ปลากัดไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก! ลายหน้ากากอนามัยของคนไทยในเวที Kingston x CSD
การเก็บความทรงจำเป็นแรงบันดาลใจให้กับแบรนด์แฟลชไดรฟ์จนถึงหน่วยเก็บความทรงจำระดับใหญ่อย่าง Kingston ร่วมมือกับ CSD (China Surgical Dressings Center) แบรนด์หน้ากากอนามัยจากไต้หวัน จัดการแข่งขันออกแบบหน้ากากอนามัยภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกในคอนเซ็ปต์ “ในความทรงจำมีความแข็งแกร่ง” (There’s Strength in Memory) และมีผลงานส่งเข้าประกวดกว่า 3,100 รายการ และหนึ่งในผลงานที่ถูกคัดเลือกให้เข้ารอบ 10 คนสุดท้ายเป็นของ “วราภรณ์ มามี จากประเทศไทย ที่มาด้วยหัวข้อ ปลากัดไทย”
ภาพที่ห่อหุ้มความทรงจำของพวกเขา ตั้งแต่แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปฏิสัมพันธ์ของผู้คน หรือเหตุการณ์ในชีวิตที่น่าสนใจและน่าจดจำ รวมไปถึงภาพสะท้อนต่างๆ ของปี 2563 โดยคณะกรรมการตัดสินยังค้นพบการออกแบบที่เกี่ยวเนื่องกับสายสัมพันธ์ของครอบครัว ความชื่นชมในธรรมชาติ และความทรงจำลึกซึ้งในวัยเด็กอีกด้วย ซึ่งผลงานแต่ละรายการ ถูกตัดสินตามหลักเกณฑ์ 2 ข้อ ได้แก่ “การออกแบบผ่านสี 3 สี” ซึ่งสามารถแสดงออกถึงองค์ประกอบทางศิลปะได้อย่างงดงามภายใต้การใช้สี 3 สี และ “การออกแบบโดยไม่จำกัดจำนวนสี” ที่แสดงการใช้สีอย่างมีศิลปะ
ปลากัดไทยไม่แพ้ใครในโลก
วราภรณ์ มามี อาจารย์วิชาศิลปะและการออกแบบจากประเทศไทย หนึ่งในผู้เข้ารอบ 10 คนสุดท้าย กล่าวว่า “ดิฉันรู้สึกตื่นเต้นที่ได้เข้าร่วมการแข่งขันออกแบบหน้ากากอนามัย ที่จัดขึ้นโดย Kingston และ CSD เพราะดิฉันคอยมองหาความท้าทายเพื่อพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ซึ่งความทรงจำและประสบการณ์ต่างๆ ได้กลายมาเป็นแรงจูงใจและพื้นฐานให้กับผลงาน ที่ทำให้เรียนรู้และเติบโตขึ้นในฐานะศิลปิน โดยผลงานปลากัดไทยชิ้นนี้ ได้บ่งบอกความมุ่งมั่นและความพากเพียรบนเส้นทางศิลปิน ส่วนองค์ประกอบต่างๆ ได้สื่อถึงรากฐานของดิฉัน เช่นเดียวกับความกล้าที่จะว่ายสวนกระแส และทำงานเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย ก็ได้ถูกรวมกันไว้ในงานออกแบบนี้เช่นกัน”
Nguyen Dang Binh จากประเทศเวียดนาม ชนะเลิศการออกแบบผ่านสี 3 สี
เขาเป็นพนักงานธนาคารจากโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ที่ทำให้ผู้ลงคะแนนจำนวนมากถูกดึงดูดด้วยบรรยากาศของความสนุกสนาน จากผลงานการออกแบบ “Doodling Paper” ซึ่งพรรณนาถึงช่วงเวลาแห่งความสุขตอนเรียนวิทยาลัย ผ่านผลงานศิลปะของเขาที่เต็มไปด้วยใบหน้าตลกๆ โดยเขาอยากรวมกลุ่มคนที่รักศิลปะให้เป็นหนึ่งเดียวและสนับสนุนให้พวกเขาทำตามความปรารถนาของตนเอง
Yman.S จากประเทศมาเลเซีย ชนะเลิศการออกแบบโดยไม่จำกัดจำนวนสี
โดยเขาเป็นนักออกแบบบรรจุภัณฑ์อาวุโสจากประเทศมาเลเซีย ซึ่ง “Monster Nation” เป็นการออกแบบที่ส่งเสริมการมองโลกแง่บวกให้แก่ผู้ลงคะแนนจำนวนมาก เพราะเขาช่วยเปลี่ยนสัตว์ประหลาดน่ากลัว ที่พวกเราต่างขวัญผวาในความทรงจำวัยเด็ก ซึ่งสื่อถึงความยากลำบากที่พวกเราต้องเจอในแต่ละวัน ให้กลายเป็นสัตว์ประหลาดน้อยน่ารัก
จากจุดเริ่มต้นของความทรงจำ และการเก็บความทรงจำดีๆ ประกอบกับสถานการณ์โรคระบาดจะก่อให้เกิดศิลปะที่น่าสวมใส่ในทุกวัน โดย 2 ลายผู้ชนะรางวัลจะได้รับการตีพิมพ์จำหน่ายในเร็วๆ นี้