การป้องกันการตั้งครรภ์ ทำได้กี่วิธี เลือกแบบไหนดีที่สุด

การป้องกันการตั้งครรภ์ ทำได้กี่วิธี เลือกแบบไหนดีที่สุด

การป้องกันการตั้งครรภ์ ทำได้กี่วิธี เลือกแบบไหนดีที่สุด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การป้องกันการตั้งครรภ์ มีหลายวิธีให้เลือกแต่ที่คุณแม่นิยมใช้กันมี ทั้งการกินยาคุมกำเนิด การใช้ยาฉีด และวิธีคุมกำเนิดแบบอื่นๆ ซึ่งล้วนแต่ช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ทั้งสิ้น แต่จะเลือกใช้วิธีคุมกำเนิดแบบไหนดีจึงจะเหมาะสม และเป็นวิธีที่ดีที่สุด มาดูกันเลยค่ะ


การป้องกันการตั้งครรภ์ มีวิธีไหนบ้าง
การป้องกันการตั้งครรภ์มีหลายวิธีด้วยกัน แต่ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันมีดังนี้


1.ยาเม็ดคุมกำเนิด
การกินยาคุมกำเนิด เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมาก แต่ต้องกินอย่างถูกต้องห้ามลืมกินยาคุม จึงจะส่งเสริมประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดให้ดีมากขึ้น ซึ่งยาคุมกำเนิดที่ขายในร้านขายยา มี 2 ชนิด คือ ชนิด 28 เม็ด และ 21 เม็ด สามารถให้ผลในการคุมกำเนิดไม่แตกต่างกันเลย เพียงแต่ยาคุมกำเนิดชนิด 28 เม็ด จะเพิ่มวิตามินมาอีก 7 เม็ด เพื่อให้ผู้หญิงที่กินยาคุมกำเนิด กินได้อย่างต่อเนื่อง และไม่ลืมกินยา จะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ผลแน่นอนนั่นเอง


2.แผ่นแปะคุมกำเนิด
เป็นวิธีคุมกำเนิด ที่ได้รับการยอมรับ สำหรับใช้เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ โดยการใช้แผ่นแปะที่ผิวหนังเพื่อคุมกำเนิด ซึ่งยาในแผ่นแปะจะออกฤทธิ์ และมีประสิทธิภาพแบบเดียวกันกับยาคุมกำเนิดชนิดเม็ด แต่แบบแผ่นแปะใช้สะดวกกว่ามาก สามารถนำแผ่นแปะคุมกำเนิดมาติดที่ผิวหนัง บริเวณสะโพก หน้าท้อง ต้นแขนด้านนอก และแผ่นหลังด้านบน เมื่อแปะแล้วตัวยาจะซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือด ประสิทธิภาพใช้ได้ดีเทียบเท่ากับการกินยาเม็ดคุมกำเนิด แต่สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน 90 ประสิทธิภาพจะลดลง


3.ยาฉีดคุมกำเนิด
ยาฉีดคุมกำเนิด เป็นวิธีการคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ที่ได้ผลดี และนิยมใช้กันมากวิธีหนึ่ง เพราะหมดกังวลกับปัญหาการลืมกินยา หรือลืมแปะแผ่นยา ผู้ที่ต้องการคุมกำเนิดสามารถเข้ารับบริการฉีดยาคุมกำเนิดตามคลีนิค อนามัย หรือโรงพยาบาลต่างๆ ได้ง่ายโดยยาฉีดคุมกำเนิดมีให้เลือก 3 ชนิด ได้แก่ ชนิด 1 เดือน ชนิด 2 เดือน  และ 3 เดือน แล้วแต่ความสะดวกในการเลือกใช้ ซึ่งล้วนแต่มีผลในการการป้องกันการตั้งครรภ์ ได้ดีทั้งสิ้น


4.ยาฝังคุมกำเนิด
การฝังยาคุมกำเนิด เป็นวิธีคุมกำเนิดที่ใช้ป้องกันการตั้งครรภ์ได้ผลดี และมีประสิทธิภาพสูง ส่วนใหญ่จะใช้ฝังให้กับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ในผู้ที่มีปัญหาแต่งงานก่อนวัยอันควร และยังขาดความมีวินัยในการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดอื่น ซึ่งช่วงวัยนี้จะให้บริการฝังยาคุมกำเนิดให้ฟรีที่โรงพยาบาลของรัฐ ส่วนผู้ที่อายุมากกว่า 20 ปีขึ้นไป เสียค่าใช้จ่าย ในราคา 2,000-2,500 บาท จะให้ผลในการคุมกำเนิดได้นาน 3-5 ปี ตามชนิดของยา


5.ใส่ห่วงอนามัย
การใส่ห่วงอนามัยเป็นวิธีคุมกำเนิด เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ที่มีมานานพอๆ กับการกินยาคุมกำเนิด ซึ่งการใส่ห่วงอนามัย สามารถคุมกำเนิดได้อย่างประสิทธิภาพสูง โดยห่วงที่ใช้มีลักษณะเป็นเหมือนรูปตัว T ขดไปมาในมดลูก เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ไข่ฝังตัวได้ จึงใช้เป็นการป้องกันการตั้งครรภ์ในคุณแม่ ที่ต้องการเว้นระยะห่างของการมีบุตร คุณแม่สามารถรับบริการใส่ห่วงคุมกำเนิดได้ที่ตามสถานพยาบาลใกล้บ้านได้ แต่มีข้อควรระวังสำหรับผู้ที่ใส่ห่วงคุมกำเนิด เพราะอาจมีห่วงหลุดออกมา ทำให้การป้องกันตั้งครรภ์ไม่ได้ผล


6.ยาคุมฉุกเฉิน
การใช้ยาคุมชนิดฉุกเฉินเป็นวิธีคุมกำเนิดเพื่อ ป้องกันการตั้งครรภ์ ที่ใช้หลังจากมีเพศสัมพันธ์ ในกรณีฉุกเฉินจริงๆ เช่น ลืมคุมกำเนิดโดยวิธีอื่น หรือใช้การคุมกำเนิดโดยวิธีอื่นแล้ว แต่เกิดการผิดพลาด รวมถึงการใช้ในกรณีถูกข่มขืนกระทำชำเราก็สามารถกินเพื่อช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ แต่มีข้อควรระวังไม่ควรนำยาคุมฉุกเฉิน มาใช้แทนวิธีการคุมกำเนิดปกติ เพราะวิธีนี้มีประสิทธิภาพต่ำ และทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้สูง นอกจากนี้เมื่อใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดปัญหาการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้ และห้ามใช้เกิน 2 กล่องใน 1 เดือน

ใครบ้างที่ควรคุมกำเนิด
ผู้หญิงที่จะคุมกำเนิด ต้องอยู่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์ คือตั้งแต่เริ่มมีประจำเดือน ไปจนกระทั่งถึงวัยหมดประจำเดือน ที่จำเป็นจะต้องมีเพศสัมพันธ์ จะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ สำหรับผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือนแล้ว แต่ยังไม่ครบ 2 ปีหลังประจำเดือนหมด และยังคงมีเพศสัมพันธ์อยู่ ก็ควรต้องคุมกำเนิด ด้วยวิธีอื่นๆ ต่อไปจนกว่าประจำเดือนไม่มาแบบถาวรเกิน 1 ปีแล้ว เพื่อป้องกันลูกหลงที่อาจเกิดขึ้นได้

การป้องกันการตั้งครรภ์ด้วยวิธีที่ได้แนะนำมาในบทความนี้ ล้วนแต่เป็นวิธีที่สูตินารีแพทย์ให้คำแนะนำกับสตรีวัยเจริญพันธ์ได้ใช้เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์อย่างได้ผลเกือบเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ และใช้กันอย่างแพร่หลาย จึงเหมาะสมที่คุณแม่จะพิจารณาเพื่อนำมาใช้กับตนเอง และประกอบการตัดสินใจร่วมกับคำแนะนำของแพทย์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook