สังเกตด่วน! ลูกมีขี้แมลงวัน อาจเสี่ยงเป็นมะเร็งไฝหรือเปล่า

สังเกตด่วน! ลูกมีขี้แมลงวัน อาจเสี่ยงเป็นมะเร็งไฝหรือเปล่า

สังเกตด่วน! ลูกมีขี้แมลงวัน อาจเสี่ยงเป็นมะเร็งไฝหรือเปล่า
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผิวพรรณของเด็กส่วนใหญ่จะนุ่มนวลเกลี้ยงเกลาน่าสัมผัส แต่มีเด็กอีกไม่น้อยที่มีไฝและขี้แมลงวันเกิดขึ้นบนผิวหนังจากจุดเล็กๆ สีจางๆ จนถึงเม็ดใหญ่นูนสีเข้มที่เรียกว่าไฝ ซึ่งทำให้มองดูแล้วขัดใจคุณแม่ยิ่งนัก คุณแม่หลายคนจึงรู้สึกสงสัยว่าไฝ และขี้แมลงวันเหล่านี้ หากปล่อยไว้นาน จะทำให้เกิดอันตรายต่อลูกน้อย หรือมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดเป็นมะเร็งได้หรือไม่ ดังนั้นมาดูกันเลยค่ะ

ขี้แมลงวันในเด็ก เกิดจากอะไร
ขี้แมลงวันในเด็ก เกิดขึ้นจากความผิดปกติของเซลล์สร้างเม็ดสีบนผิวหนัง ซึ่งชื่อว่า เมลาโนไซต์ ที่มีการสร้างเม็ดสีมากบริเวณใด ก็จะทำให้เกิดเป็นจุดขี้แมลงวันตรงจุดนั้นได้ โดยมีลักษณะทั้งเป็นจุดเล็กๆ จุดเดียว หรือเป็นจุดกระจายรอบๆ บริเวณ ทั้งเม็ดเล็กและเม็ดใหญ่ เมื่อเด็กโตขึ้นการได้รับสิ่งกระตุ้นจากแสงแดดก็อาจส่งผลให้มีความเข้มของเม็ดสีเพิ่มได้อีก จะมากหรือน้อยก็อยู่ที่สภาพแวดล้อมที่เด็กได้รับด้วย

ขี้แมลงวันแบบไหน อาจเสี่ยงมะเร็งไฝ
โดยปกติขี้แมลงวันไม่ได้เป็นอันตรายใดๆ สามารถอยู่บนผิวหนังได้ตลอดชีวิต เว้นเสียแต่ว่าเกิดในตำแหน่งที่มองดูแล้วไม่สบายตา หรือเกิดความรำคาญกับเจ้าของ สามารถไปให้แพทย์ทำการจี้ หรือยิงเลเซอร์ออกได้ แต่มีขี้แมลงวันอีกประเภทที่ควรกำจัดออกไป เพราะหากปล่อยไว้อาจมีความเสี่ยงของมะเร็งได้ ซึ่งมีลักษณะผิดปกติควรกำจัดออก โดยเม็ดไฝและขี้แมลงวันที่ควรกำจัดมีลักษณะดังนี้

1. เม็ดขี้แมลงวันมีสีดำเข้มผิดปกติกว่าจุดอื่นๆ

2. มีสีที่ไม่สม่ำเสมอ หรือเกิดการเปลี่ยนสีอย่างรวดเร็ว

3. ขี้แมลงวันหรือไฝที่มีขอบไม่เรียบ

4. เม็ดไฝมีขนาดใหญ่มากขึ้นตลอดเวลา หากมีการโตขึ้นเกิน 5 มิลลิเมตร ควรรีบไปพบแพทย์

แนวทางการรักษา
การรักษาไฝและขี้แมลงวันในเด็ก จำเป็นต้องรอให้ลูกมีอายุ 10 ปีขึ้นไปก่อน ถึงจะทำการรักษาได้ เพราะขณะที่เด็กที่ยังเล็กไม่อาจจะสังเกตได้แน่ชัดว่า เม็ดสีที่เกิดขึ้นนั้นจะมีลักษณะเป็นเพียงขี้แมลงวัน กระ เป็นไฝ หรืออาจจะเป็นปานก็ได้ ฉะนั้นการรอให้ลูกเจริญเติบโตจนอายุ 10 ขวบ และทำการรักษาก็จะทำให้ได้ผลที่ชัดเจนมากกว่า ซึ่งแนวทางในการรักษาสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

1.การจี้ไฟฟ้า (Electrocautery) โดยการปล่อยกระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นที่ไฝหรือขี้แมลงวัน เพื่อให้เซลล์ค่อยๆ แห้งและสลายตัวไป

2.การแต้มกรด TCA เพื่อเข้าไปทำปฏิกิริยากับไฝและขี้แมลงวัน จนเนื้อไฝมีการกัดกร่อนจนหลุดออกมาในที่สุด ส่วนการผ่าตัด จะทำในกรณีที่ไฝมีขนาดใหญ่และฝังลึกลงไปใต้ผิวหนัง

3.การผ่าตัด แพทย์จะเริ่มทำการผ่าตัด โดยทายาฆ่าเชื้อบริเวณผิวที่มีไฝ พร้อมทั้งฉีดยาชาตรงผิวหนังที่จะผ่าตัด รอให้ยาชาออกฤทธิ์ จึงเริ่มผ่าตัด โดยใช้เครื่องมือเฉพาะทางทำการผ่าตัดไฝ จะตัดลงไปลึกจนถึงที่ชั้นรากของไฝ แล้วนำออกมาทั้งก้อน และดูจนแน่ใจว่าไม่มีรากไฝหลงเหลืออยู่แล้ว จึงทำการซับเลือดให้แห้งแล้วเย็บรอยแผลให้ติดกัน ปิดทับด้วยพลาสเตอร์

4.การยิงเลเซอร์ เป็นวิธีที่นิยมทำกันมากที่สุด ซึ่งการรักษาด้วยเลเซอร์จะนำแสงเลเซอร์ (CO2) มาช่วยสลายจุดดำจากไฝหรือขี้แมลงวันโดยไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ หรือมีเลือดออกในขณะทำการรักษาด้วยการยิงเลเซอร์ ระยะเวลาก็ทำได้รวดเร็ว อีกทั้งยังสามารถกำจัดไฝ ขี้แมลงวัน ให้หลุดออกได้ครั้งละหลายๆ เม็ด เมื่อทำเสร็จแพทย์จะสั่งยาให้ทา เพื่อป้องกันการติดเชื้อ พร้อมทั้งมีการปิดพลาสเตอร์ไว้เพื่อป้องกันไม่ให้แผลโดนน้ำ โดยส่วนใหญ่รอยแผลจะหายไปได้ในระยะเวลา 1 เดือน

5.การรักษาด้วยสารธรรมชาติ หากลูกมีอายุ 10 ปีขึ้นไปแล้ว ถ้ามีไฝหรือขี้แมลงวันเป็นจุดไม่โตมาก อาจจะใช้สารจากธรรมชาติมาจี้ที่จุดขี้แมลงวันก็ได้ โดยส่วนใหญ่ที่นิยมใช้คือ

  • ปูนแดงที่กินกับหมาก โดยนำปูนแดง 1 ช้อนชา มาผสมกับน้ำสบู่หรือสบู่เหลว 1 ช้อนชา คนจนเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน หลังจากนั้นใช้ไม้จิ้มฟันแตะมาป้ายบริเวณที่มีขี้แมลงวันทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วจึงเอาผ้าชุบน้ำเช็ดออก ทำซ้ำจนกว่าเม็ดสีอ่อนลงหรือหายไปในที่สุด

  • น้ำมะนาวนำน้ำมะนาวชุบก้านสำลีแล้วนำมาป้ายที่ขี้แมลงวันทุกวันจนกว่าจะหลุด

  • ใช้แอปเปิ้ลไซเดอร์โดยการผสมน้ำกับแอปเปิ้ลไซเดอร์เท่าตัว แล้วใช้ก้านสำลีชุบ นำมาทาที่จุดดำของขี้แมลงวัน

  • ใช้ยางมะละกอซึ่งประกอบไปด้วยเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายโปรตีนได้ดี โดยหากจะนำมาเพื่อกำจัดจุดขี้แมลงวันและไฝบนผิวหนังนั้น ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้ผิวหนังส่วนที่ดีเสียหายได้ วิธีใช้ นำยางมะละกอป้ายด้วยไม้จิ้มฟันแล้วนำมาแต้มตรงจุดที่ต้องการแก้ไข เมื่อเม็ดสีเริ่มจางลงแล้ว ควรลดปริมาณการใช้ให้น้อยลง



ผิวของลูกน้อยที่มีไฝและขี้แมลงวันเกิดขึ้น จะเจริญเติบโตตามวัยอย่างช้าๆ ในวัยที่โตขึ้น เม็ดสีจะเข้มขึ้น และขนาดใหญ่ขึ้นด้วยหรือไม่ ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า คุณแม่ทำได้เพียงหมั่นดูแล สังเกตุ หากมีความผิดปกติตามที่กล่าวมาแล้วก็ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนัง หากแพทย์ตรวจแล้วว่าผิดปกติก็กำจัดออกไป ส่วนในรายที่ไฝหรือขี้แมลงวันเกิดขึ้นบนใบหน้าก็สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อกำจัดออกได้ทันทีเมื่อลูกถึงวัยที่สมควร

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook