4 เหตุผลที่เด็กวัยต่ำกว่า 2 ขวบควรอยู่ห่างหน้าจอมือถือ

4 เหตุผลที่เด็กวัยต่ำกว่า 2 ขวบควรอยู่ห่างหน้าจอมือถือ

4 เหตุผลที่เด็กวัยต่ำกว่า 2 ขวบควรอยู่ห่างหน้าจอมือถือ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัจจุบันพ่อแม่หลายคนปล่อยให้ลูกเล่นมือถือตั้งแต่อายุยังน้อย อาจจะด้วยความจำเป็นอะไรหลายๆ อย่าง เช่น ต้องทำงานและเพื่อไม่ให้ลูกงอแง หรืออาจจะเป็นเพราะลูกต้องการเอง แต่ทราบหรือไม่ว่าการปล่อยให้ลูกอยู่กับหน้าจอมือถือ โดยเฉพาะในช่วงอายุต่ำกว่า 2 ขวบ มีส่วนทำให้เกิดผลเสียอย่างหนักเลยทีเดียว เราจึงนำเอาเหตุผลสำคัญที่คุณหมอแนะนำให้เด็กในวัยนี้อยู่ห่างหน้าจอมือถือมาแบ่งปันให้คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านได้ทราบกันค่ะ


1.เสี่ยงกล้ามเนื้อมีพัฒนาการที่บกพร่อง
พ่อแม่ต่างทราบกันดีอยู่แล้วว่าเด็กเล็กจำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมให้มีพัฒนาการของกล้ามเนื้อที่ดี เพราะวัยนี้เป็นวัยที่กล้ามเนื้อมัดเล็กกำลังถูกพัฒนา ดังนั้นพ่อแม่จึงควรหากิจกรรมที่เป็นการส่งเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อ เช่น การปั้นดิน เล่นทราย ขีดเขียน เป็นต้น และควรหลีกเลี่ยงจากการจับหรือกดแต่มือถือ เพราะนั่นจะทำให้กล้ามเนื้อของลูกในวัย 2 ขวบมีพัฒนาการที่บกพร่องได้


2.อาจมีปัญหาเรื่องการสื่อสาร
แน่นอนว่าการปล่อยให้ลูกอยู่กับมือถือนานๆ มีโอกาสทำให้ลูกเผชิญกับปัญหาในเรื่องการสื่อสาร และทำให้ทักษะทางภาษาของลูกแย่ลงได้ เนื่องจากมือถือคือการสื่อสารแบบทางเดียว จึงทำให้ลูกไม่ได้รับการฝึกฝนในเรื่องภาษา ซึ่งพ่อแม่สังเกตเองได้เลยว่าการปล่อยให้ลูกในวัยต่ำกว่า 2 ขวบอยู่กับมือถือบ่อยๆ จะเห็นได้ถึงการใช้ภาษาหรือมีทักษะทางภาษาที่แย่ลง


3.เสี่ยงต่อการเป็นไฮเปอร์เทียม
ไฮเปอร์เทียม คือ อาการที่ลูกมีอารมณ์ร้อน รอคอยไม่เป็น ไม่มีความอดทน หรือไม่มีสมาธิ ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ง่ายกับเด็กที่อยู่กับมือถือเป็นเวลานาน โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบ เนื่องจากความเร็วของภาพที่ลูกดูในจอมือถือนั้นมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงส่งผลกระทบต่อสมองให้ทำงานไม่ปกติ และนั่นก็มีส่วนทำให้เด็กไม่สามารถควบคุมสมาธิได้ อีกทั้งยังก่อให้เกิดปัญหาการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นอีกด้วย


4.เสี่ยงมีอาการออทิสติกเทียม
โดยปกติแล้วอาการออทิสติกจะเป็นมาตั้งแต่กำเนิด ในขณะที่อาการออทิสติกเทียมจะเกิดจากการที่ลูกถูกปล่อยให้อยู่กับการสื่อสารทางเดียว เช่น มือถือ ซึ่งการที่ลูกอยู่กับการสื่อสารทางเดียวเป็นเวลานาน ย่อมเสี่ยงต่อการทำให้มีอาการออทิสติกเทียมได้ง่ายมาก


การเล่นมือถือย่อมให้ทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป สำคัญอย่างยิ่งคือการจำกัดเวลาและการควบคุมจากพ่อแม่เพื่อไม่ให้เกิดการสื่อสารทางเดียว ซึ่งพ่อแม่สามารถมีส่วนร่วมในการดูมือถือของลูกเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และการตอบโต้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาทักษะทางภาษาได้ แต่ทั้งนี้ลูกน้อยที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบ พ่อแม่ก็ยังคงไม่ควรให้เล่นมือถือ เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียต่างๆ ตามที่เราได้กล่าวไปข้างต้นนั่นเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook