คิดให้ดี "แย่งสามีคนอื่น" อายไม่พอ ถูกฟ้องคดีแพ่งด้วย!

คิดให้ดี "แย่งสามีคนอื่น" อายไม่พอ ถูกฟ้องคดีแพ่งด้วย!

คิดให้ดี "แย่งสามีคนอื่น" อายไม่พอ ถูกฟ้องคดีแพ่งด้วย!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากประเด็นร้อนที่ทีมเมียหลวงบุกบ้านเมียน้อย ขณะที่กำลังเข้าพิธีแต่งงานกับสามีของตนเองจนกลายเป็นข่าวโด่งดัง เนื่องจากแม่สามีระงับโทสะไม่อยู่ตบศีรษะลูกชายฉาดใหญ่ในระหว่างที่กำลังทำพิธีสงฆ์กับเมียน้อยอยู่นั้น ล่าสุด ทางเมียหลวงประกาศชัดแล้วว่าจะฟ้องเรียกค่าทดแทนจากเมียน้อยด้วย

ขณะที่ฝั่งเมียน้อย นอกจากงานแต่งจะล่ม ถูกไล่ออกจากที่ทำงาน และถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์จนเป็นที่อับอายแล้ว ก็มีสิทธิ์เสียเงินแสนตามที่เมียหลวงเตรียมฟ้องร้องด้วย เพราะเป็นสิทธิที่เมียหลวงพึงกระทำได้จริง!


เมียหลวงฟ้องได้ เพราะมีทะเบียนสมรส

การฟ้องร้องจากเมียน้อยในกรณีดังกล่าว สามารถทำได้เนื่องจากเมียหลวงมีการจดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และฝ่ายชายยกย่องผู้อื่นฉันภริยา ด้วยการจัดงานแต่งงาน จึงเท่ากับการมีชู้อย่างเปิดเผย

โดยเมียหลวงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนหรือค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) นอกจากนี้ ยังสามารถฟ้องเรียกค่าทดแทนจากสามีผู้นอกใจไปมีความสัมพันธ์กับหญิงอื่นด้วย โดยการฟ้องร้องสามารถทำได้ทั้งกรณีที่มีการฟ้องหย่า หรือไม่มีการฟ้องหย่า

หากเมียหลวงประสงค์จะหย่าขาดจากสามี การฟ้องร้องจะเข้าข่าย ป.พ.พ. มาตรา 1523 ที่ระบุว่า เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันตามมาตรา 1516 (1) ภริยาหรือสามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยา และจากผู้ซึ่งได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง หรือผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่านั้น

แต่หากเมียหลวงไม่ประสงค์จะหย่าขาดจากสามี โดยประสงค์จะเรียกค่าทดแทนจากผู้ที่ล่วงเกินหรือมีความสัมพันธ์ในทำนองชู้สาว จะเข้าข่ายมมาตรา 1523 วรรคสอง ที่ภริยาจะสามารถเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวได้ โดยไม่จำต้องฟ้องหย่าหรือหย่าขาดจากคู่สมรสเสียก่อน

ทั้งนี้ เมียหลวงสามารถฟ้องสามีและเมียน้อยเพื่อเรียกค่าทดแทนพร้อมกันได้ หรือจะฟ้องแยกเพื่อเรียกค่าทดแทนก็ทำได้เช่นเดียวกัน


แต่งงานซ้อนได้ แต่จดทะเบียนสมรสซ้อนไม่ได้!
แม้ว่าการแต่งงานซ้อนเป็นเรื่องของพิธีการ แต่ในทางกฎหมายนั้น หากมีการจดทะเบียนสมรสซ้อนจะไม่สามารถกระทำได้ เพราะถือเป็นภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเสมือนว่าไม่ได้มีการจดทะเบียนสมรส ขณะที่ทะเบียนสมรสดังกล่าวจะตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลผูกพันเป็นสามี-ภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

โดยป.พ.พ. มาตรา 1452 ระบุไว้ชัดเจนว่าชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้ ซึ่งเป็นหลักการของกฎหมายครอบครัวที่กำหนดให้มีคู่สมรสได้เพียงคนเดียว หากทำการสมรสซ้อนหรือสมรสขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่แล้ว การสมรสนั้นย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 โดยไม่ต้องมีคำพิพากษาของศาล

กรณีเมียน้อยมีลูก ถือเป็นบุตรนอกกฎหมาย
นอกจากการจดทะเบียนสมรสซ้อนจะเป็นโมฆะแล้ว หากมีลูกด้วยกันและฝ่ายชายจดทะเบียนรับรองเด็กเป็นบุตรอย่างถูกกฎหมาย เด็กที่ถือกำเนิดขึ้นมาก็กลายเป็นบุตรนอกกฎหมายไปด้วย โดยเด็กมีสิทธิเพียงแค่การรับมรดกของบิดากับมารดาของตน เมื่อบุคคลทั้งสองถึงแก่ความตายเท่านั้น

หากไม่อยากให้ตนเองต้องอับอาย เพราะถูกแฉว่าเป็นชู้ คบซ้อนกับสามีชาวบ้าน จนถูกฟ้องเรียกค่าเสียหาย ก็ควรไตร่ตรองให้ถี่ถ้วนเสียก่อนจะคิดกินน้ำใต้ศอกใคร เพราะนอกจากจะทำให้ครอบครัวคนอื่นแตกแยกแล้ว ยังทำให้ลูกที่เกิดมากลายเป็นเด็กมีปัญหาเพราะมีปมว่าเป็นลูกเมียน้อยอีกด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook