เปิดที่มาพิธีเสกสมรส "เจ้าหญิงฟัดซิลลาห์แห่งบรูไน" ทำไมจัดยาวนานกว่า 10 วัน

เปิดที่มาพิธีเสกสมรส "เจ้าหญิงฟัดซิลลาห์แห่งบรูไน" ทำไมจัดยาวนานกว่า 10 วัน

เปิดที่มาพิธีเสกสมรส "เจ้าหญิงฟัดซิลลาห์แห่งบรูไน" ทำไมจัดยาวนานกว่า 10 วัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พิธีเสกสมรสใน ‘เจ้าหญิงฟัดซิลลาห์’ พระราชธิดาใน ‘สุลต่านฮัสซานัลโบเกียห์ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไน’ และ ‘อับดุลลาห์ นาบิล มาห์มุด อัล-ฮาซิมี’ ใช้เวลายาวนานถึง 10 วัน นับตั้งแต่วันที่ 16 – 25 มกราคม 2565 ซึ่งนอกจากเป็นการแสดงให้เห็นถึงความมั่งคั่งของราชวงศ์บรูไนแล้ว ยังสะท้อนถึงวิถีชีวิตของชาวบรูไนที่ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นอย่างมาก

เจ้าหญิงฟัดซิลลาห์ ทรงเข้าพิธีเสกสมรสกับ อับดุลลาห์ นาบิล มาห์มุด อัล-ฮาซิมีเจ้าหญิงฟัดซิลลาห์ ทรงเข้าพิธีเสกสมรสกับ อับดุลลาห์ นาบิล มาห์มุด อัล-ฮาซิมี
วัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ ของประเทศบรูไนล้วนอิงตามหลักศาสนาอิสลามอันเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งใน คู่มือประเทศบรูไน จัดทำโดย ‘รศ.ดลมนรรจน์ บากา’ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในปี 2547 มีการกล่าวถึง ‘ประเพณีการแต่งงานของชาวบรูไน’ ไว้ว่า มีหลายขั้นตอน ดังต่อไปนี้ เบอร์ซูโระห์ (การตอบรับคำขอแต่งงาน), การหมั้น, การเตรียมตัววันก่อนแต่งงาน, การทาแป้งอาบน้ำ เพื่อทำความสะอาดร่างกายและชำระจิตใจให้ผ่องใส ที่สำคัญยิ่งเป็นจุดเปลี่ยนสถานภาพของผู้คนจากโสดเป็นชีวิตใหม่คือชีวิตสมรส

สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนทรงรับการขอพระบรมราชานุญาตเสกสมรสจากอับดุลลาห์ นาบิล มาห์มุด อัล-ฮาซิมีสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนทรงรับการขอพระบรมราชานุญาตเสกสมรสจากอับดุลลาห์ นาบิล มาห์มุด อัล-ฮาซิมี
ราตรีที่นอนไม่หลับ จัดขึ้นในคืนเฉลิมฉลองการแต่งงาน โดยจัดให้มีมหรสพต่าง ๆ อาทิ การอ่านกวีนิพนธ์ และการบรรเลงดนตรี, ราตรีที่ต้องทาแป้ง เป็นงานใหญ่รองจากวันแต่งงาน ซึ่งในขั้นตอนนี้จะมีการอ่านดุอาอฺขอพรจากพระเจ้าเพื่อให้คู่บ่าว-สาวอยู่เย็นเป็นสุข, การนิกาฮฺ (การแต่งงาน) อันเป็นประเพณีที่ได้รับจากหลักการอิสลาม, การรับประทานอาหารก่อนนั่งบัลลังก์ เพื่อเป็นการเปิดประตูสู่โชคลาภและรายได้อีกทั้งจะเป็นสิริมงคลแก่คู่สมรส, การแห่และการนั่งบัลลังก์ ปิดท้ายด้วยพิธีมูลิห์ ตีกา ฮารี (3 วันกลับบ้าน) ซึ่งเจ้าบ่าวจะอยู่ที่บ้านเจ้าสาวเป็นเวลา 3 วันแล้วกลับบ้านเดิมเป็นเวลาชั่วคราว


ขณะที่พิธีเสกสมรสในเจ้าหญิงฟัดซิลลาห์มีหลายส่วนที่คล้ายคลึงในคู่มืออยู่มากเช่น ‘Istiadat Bersuruh Diraja’ ในวันที่ 16 มกราคม เป็นพิธีที่สุลต่านฮัสซานัลโบเกียห์ทรงรับการขอพระบรมราชานุญาตเสกสมรสจากอับดุลลาห์ นาบิล มาห์มุด อัล-ฮาซิมี และพิธี ‘Istiadat Berbedak Pengantin Diraja’ ในวันที่ 19 มกราคม สุลต่านฮัสซานัลโบเกียห์และสมเด็จพระราชินีสเลฮา เสด็จฯ ทรงร่วมพิธีทาแป้งแก่เจ้าหญิงฟังซิลลาห์ เป็นต้น จากนั้นจึงมีพิธีเสกสมรสวันที่ 23 มกราคม และพิธีเลี้ยงพระกระยาหารฉลองวันที่ 24 มกราคม ก่อนปิดพิธีเสกสมรสในวันที่ 25 มกราคม 2565


ทั้งนี้ ในเว็บไซต์ทางการของสำนักนายกรัฐมนตรีมีการกล่าวถึงพิธีเสกสมรสในครั้งนี้ไว้ว่า “ความวิจิตรบรรจงในพิธีเสกสมรสซึ่งสืบทอดมาแบบรุ่นสู่รุ่น สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์และความงดงามของมรดกแห่งราชวงศ์บรูไน”

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook