ทาสหมาจะทำอย่างไร? เมื่อโรค “ข้อสะโพกเสื่อม”มาเยือนตูบ

ทาสหมาจะทำอย่างไร? เมื่อโรค “ข้อสะโพกเสื่อม”มาเยือนตูบ

ทาสหมาจะทำอย่างไร? เมื่อโรค “ข้อสะโพกเสื่อม”มาเยือนตูบ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เหล่าทาสหมาคงจะเคยได้ยินเกี่ยวกับโรค “ข้อสะโพกเสื่อม” (Hip dysplasia)  มาแล้วบ้าง แต่ถ้ามันเกิดกับเจ้าตูบของเรา ทาสหมาจะทำอย่างไรดี? เมื่อโรค “ข้อสะโพกเสื่อม” มาเยือนตูบ ซึ่งพบได้ในสุนัขทุกสายพันธุ์ ไม่ว่าจะสุนัขพันธ์เล็กหรือพันธุ์ใหญ่ รวมไปถึงแมว ก็สามารถเป็นได้เช่นกัน ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของการเจริญของข้อต่อบริเวณสะโพก และก่อให้เกิดการเสื่อมของข้อต่อตามมาได้ในอนาคต

น.สพ.บูรพงษ์ สุธีรัตน์ (หมอตั๋ง) สัตวแพทย์แผนกระบบกระดูกและข้อต่อโรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน ให้คำแนะนำวิธีการรักษามีทั้งวิธีที่ต้องผ่าตัดและแบบที่ไม่ต้องผ่าตัด การพิจารณาเลือกวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค อายุ และสุขภาพของสุนัข ซึ่งจะมีการแบ่งลักษณะอาการร่วมกับการเอ็กซเรย์เพื่อวินิจฉัยว่าปัญหาเกิดจากส่วนไหน โดยวิธีรักษามี 2 วิธี ดังนี้

1.การกินยา

การรักษาด้วยวิธีนี้ สุนัขจะได้ยาลดปวด ซึ่งจะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดจากอาการของเขาได้ หลังจากทานยาเจ้าของควรสังเกตว่าน้องหมาเดินได้ดีขึ้นไหม หรือทำกิจกรรมอื่นเป็นอย่างไร ถ้าเขาดีขึ้นอาจใช้วิธีอื่นร่วมประกอบในการรักษาด้วย เช่น ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย ควบคุมปริมาณอาหาร ฯลฯ กล้ามเนื้อจะแข็งแรงขึ้นโดยไม่ต้องผ่าตัด และถ้าเจาตูบไม่อยากเดินออกกำลังกาย ก็สามารถพาว่ายน้ำแทนได้ อาการต่าง ๆ ก็จะดีขึ้น ถ้าให้ยาควบคู่กับการออกกำลังกายแล้วดีขึ้น น้องหมามีการเคลื่อนไหวที่มากขึ้นก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด

2.การผ่าตัด

หากให้ยาแล้วไม่ดีขึ้นในสิบวันหรือสองอาทิตย์ การผ่าตัดจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ดูแล โดยจะมีวิธีผ่าตัด 2 แบบ คือ

-          ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก
เพื่อทำให้การรับน้ำหนักและการใช้ขาของสุนัขกลับมาเป็นปกติ จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและช่วยให้น้องหมาเคลื่อนไหวหรือเดินได้สะดวกขึ้น วิธีนี้จะเห็นผลภายใน 2-3 วัน หลังผ่าตัด แต่ข้อเสียคือเจ้าของต้องดูแลเยอะหลังผ่าตัดในช่วงเดือนแรกและค่าใช้จ่ายสูง

-          ผ่าตัดหัวกระดูกออก
วิธีนี้อนุโลมให้สุนัขที่หนักน้อยกว่า 17 กิโลกรัมเท่านั้น เนื่องจากสุนัขต้องใช้กล้ามเนื้อสะโพกในการรับน้ำหนัก หากกล้ามเนื้อน้องหมาไม่แข็งแรงก็อาจจะเดินยากหรือเดินไม่ได้ หลังผ่าตัดจึงต้องพาน้องมาทำกายภาพเพื่อให้เขาใช้ขาได้เร็วที่สุด หากผ่าตัดวิธีนี้จะไม่สามารถบอกได้ว่าสุนัขจะใช้ขาเดินได้เมื่อไหร่ เพราะผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับการดูแลและการทำกายภาพบำบัด
 

หลังจากรักษาด้วยการผ่าตัด ในช่วงเดือนแรกเจ้าของไม่ควรให้น้องหมาวิ่งหรือกระโดด อาจพาเขาเดินได้สั้นๆ เมื่อกล้ามเนื้อทั้งหมดเริ่มมั่นคงจึงค่อยปล่อยให้เขาได้เดินหรือใช้ชีวิต อีกทั้งเจ้าของสุนัขควรมีการควบคุมน้ำหนักตัว ควบคุมปริมาณอาหาร และพาเขาออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เช่น ว่ายน้ำ เดินเล่น ฯลฯ

ซึ่งการทำกายภาพบำบัดร่วมกับการออกกำลังกายจะช่วยสุนัขเคลื่อนไหวได้ตามปกติ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกลุกนั่ง การกระตุ้นไฟฟ้า การนวดอัลตร้าซาวด์ หรือการเลเซอร์ลดความเจ็บปวด ข้อดีของการรักษาโดยการกายภาพบำบัด คือ เป็นวิธีที่มีผลข้างเคียงน้อย สามารถลดความเจ็บปวดได้ดี ทำให้สุนัขกลับมาเดินได้ดีอีกครั้งและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02-887-8321-3 , Facebook : https://www.facebook.com/talingchanpetfanpage หรือ ทาง Line : @Talingchanpet หรือ https://www.talingchanpet.net/  

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook