ปัจจัยเสี่ยงโรคช็อกโกแลตซีสต์กับ 4 วิธีรักษาตามความรุนแรงของอาการ

ปัจจัยเสี่ยงโรคช็อกโกแลตซีสต์กับ 4 วิธีรักษาตามความรุนแรงของอาการ

ปัจจัยเสี่ยงโรคช็อกโกแลตซีสต์กับ 4 วิธีรักษาตามความรุนแรงของอาการ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สาวๆ หลายคนทราบกันดีว่าโรคช็อกโกแลตซีสต์เกิดจากปัจจัยเสี่ยงจากการมีประจำเดือนตั้งแต่อายุยังน้อย มีประจำเดือนมากกว่า 2 ครั้งต่อเดือน หรือมีประจำเดือนมาก ซึ่งปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ถือเป็นเรื่องที่สาวๆ ควรให้ความสำคัญอย่างมาก เพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรงหรือเกิดผลเสียต่อสุขภาพร่างกายได้ รวมทั้งการรู้ถึงอาการและวิธีการรักษาโรคก็ถือเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยด้วยเช่นกัน


โรคช็อกโกแลตซีสต์ คืออะไร

โรคช็อกโกแลตซีสต์ หรือที่รู้จักกันในชื่อโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เป็นโรคที่เกิดมาจากการที่เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกออกมาเมื่อถึงรอบประจำเดือน แล้วไปเจริญเติบโตนอกโพรงมดลูก ในทางการแพทย์เชื่อว่าโรคนี้เกิดจากการที่เลือดประจำเดือนไหลย้อนกลับเข้าไปในอุ้งเชิงกราน ผ่านทางท่อนำไข่ แล้วไปฝังตัวที่รังไข่จนเกิดเป็นถุงน้ำ ซึ่งแต่ละเดือนจะมีขนาดใหญ่ขึ้น


กลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคช็อกโกแลตซีสต์

ในส่วนของกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคช็อกโกแลตซีสต์หรือโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ คือ กลุ่มผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งนับตั้งแต่วัยที่เริ่มมีประจำเดือนไปจนถึงวัยก่อนหมดประจำเดือน เนื่องจากโรคดังกล่าวนี้มีความสัมพันธ์กับฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงนั่นเอง


ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคช็อกโกแลตซีสต์

สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคช็อกโกแลตซีสต์ต่อผู้ป่วยแต่ละรายนั้นมีความแตกต่างกันดังนี้

1.เกิดจากการมีประจำเดือนตั้งแต่อายุยังน้อย

2.เกิดจากการมีประจำเดือนรอบสั้น หรือมีมากกว่า 2 ครั้งต่อเดือน

3.เกิดจากการมีประจำเดือนมาก หรือมีนานกว่า 7 วันต่อครั้ง

4.เกิดจากความผิดปกติเกี่ยวกับทางออกของประจำเดือน เช่น ผู้ป่วยมีรูปากมดลูกเล็กหรือมีเยื่อพรหมจารีเปิด

5.สมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคช็อกโกแลตซีสต์


อาการของโรคช็อกโกแลตซีสต์

ผู้ป่วยแต่ละคนที่เป็นโรคช็อกโกแลตซีสต์จะมีอาการที่แตกต่างกัน ทั้งนี้จะมีอาการบางอย่างที่พบได้บ่อยและสามารถสังเกตเองได้ดังนี้

1.มีอาการปวดท้องน้อยเมื่อมีประจำเดือน และมีอาการปวดมากขึ้นเรื่อยๆ จนต้องกินยาแก้ปวด

2.มีอาการปวดหลัง ปวดเอว และปวดก้นกบร่วมด้วยเวลามีประจำเดือน

3.ในช่วงที่มีประจำเดือน จะมีอาการท้องอืด ท้องเสีย และปวดมากเวลาถ่ายอุจจาระ

4.ขณะมีเพศสัมพันธ์จะมีอาการปวดที่มดลูกหรือบริเวณท้องน้อย

5.เกิดภาวะมีบุตรยาก และไม่สามารถตั้งครรภ์เองได้

6.มีพังผืดเกาะอยู่ที่มดลูกหรือรังไข่


วิธีการรักษาโรคช็อกโกแลตซีสต์

วิธีการรักษาโรคช็อกโกแลตซีสต์จะมีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการดังนี้

1.ใช้ยารักษา

2.ผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง

3.ผ่าตัดผ่านกล้อง 3 มิติ


วิธีการป้องกันโรคช็อกโกแลตซีสต์

วิธีการป้องกันโรคช็อกโกแลตซีสต์ที่ดีที่สุดก็คือ การสังเกตอาการมาประจำเดือนแต่ละครั้งว่ามีอาการปวดท้องมากจนผิดปกติหรือไม่ ประจำเดือนออกมามากหรือน้อยกว่าปกติหรือไม่ ซึ่งหากพบอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง สาวๆ จำเป็นที่จะต้องเข้าไปตรวจร่างกายกับสูตินรีแพทย์เพื่อวินิจฉัยที่ถูกต้องต่อไป จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคร้ายในภายหลังได้

จะเห็นได้ว่าประจำเดือนในแต่ครั้งที่มานั้น ช่วยให้สาวๆ สังเกตได้ด้วยตัวเองว่า มีความเสี่ยงในการเป็นโรคช็อกโกแลตซีสต์หรือไม่ ซึ่งหากรู้สึกถึงความผิดปกติในการมาประจำเดือน หรือมีอาการแทรกซ้อนที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคดังกล่าว แนะนำให้รีบพบแพทย์แต่โดยด่วน จะช่วยลดโอกาสที่จะทำให้เกิดผลเสียอื่นๆ ตามมาได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook