4 ผลไม้ที่แม่ให้นมลูกควรเลี่ยงให้ไกล ถ้าไม่อยากให้ลูกป่วย!

4 ผลไม้ที่แม่ให้นมลูกควรเลี่ยงให้ไกล ถ้าไม่อยากให้ลูกป่วย!

4 ผลไม้ที่แม่ให้นมลูกควรเลี่ยงให้ไกล ถ้าไม่อยากให้ลูกป่วย!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แม้ว่าผลไม้จะมีประโยชน์ต่อร่างกายของคุณแม่หลังคลอดเป็นอย่างมาก แต่ผลไม้บางชนิดกลับไม่เหมาะให้คุณแม่ได้รับประทาน เพราะอาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายของทั้งแม่และเด็กได้ เนื่องมาจากต้องให้นมบุตรอยู่ตลอด ซึ่งถ้ารับประทานผลไม้เหล่านี้ อาจจะก่อให้เกิดปัญหาต่อทั้งตัวคุณแม่และลูกน้อย ดังนั้นลองมาดูว่าผลไม้ใดบ้างที่ควรหลีกเลี่ยงหลังการคลอดบุตร ดังนี้


1.เชอรี่
เชอรี่เป็นหนึ่งในผลไม้ที่คุณแม่ให้นมลูกควรหลีกเลี่ยง เพราะภายในผลเชอรี่จะมีก๊าซเป็นจำนวนมาก เมื่อคุณแม่รับประทานแล้วอาจจะส่งต่อก๊าซนี้ไปสู่ลูกน้อยในขณะให้นม จึงอาจก่อให้เกิดอันตรายในระบบทางเดินอาหารของเด็กได้ ที่สำคัญคือเด็กอาจเกิดอาการแพ้และอาการท้องอืด จนทำให้เป็นปัญหาต่อสุขภาพโดยรวม


2.ผลเบอร์รี่
ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ที่มีรสชาติเปรี้ยว เป็นอีกหนึ่งชนิดที่ไม่ควรรับประทาน เพราะอาจส่งต่อก๊าซอันตรายไปสู่ลูกผ่านทางน้ำนม จึงทำให้เสี่ยงต่อการท้องเสีย ท้องอืด และเกิดปัญหาต่อระบบทางเดินอาหาร ทั้งยังเสี่ยงต่ออาการแพ้ แต่ผลไม้ ตระกูลเบอร์รี่ที่คุณแม่สามารถรับประทานได้ คือ บลูเบอร์รี่เพียงชนิดเดียว เพราะอุดมไปด้วยสารอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยเพิ่มพลังงาน ทำให้ทั้งคุณแม่และลูกน้อยมีร่างกายแข็งแรงมากขึ้น


3.ส้ม
แม้ว่าส้มจะให้วิตามินซีสูง แต่ด้วยรสชาติที่เปรี้ยวและกลิ่นที่ค่อนข้างฉุน อาจจะทำให้ไม่ถูกปากเด็ก ๆ ได้ ซึ่งกลิ่นของส้มนั้นอาจจะพาให้เด็กรู้สึกหงุดหงิดและมีปัญหาต่อการกินนมมากพอสมควร นอกจากนี้เด็กบางคนอาจเกิดอาการอาเจียนได้ ที่สำคัญคือในส้มมีกรดมากพอสมควร จึงทำให้ระคายเคืองทางเดินอาหารของลูกน้อยได้เช่นกัน


4.ลูกพรุน
ลูกพรุนถือเป็นผลไม้ในตระกูลเดียวกับเชอรี่ ที่เมื่อคุณแม่รับทานแล้วอาจสร้างก๊าซภายในกระเพาะอาหารและส่งผลไปถึงนมแม่ พร้อมส่งต่อไปสู่ลูก จึงทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารและลำไส้ได้ง่าย พร้อมก่อให้เกิดอาการท้องอืดและอาการแพ้ภายในเด็กได้ง่ายด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานลูกพรุนในขณะให้นมบุตร


ผลไม้หลายชนิดที่มีรสชาติอร่อยและถูกปากคุณแม่ อาจจะไม่ดีต่อสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยในช่วงให้นม ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงไปก่อน จนกว่าจะหยุดการให้นมแล้วจึงค่อยกลับมารับประทานใหม่อีกครั้ง เพื่อทำให้ทั้งคุณแม่และลูกไม่ต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพที่อาจจะสร้างความกังวลมากขึ้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook