เตือนภัย! อย่าทำร้ายลูก ด้วยการโพสต์รูปลูกลงโซเชียล

เตือนภัย! อย่าทำร้ายลูก ด้วยการโพสต์รูปลูกลงโซเชียล

เตือนภัย! อย่าทำร้ายลูก ด้วยการโพสต์รูปลูกลงโซเชียล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทุกวันนี้ โซเชียลมีเดียกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของทุกคนไปแล้ว ไม่ว่าจะทำกิจกรรมใดๆ ก็มักจะโพสต์รูปลงในเฟซบุ๊ก อินสตาแกรมให้คนรอบตัวได้รับรู้ด้วย แต่เมื่อสื่อสังคมออนไลน์ไม่ใช่พื้นที่ส่วนตัวแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ การโพสต์รูปใดๆ ลงในโลกโซเชียลก็อาจจะส่งผลเสียตามมาได้ โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ที่ชอบโพสต์รูปและเล่าเรื่องราวของลูกๆ ราวกับเป็นไดอารี่ส่วนตัว จนกลายเป็นที่มาของคำศัพท์ที่เรียกกันว่า “Sharenting” ซึ่งมาจาก sharing + parenting นั่นเอง

หากไม่อยากทำร้ายลูกโดยไม่รู้ตัว นี่คือ 3 เหตุผลหลักที่อาจทำให้ผู้ปกครองทั้งหลายฉุกคิดมากขึ้นก่อนจะโพสต์รูปเด็กๆ ลงโซเชียล


รุกล้ำความเป็นส่วนตัว
รู้หรือไม่ว่าเด็กๆ อายุแค่ 5 ขวบ ก็จะเริ่มรู้สึกต้องการความเป็นส่วนตัวมากขึ้นแล้ว ทำให้บางครั้งจึงอาจมีปฏิกิริยาว่าชักจะไม่ชอบใจ หรือรู้สึกอายที่คุณพ่อคุณแม่นำรูปของเขาไปโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะรูปตอนยังแบะเบาะ รูปตลกๆ รวมถึงรูปที่อัพเดทพัฒนาการต่างๆ เพราะรู้สึกว่าไม่ได้มีสิทธิเป็นเจ้าของชีวิตตัวเอง


ถูกเพื่อนฝูงนำไปบูลลี่
การที่เราโพสต์รูปลูกตอนเด็กๆ ด้วยความรู้สึกรักหรือเอ็นดูนั้น อาจทำให้เกิดปัญหาที่คาดไม่ถึงกับลูกๆ ในอนาคต เพราะรูปเหล่านั้นอาจถูกเพื่อนฝูงนำไปใช้กลั่นแกล้งหรือบูลลี่ได้ การแชร์รูปลูกในโซเชียลจึงเท่ากับทำร้ายพวกเขาโดยไม่รู้ตัว หากไม่แข็งแกร่งพอก็อาจจะรับมือกับการ Cyberbullying ไม่ได้ และกลายเป็นปมที่ติดตัวไปตลอดชีวิต


เสี่ยงต่อการถูกลักพาตัว
บ่อยครั้งที่พ่อแม่มักจะเผลอโพสต์รูปของลูกๆ พร้อมทั้งเช็กอินสถานที่ด้วยว่าอยู่ที่ใด ซึ่งอาจเป็นการชี้ช่องให้กับมิจฉาชีพได้ การโพสต์รูปลูกกลับจากโรงเรียน  ทั้งที่ใส่ชุดนักเรียนอยู่ จึงเป็นการบอกข้อมูลกับคนร้ายโดยไม่รู้ตัวเพราะมีทั้งชื่อโรงเรียน และชื่อของเด็กๆ ปักอยู่บนเสื้อ

อย่างไรก็ตาม การห้ามไม่ให้พ่อแม่ผู้ปกครองโพสต์รูปลูกๆ ในโซเชียลเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ดังนั้น หากคิดจะแชร์รูปลูกก็ต้องใส่ใจสิ่งต่างๆ เหล่านี้ด้วย

  • ถามความสมัครใจของเด็กๆ เสียก่อนว่าพวกเขาสะดวกใจหรือไม่ หากจะนำรูปไปโพสต์ในโลกออนไลน์
  • ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว (Privacy Setting) ในโซเชียลมีเดียให้เห็นกับเฉพาะกลุ่ม อย่าเปิดเป็นสาธารณะ (Public) ที่ใครๆ ก็สามารถเข้าถึงได้
  • เลือกรูปอย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้ส่งผลเสียต่อเด็กในอนาคต โดยอาจทำ “ลายน้ำ” เพื่อป้องกันมิจฉาชีพหรือผู้ไม่ประสงค์ดีในการนำรูปไปใช้จนก่อให้เกิดความเสียหายได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook