ช่วยด้วย! เจาะหูแล้วเป็นแผลนูนคีลอยด์

ช่วยด้วย! เจาะหูแล้วเป็นแผลนูนคีลอยด์

ช่วยด้วย! เจาะหูแล้วเป็นแผลนูนคีลอยด์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลายคนไปเจาะหูมาแต่ปรากฏว่าเกิดแผลเป็นนูนขึ้นที่หู ถ้าปล่อยไว้นานยิ่งกลายเป็นแผลใหญ่ นูนแข็ง จนทำให้หูผิดรูปไปเลยก็มี แผลนูนแบบนี้เรียกว่าคีลอยด์ มีสาเหตุมาจากการซ่อมแซมของชั้นผิวหนังที่มากผิดปกติ จนขยายใหญ่ขึ้นมากกว่าเดิม กลายเป็นแผลนูนบนผิวหนัง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และเป็นกรรมพันธุ์ได้ด้วย หากใครมีคีลอยด์ที่หูย่อมเป็นจุดเด่นและสร้างความไม่มั่นใจ ส่วนวิธีรักษาแผลนูนหรือคีลอยด์ที่หู มีดังนี้ค่ะ


ใช้แผ่นผ้าหรือซิลิโคนแปะไว้

เป็นวิธีการรักษาที่ง่ายที่สุด ใช้กับแผลนูนหรือคีลอยด์ที่มีขนาดเล็กและเพิ่งเป็นใหม่ๆ โดยเป็นหลักการกดทับลงบนแผลเพื่อคุมขนาดของคีลอยด์ไม่ให้โตขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการป้องกันไม่ให้คีลอยด์สัมผัสกับอากาศ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเติบโตของคีลอยด์ ส่วนวิธีการรักษาคือปิดผ้าบริเวณที่เป็นแผลวันละ 12-24 ชั่วโมง ถือเป็นวิธีที่ง่ายและช่วยให้แผลนูนที่เกิดจากการเจาะหูยุบตัวลงได้มาก


ฉีดยาให้ยุบ


วิธีนี้ต้องไปพบแพทย์ และให้แพทย์ฉีดยาที่มีสเตียรอยด์ให้ โดยตัวยาจะเข้าไปกระตุ้นการสร้างหลอดเลือดแดงใต้ชั้นผิว ทำให้คีลอยด์ยุบตัวลง ลดขนาดของคีลอยด์ หรือชะลอการเติบโตของคีลอยด์ ซึ่งการรักษาด้วยตัวยาแต่ละชนิดจะขึ้นอยู่กับลักษณะของคีลอยด์และดุลยพินิจของแพทย์ แต่การรักษาด้วยวิธีการฉีดยาจะมีผลข้างเคียงคือผิวหนังบริเวณดังกล่าวจะมีสีแดงขึ้นหรือซีดลง และต้องฉีดหลายครั้งกว่าจะยุบ


ผ่าตัดออก


ส่วนใครอยากเอาออกแบบรวดเร็ว ก็สามารถผ่าตัดออกได้ แต่ถ้าเป็นคนที่เกิดแผลคีลอยด์ได้ง่าย การผ่าตัดก็อาจจะทำให้มีคีลอยด์ขึ้นใหม่ในจุดที่ผ่าตัดออกเช่นกัน แม้ว่าผิวหนังที่เป็นคีลอยด์จะถูกตัดออกไปแล้วก็ตาม ดังนั้นแพทย์ส่วนใหญ่จึงมักเลือกใช้วิธีการผ่าตัดควบคู่กับการรักษาด้วยวิธีอื่น เช่น ใช้แผ่นแปะกดบริเวณแผลผ่าตัดนานหลายเดือน หรือฉีดยา ฉายรังสี ควบคู่ไปด้วย


ทำเลเซอร์


เป็นการรักษาโดยการปล่อยคลื่นแสงความถี่สูงขนาดเล็กไปยังรอยแผล เพื่อให้คีลอยด์เรียบแบนและดูจางลง ซึ่งถือเป็นวิธีที่ง่ายและปลอดภัย แต่การรักษาด้วยเลเซอร์อาจต้องทำหลายครั้งจึงจะเห็นผล และมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook