิดเรียน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เพราะสถานการณ์ COVID-19 ระลอกใหม่ที่ระบาดอยู่ในขณะนี้ยังไม่ได้ดีขึ้นถึงขนาดที่จะวางใจได้เต็มร้อยว่าการเปิดเรียนในวันนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองจะไม่เป็นห่วงลูกหลานของตัวเอง แต่ถ้าจะไม่ให้บุตรหลานไปโรงเรียนทั้งที่โรงเรียนเปิดแล้ว ก็ไม่ใช่การแก้ปัญหาอยู่ดี เพราะความจริง ควรสอนให้เด็กๆ ดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองมากกว่า เพราะเป็นการป้องกันโรคที่ยั่งยืนกว่า และยังปลูกฝังนิสัยให้กับเด็กในการดูแลสุขลักษณะของตัวเองด้วย

เด็กๆ มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับเชื้อโรคจากโรงเรียน สถานที่เรียนพิเศษ หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก เมื่อเปิดเรียนแล้วพ่อแม่ผู้ปกครองไม่สามารถดูแลเด็กได้เหมือนกับการที่เด็กอยู่บ้าน โดยเฉพาะกับเด็กเล็กที่ยังจำเป็นต้องให้ครูช่วยดูแล เพราะครูเองก็อาจดูแลเด็กได้ไม่ทั่วถึง ส่วนเด็กโตอาจจะไม่ได้น่าห่วงเท่าเด็กเล็ก แต่ก็ควรกำชับอย่างเข้มงวด

ถ้าอย่างนั้นแล้ว การเปิดเรียนในช่วงที่สถานการณ์ยังไม่ปลอดภัยดีแบบนี้ เราควรรู้แนวทางป้องกันบุตรหลานให้ห่างไกลจาก COVID-19 เบื้องต้นอย่างไรบ้าง


สอนและเสริมสร้างการดูแลสุขภาพ


ล้างมือ
เน้นย้ำให้เด็กๆ ล้างมือด้วยน้ำและสบู่เป็นเวลา 20 วินาที โดยผู้ปกครองสามารถสอนเด็กๆ โดยการทำให้ดูเป็นตัวอย่างและดูแลอย่างใกล้ชิดก่อน ฝึกให้ล้างมือประกอบการร้องเพลงช้าง หรือเพลง Happy Birthday จนครบสองรอบ ก็จะได้ระยะเวลาที่เหมาะสม หรือเปิดคลิปวิดีโอการ์ตูนที่สอนวิธีล้างมืออย่างถูกต้อง เด็กก็จะสนุกมากขึ้น

หากไม่มีสบู่หรือน้ำ ให้ใช้เจลแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือ ที่มีเข้มข้นอย่างน้อย 60 เปอร์เซ็นต์ สอนให้เด็กถูมือเข้าด้วยกันจนกว่ามือจะแห้ง ถ้ามีแอลกอฮอล์แบบสเปรย์ ก็ฉีดฆ่าเชื้อบริเวณพื้นผิวที่จะไปสัมผัส และสอนเด็กอย่านำเจลหรือสเปรย์แอลกอฮอล์ไปเล่นอย่างผิดๆ

สวมหน้ากากอนามัย
เด็กที่อายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป เมื่อต้องอยู่ในที่สาธารณะ หรืออยู่กับคนที่ไม่ใช่คนในครอบครัว ต้องกำชับให้บุตรหลานสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกต้องและปลอดภัยตลอดเวลาที่อยู่นอกบ้าน โดยอาจหากลวิธีที่จะทำให้เด็กสามารถสวมใส่หน้ากากตลอดเวลาที่อยู่นอกบ้านมาสอนเด็ก


หลีกเลี่ยงการไปสัมผัสใกล้ชิดกับบุคคลอื่น
ในช่วงนี้ พยายามหลีกเลี่ยงบุตรหลาน รวมถึงคนอื่นๆ ในบ้านไปสัมผัสใกล้ชิดกับคนอื่นๆ (โดยเฉพาะคนที่ป่วย) สอนเด็กๆ ว่าควรอยู่ห่างจากคนอื่นๆ มากน้อยแค่ไหน ซึ่งก็คือราวๆ 6 ฟุต (6 ไม้บรรทัด)


การไอและจามให้ถูกวิธี
เมื่อเด็กไอหรือจาม สอนให้เด็กใช้กระดาษชำระปิดปากและจมูก จากนั้นให้ทิ้งลงในถังขยะที่ใกล้ที่สุด แล้วให้เด็กล้างมือให้สะอาด ทุกคนในครอบครัวควรจะทำเช่นเดียวกันด้วย


กระตุ้นให้เด็กได้ทำกิจกรรมต่างๆ

การออกกำลังกาย เป็นยาช่วยสร้างเสริมสุขภาพที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพกายหรือสุขภาพจิต ควรหากิจกรรมให้เด็กๆ ได้ใช้แรงหรือออกกำลังให้เหมาะสมกับช่วงวัย ให้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันได้ก็ยิ่งดีมาก ควบคู่ไปกับการดำเนินการป้องกันโรคที่แนะนำข้างต้น


อย่าให้เด็กขาดสังคม
เพราะเด็กไม่ได้ไปโรงเรียนนาน และเมื่ออยู่ที่โรงเรียนก็อาจจะถูกจับแยกให้อยู่ห่าง ๆ กัน ผู้ปกครองจึงควรช่วยให้บุตรหลานของยังคงเชื่อมต่อกับเพื่อนๆ คนอื่น เช่น ติดต่อเพื่อนของลูกๆ ผ่านทางโทรศัพท์หรือวิดีโอแชต หรือให้เด็กลองเขียนจดหมายถึงญาติๆ ที่อาจไม่สามารถไปเยี่ยมได้ ทั้งนี้ควรเช็กดูสักนิดว่าโรงเรียนมีแนวทางอะไรที่ช่วยสนับสนุนพัฒนาการทางสังคมของเด็ก หากไม่มากพอพ่อแม่ผู้ปกครองจะได้ช่วยเสริม


ดูแลเรื่องความเครียด

อย่าคิดว่าเป็นเด็กแล้วจะเครียดไม่ได้ เพราะหลายครั้งความเครียดก็เกิดขึ้นและสะสมโดยที่ไม่รู้ตัวเอง โดยเฉพาะเด็กนั้นยังไม่รู้จักว่าความเครียดเป็นอย่างไร เขาจะรู้สึกแค่ว่าเขาอึดอัด ไม่สบายกายไม่สบายใจเท่านั้น พ่อแม่ผู้ปกครองจึงจำเป็นต้องช่วยลูก ๆ ในการรับมือกับความเครียด เช่น วิธีสังเกตสัญญาณเตือนของเด็กที่กำลังมีความเครียด และวิธีช่วยเด็กให้ได้ผ่อนคลายความเครียด


ข้อควรระวังอื่นๆ
อีกสิ่งที่ควรจะระมัดระวังเป็นพิเศษนอกเหนือจากการปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้นแล้ว ให้พิจารณาเป็นพิเศษกับบุตรหลานที่มีความพิการหรือมีความผิดปกติทางด้านพัฒนาการ ด้านพฤติกรรม เพราะเด็กกลุ่มนี้ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด


อย่าลืมพาไปตรวจสุขภาพ

สำหรับเด็กที่โต เพียงแค่หมั่นสังเกตเด็กๆ ว่ามีอาการเจ็บป่วยหรือไม่สบายบ้างหรือไม่ สอนให้เด็กๆ บอกผู้ปกครองถ้ารู้สึกว่าตัวเองกำลังไม่สบาย หากพบความผิดปกติ ให้ประเมินอาการว่าเด็กๆ มีความเสี่ยงที่จะไปรับเชื้อมามากน้อยแค่ไหน จากนั้นพาไปพบแพทย์ เพื่อที่จะได้รับการรักษาหรือคำแนะนำที่ถูกต้อง

ส่วนเด็กเล็ก อย่าลืมพาเด็กไปพบแพทย์ตามระยะเวลาที่นัดในสมุดบันทึกพัฒนาการ และฉีดวัคซีนที่จำเป็นสำหรับเด็กให้ครบถ้วน เพราะนอกจากจะป้องกันโรคที่เสี่ยงสำหรับเด็กเล็ก ๆ ได้แล้ว ยังสร้างให้เด็กมีภูมิต้านทาน ป้องกันความเสี่ยงในการติด COVID-19 ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดเช่นนี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook