ทำความรู้จัก Paranoid คืออะไร พร้อมเช็คอาการด้วยตนเอง

ทำความรู้จัก Paranoid คืออะไร พร้อมเช็คอาการด้วยตนเอง

ทำความรู้จัก Paranoid คืออะไร พร้อมเช็คอาการด้วยตนเอง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เชื่อว่าหลายคนคงจะเคยได้ยินคำว่า นอยด์ กันมาบ้างแล้ว หรือบางครั้งก็อาจจะเคยพูดคำๆ นี้อยู่เป็นประจำ ซึ่งคำว่า นอยด์ ก็คือคำที่ย่อมาจากคำว่า พารานอยด์ หรือ Paranoid นั่นเอง วันนี้เราจึงขอนำสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับคำนี้มาแบ่งปันให้สาวๆ และทุกคนได้ทราบกันค่ะ ตามมาดูกันเลยดีกว่าว่า Paranoid คืออะไร และส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างไรบ้าง


Paranoid คืออะไร

Paranoid (พารานอยด์) คือ อาการที่เกิดจากการหวาดระแวงหรือมีความรู้สึกกลัวต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดมากจนเกินไป ซึ่งอาการนี้จะมีตั้งแต่ระดับน้อยถึงขั้นรุนแรง และอาจนำไปสู่อาการจิตหลงผิด ซึ่งเป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวชที่มักคิดว่าตนเองจะถูกทำร้ายหรือถูกฆ่านั่นเอง


ประเภทและอาการของ Paranoid

ในส่วนของประเภทและอาการของ Paranoid นั้น ดร.ดาเนียล ฟรีแมน ซึ่งเป็นนักจิตวิทยา จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด รวมทั้งเป็นนักเขียนเจ้าของผลงานหนังสือ Paranoid: The 21st Century Fear ได้มีการแบ่งอาการพารานอยด์ออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ


1.Non-Clinical

Non-Clinical คือ ความหวาดระแวงที่พบในชีวิตประจำวัน รวมทั้งความระมัดระวังตัว ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้จะไม่ก่อให้เกิดอุปสรรคหรือผลเสียในการใช้ชีวิตมากมายนัก

อาการที่แสดงออก เช่น มีความวิตกกังวลมากกว่าคนทั่วไป ไม่ไว้ใจใครง่ายๆ มักระแวงว่าคนอื่นไม่มีความเป็นมิตร และมีความรู้สึกเหมือนโดนจับผิด


2.Clinical

Clinical คือ ความหวาดระแวงที่เข้าขั้นโรคทางจิตเวช ซึ่งความรู้สึกนึกคิดจะมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

อาการที่แสดงออก เช่น มีความคิดว่าจะมีคนมาทำร้าย มีอาการหูแว่ว ชอบแยกตัวจากผู้อื่น ไม่สามารถแยกระหว่างความจริงกับจินตนาการได้ ความจำและการใช้เหตุผลเสื่อมถอยลง และหวาดระแวงโดยที่ไม่อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง เช่น มุดไปอยู่ใต้โต๊ะเพราะกลัวแผ่นดินไหว ทั้งที่ความเป็นจริงไม่มีสัญญาณเตือนแผ่นดินไหวใดๆ ทั้งสิ้น


วิธีจัดการอาการ Paranoid ด้วยตัวเอง

เมื่อใดที่รู้สึกว่าตัวเองมีอาการพารานอยด์ ทั้งแบบ Non-Clinical หรือ Clinical ก็ตาม หากรู้สึกว่าอาการเหล่านี้เริ่มสร้างผลกระทบต่อการใช้ชีวิต แนะนำให้จัดการกับอาการพารานอยด์ในขั้นเบื้องต้นด้วยตัวเองดังนี้


1.ปล่อยวาง
พยายามปล่อยวางบางสิ่งบางอย่าง โดยเฉพาะสิ่งที่เกินการควบคุมของตัวเอง และพยายามไม่กังวลกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากจนเกินไป


2.จัดการสิ่งที่ยังค้างคาใจ
หากมีสิ่งที่ยังค้างคาใจ และมักก่อให้เกิดความวิตกกังวล ควรรีบจัดการเท่าที่ทำได้ เพื่อไม่ให้รู้สึกว่าตัวเองมีสิ่งที่ยังค้างอยู่ จนทำให้เกิดความวิตกกังวลหนักขึ้นกว่าเดิม


3.เชื่อใจตัวเองให้มาก
แม้ว่าอาการพารานอยด์จะทำให้เราไม่ค่อยไว้ใจคนอื่น แต่สิ่งสำคัญก็คือเราต้องเชื่อใจและไว้ใจตัวเองให้มากๆ พยายามป้องกันตัวเองและหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ผู้อื่น ทั้งนี้จะช่วยให้เกิดความรู้สึกสบายใจมากขึ้น


4.ให้เวลาและอยู่กับตัวเองสักพัก
การหลีกเลี่ยงความวุ่นวายจากสังคมภายนอก แล้วหันกลับมาให้เวลากับตัวเอง เว้นระยะห่างจากความรู้สึกพารานอยด์ด้วยการอยู่คนเดียว ย่อมช่วยให้สามารถทบทวนตัวเองได้ดี

จะเห็นได้ว่าอาการพารานอยด์มีตั้งแต่ระดับเล็กน้อยไล่ไปจนถึงขั้นรุนแรง ดังนั้นสาวๆ ควรหมั่นสังเกตตัวเองให้ดีว่ามีอาการดังที่กล่าวไปข้างต้นหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อให้ตัวเองสามารถจัดการกับอาการเหล่านั้นได้ทัน ก่อนที่จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างหนักจนรักษาได้ยากนั่นเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook