เตรียมพร้อมกายใจลูกน้อยเจนอัลฟ่าอย่างไร ในวันที่โลกที่ไม่เหมือนเดิม

เตรียมพร้อมกายใจลูกน้อยเจนอัลฟ่าอย่างไร ในวันที่โลกที่ไม่เหมือนเดิม

เตรียมพร้อมกายใจลูกน้อยเจนอัลฟ่าอย่างไร ในวันที่โลกที่ไม่เหมือนเดิม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“โลกที่ไม่เหมือนเดิมของเด็กในเจเนอเรชันอัลฟ่า เป็นโลกที่สภาวะทางสังคมและรูปแบบการใช้ชีวิตเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว สิ่งที่พ่อแม่ต้องฝึกให้ลูกในเจนนี้ได้เรียนรู้มากที่สุดคือทักษะชีวิต พ่อ แม่ สามารถออกแบบบ้าน ให้กลายเป็นพื้นที่ในการเรียนรู้ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดี สร้างความสุข และหล่อหลอมให้ลูกได้ลงมือทำจริง รวมถึงตัวพ่อแม่เองก็สามารถเป็นของเล่นให้ลูกได้เช่นกัน” บทสรุปปิดท้ายจาก นางกนกทิพย์ ปริญญานุสสรณ์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาและสื่อสารโภชนาการเพื่อสุขภาพ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ในกิจกรรมเวิร์คช็อปแบบไฮบริด 1 วันสร้างสุขให้ลูกเปลี่ยน (ปี 4) ตอน เตรียมพร้อมกายใจลูกเจนอัลฟ่าสู่โลกที่ไม่เหมือนเดิม โดย โครงการเนสท์เล่เพื่อเด็กสุขภาพดี (Nestlé  for Healthier Kids) จาก บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ผนึกกำลังร่วมกับ mappa  องค์กรที่เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ ผ่านการนำเสนอวิธีการสร้างการเรียนรู้ของครอบครัวให้เป็นส่วนหนึ่งของความสุข และสนุกในชีวิตประจำวัน กับกิจกรรมในรูปแบบใหม่ร่วมกันเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อแชร์เทคนิค เคล็ดลับให้คุณพ่อคุณแม่ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จากกิจกรรมและเกมต่าง ๆ ที่ลูก ๆ และพ่อแม่ได้ลงมือปฏิบัติจริง เพราะการเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการลงมือทำ

 

“การร่วมทำกิจกรรมด้วยความเต็มใจ ไม่บังคับ จะช่วยพัฒนาสมองเด็กได้ดีที่สุด และเป็นสิ่งที่ พ่อ แม่ สามารถช่วยกันสร้างทักษะสมอง หรือ EF (Executive Function)  และทักษะชีวิตให้ลูกน้อยในเจนอัลฟ่าได้ แต่ต้องเป็นกิจกรรมที่ลูกเต็มใจทำด้วยตัวเอง ไม่ได้เกิดจากการบังคับ ให้เด็กส่วนร่วมในการตั้งคำถาม นำเสนอวิธีการด้วยตัวเอง เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยพัฒนาสมองและช่วยให้เด็กรู้สึกได้ถึงความเป็นผู้นำ เมื่อใดก็ตามที่เขามีความคิดอยากจะทำอะไรและทำสำเร็จ สมองส่วนหน้าซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมพฤติกรรม การแก้ปัญหา การวางแผน ควบคุมอารมณ์จะถูกใช้งานมากขึ้น ทำให้เด็กแก้ปัญหาได้ดี ดำเนินชีวิตได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้การทำกิจกรรมร่วมกันระหว่าง พี่ น้อง ยังจะช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดี และสร้างความรู้สึกให้เป็นทีมเดียวกันอีกด้วย พ่อแม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ กับลูกได้ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรม หรือเกมที่ใช้พื้นที่ภายในบริเวณบ้าน เพื่อช่วยเสริมสร้างให้ลูกได้ออกกำลังกายทั้งกล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ไปในตัว และการที่ลูกได้ลงมือทำอะไรด้วยตัวเอง หากเกิดข้อผิดพลาดแล้วต้องทำใหม่ ลูกจะถูกฝึกให้ใช้สมองในการแก้ปัญหา ซึ่งจะสร้างความภูมิใจ ทำให้เขามีความกล้าที่จะทำอะไรยากขึ้นกว่าเดิม” เคล็ดลับในการสร้างทักษะให้ลูกน้อยในเจนอัลฟ่า จาก  อาจารย์รณสิงห์ รือเรือง นักจิตวิทยาคลินิก ระดับชำนาญการพิเศษ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ จังหวัดเชียงใหม่

ลูก ๆ สามารถรับรู้ได้ว่าพ่อแม่ฟังในสิ่งที่ลูกพูดหรือไม่ ในขณะเดียวกันพ่อแม่ก็ต้องมีวิธีการในการฟังให้ได้ยินเสียงหัวใจของลูกด้วยเช่นกัน โดยใช้หลัก 4R เข้ามาช่วยคือ Respect หรือพยายามเข้าถึงตัวลูก เพื่อแสดงให้เห็นว่าพ่อแม่อยู่ในระดับเดียวกับเขา รับรู้และเคารพในความคิดของลูก และสร้าง Relationship เพื่อพูดคุยและเข้าไปอยู่ในโลกของลูก สร้างความเข้าใจและให้ลูกเกิดความรู้สึกว่าเราคือทีมเดียวกัน นอกจากนี้พ่อแม่สามารถให้ลูกได้ตัดสินใจทำกิจกรรมบางอย่างเพื่อสร้าง Responsibility และให้เขาได้เกิดความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองได้ทำ โดยอาจใช้วิธีตั้งคำถาม ให้ลูกตัดสินใจ หรือวางแผนลงมือทำ และสุดท้ายคือ Reassurance / Reward คือการทำให้ลูกรู้สึกดี ด้วยการชื่นชม หรือให้รางวัลเมื่อลูกทำสำเร็จ” อาจารย์รณสิงห์ กล่าวเพิ่มเติม

“ห้องครัวคือห้องเรียนที่ยิ่งใหญ่ของครอบครัว การให้ลูกได้มีส่วนร่วมในการเข้าครัวและช่วยเตรียมเมนูอาหาร จะช่วยให้เขาสามารถกินผักผลไม้ได้หลากหลายมากขึ้น หลายบ้านที่ประสบปัญหาลูกไม่กินผัก ผลไม้ อาจลองให้ลูกมีส่วนร่วมในการช่วยเตรียมเมนูอาหาร เพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคย และสร้างความกระตือรือร้นในการกินผักมากขึ้น ซึ่งการช่วยเตรียมเมนูอาหารก็จะช่วยพัฒนาในเรื่องของการคิด วิเคราะห์ ช่วยสร้างความรับผิดชอบ ไปจนถึงสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัว นอกจากนี้ยังเป็นการฝึกให้ลูกทานอาหารที่มีสารอาหารครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่พอเหมาะ เพราะอาหารทุกมื้อที่เรารับเข้าสู่ร่างกาย เปรียบเสมือนยาจากธรรมชาติ ที่ช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง ซ่อมแซมร่างกาย และป้องกันไม่ให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ โดยอาหารแต่ละมื้อควรประกอบไปด้วย ผัก 2 ส่วน ข้าว 1 ส่วน และเนื้อสัตว์อีก 1 ส่วน และการทานอาหารมื้อเช้าเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างวินัยที่ต้องเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก พ่อ แม่ควรให้ความสำคัญและเป็นต้นแบบในการฝึกให้ลูก โดยเริ่มจากอาหารที่เขาคุ้นเคย หรืออาหารจานโปรด ในปริมาณที่เหมาะสม” นางทัศนีย์ สิทธิรัตน์ ณ นครพนม ผู้จัดการฝ่ายชำนาญการพิเศษด้านอาหาร บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด แชร์เทคนิคที่ช่วยให้ลูกกินผักและผลไม้มากขึ้นจากเวิร์คช็อปในครั้งนี้

“โลกที่ไม่เหมือนเดิมของเด็ก ๆ เริ่มตั้งแต่การกลับเข้าโรงเรียน การเข้าสังคมกับเพื่อน บรรยากาศในห้องเรียน พ่อ แม่ ต้องมีการวางแผน และเตรียมใจในการส่งลูกกลับเข้าโรงเรียน ในขณะเดียวกัน การเลือกที่จะไม่กลับไปโรงเรียน โดยพิจารณาจากข้อดีข้อเสีย และข้อจำกัดของแต่ละครอบครัว ก็เป็นสิ่งที่พ่อ แม่ สามารถทำได้เช่นเดียวกัน และจากสถานการณ์ปัจจุบันหลายครอบครัวประสบปัญหาที่ลูกใช้เวลาอยู่กับหน้าจอมากเกินไป ทำให้พ่อแม่มีความกังวลกับปัญหาการติดหน้าจอของลูก อาจแก้ไขได้ด้วยการฝึกวินัย และกำหนดกติกา ในลักษณะของ ‘Kind but Firm’ ที่มีความยืดหยุ่น แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องจริงจังตามกติกาที่ได้ตกลงกันไว้ ในขณะเดียวกัน พ่อ แม่ สามารถกำหนด To Do List หรือสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวัน เพื่อช่วยให้ลูกแบ่งเวลาในการทำกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม เช่นแบ่งเวลาทำงานบ้าน ออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมร่วมกัน และมีเวลาให้อยู่กับหน้าจอ ก็จะช่วยให้ลูกสามารถทำกิจกรรม และเป็นการฝึกทักษะการควบคุมตัวเอง (Self Control) และช่วยลดปัญหาการติดหน้าจอได้อีกด้วย”

“จากข้อจำกัดของการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบัน ทำให้หลายครอบครัวมีความกังวลเกี่ยวกับพัฒนาการของลูก เช่น ความสูง หรือน้ำหนักตัว สิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือการตั้งคำถามกับสิ่งที่กังวล ว่ามีผลกระทบกับการใช้ชีวิตของลูกมากน้อยแค่ไหน แล้วกลับไปลองหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อให้ได้คำตอบ เช่น บางครอบครัวกลัวลูกไม่สูง จนกลายเป็นกดดันลูกและกดดันตัวเอง ลองกลับไปหาข้อมูลดูว่าส่วนสูงของลูกในปัจจุบันอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ พร้อมตั้งคำถามกับตัวเองว่าจะทำอย่างไรเพื่อช่วยลูกได้ เช่นการจัดการเรื่องการฝึกวินัย และจัดการเรื่องอาหารการการกิน เป็นต้น”  คำแนะนำจาก ผศ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น โรงพยาบาลรามาธิบดี และเจ้าของเพจ “เลี้ยงลูกนอกบ้าน”

วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมเวิร์คช็อปแบบไฮบริด ที่เน้นการลงมือปฎิบัติจริงในวันนี้ คือ เพื่อให้พ่อแม่ และลูกในเจนอัลฟ่า ได้มีเวลาในการสร้างประสบการณ์การต่าง ๆ ทั้งการคิด การพูด การฟัง เพื่อให้เด็กได้ลอง ได้เล่น ได้ทำกิจกรรมใหม่ ๆ ที่ไม่จำกัด ล้วนนำไปสู่การเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาทักษะ ความสนุก ความสงสัยใคร่รู้ของพวกเขาได้ และประสบการณ์ทั้งหมดที่ได้ในวันนี้จะสามารถนำพาครอบครัวในเจนอัลฟ่า ไปสู่โลกที่ไม่เหมือนเดิม ได้อย่างมีความสุขทั้งกายและใจ นางกนกทิพย์ ปริญญานุสสรณ์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาและสื่อสารโภชนาการเพื่อสุขภาพ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด กล่าวปิดท้าย



ร่วมติดตามข่าวสาร กิจกรรม และเทคนิคดีๆ ในการเลี้ยงลูกน้อยในเจเนอเรชันอัลฟ่า จากโครงการเนสท์เล่เพื่อเด็กสุขภาพดี ได้ที่ https://www.facebook.com/N4HKThailand/

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook