เตือนภัยบนความแซ่บ ผักในส้มตำอันไหนอันตรายที่สุด?
แค่ขึ้นต้นด้วยส้มตำ ความแซ่บ ความเผ็ด ความนัวก็ชวนทำให้ใครหลายๆคนน้ำลายไหลกันแล้ว ส้มตำเป็นยำผักแบบพื้นบ้านในราคาถูกแสนถูก ที่จะกินเอาอิ่มก็ได้ กินเพื่อสุขภาพก็ดี แต่รู้กันหรือเปล่าว่าผักบางชนิดบนจานส้มตำนี้ อาจสร้างสารพิษมากกว่าวิตามิน วันนี้ iNN Lifestyle รวบรวมมาให้ระวังกันแล้ว
- ถั่วฝักยาว
ใต้ความกรุบกรอบของถั่วฝักยาวดิบนั้นเต็มไปด้วยแก๊สมีแทนและคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อกินเข้าไปแล้วจะทำให้เกิดกรดในกระเพาะอาหารและกลายเป็นแก๊สจำนวนมากส่งผลให้รู้สึกท้องอืด แน่นท้อง อยากเรอหรือผายลมตลอดเวลา รวมถึงมีสารเลคตินที่อาจทำให้ท้องเสียได้
- กะหล่ำปลี
กะหล่ำปลีมีสารออกซาเลต (Oxalate) สามารถก่อให้เกิดโรคนิ่วได้เมื่อทานเข้าไปมากๆ รวมถึงคนที่เป็นโรคไทรอยด์ควรหลีกเลี่ยงให้มากที่สุดเพราะสารกอยโตเจน (Goitrogen) ในกะหล่ำปลีดิบจะเข้าไปยับยั้งการสร้างฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ในร่างกายของเรา ทำให้ทำงานยากกว่าเดิม
- ถั่วงอกดิบ
จริงๆ แล้วในถั่วงอกไม่มีสารพิษที่ก่ออันตรายให้กับร่างกาย แต่ด้วยลักษณะการปลูกที่อาศัยความชื้นในการเจริญเติบโต ไม่เพียงแต่ถั่วเขียวจะกลายเป็นถั่วงอกให้เราทาน แต่ยังเพาะพันธ์เชื้อราและแบคทีเรียอย่างอีโคไลปะปนมากับผักชนิดนี้ด้วย ควรฆ่าเชื้อด้วยการปรุงให้สุขจะปลอดภัยกว่า
- หน่อไม้ดิบ
ตามปกติหน่อไม้ที่นำมาเคียงกับส้มตำจะผ่านการต้มมาก่อเพื่อทำให้ความแข็งลดลง รวมทั้งการต้มในน้ำเดือดเป็นเวลานานจะช่วยฆ่าเชื้อไซยาไนด์ ที่เป็นสารพิษประเภทเดียวกับยาฆ่าแมลงออกไปได้ หากทานหน่อไม้ดิบเป็นจำนวนมากพิษดังกล่าวอาจสะสมในร่างกายจนถึงขั้นอดกินส้มตำตลอดชีวิตได้เลย
ถึงผักจะมีประโยชน์ต่อร่างกายแต่ก็มีสารพิษปะปนอยู่ด้วยเช่นเดียวกัน เราเข้าใจว่ากินส้มตำอย่างเดียวมันไม่อร่อยต้องอาศัยความกรุบกรอบของผักเพิ่มรสนัวเข้าไปในปาก หากมื้อถัดไปเป็นอาหารอีสานล่ะก็ แนะนำให้กินน้อยๆ แต่หลากหลายจะดีกว่า เพื่อสุขอนามัยที่ดี คอส้มตำ Lover จะได้แซ่บซุยกันต่อไปยาวๆ หากชอบบทความสุขภาพและไลฟ์สไตล์แวะมาอ่านไปแซ่บไปได้ที่ iNN Lifestyle