ว่าด้วยประวัติศาสตร์ของ "สาวแว่น" จากยุคเมจิถึงไอดอลไทย!

ว่าด้วยประวัติศาสตร์ของ "สาวแว่น" จากยุคเมจิถึงไอดอลไทย!

ว่าด้วยประวัติศาสตร์ของ "สาวแว่น" จากยุคเมจิถึงไอดอลไทย!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สวัสดีครับท่านผู้อ่าน หากท่านเป็นผู้ชายแล้วชอบดูอนิเมะ อ่านมังงะ หรือติดตามไอดอลละก็ คงจะรู้จักหรืออาจถึงขั้นตกหลุมรัก “สาวแว่น” ก็ได้ ซึ่งถ้ามองมาถึงเมืองไทยชั่วโมงนี้เราก็มีไอดอลไทยที่พรีเซนต์ตัวเองด้วยคาแรกเตอร์ “สาวแว่น” เอาแบบชัดๆ เลยขนาดที่ว่าใส่แว่นเต้นบนเวทีด้วยก็มีน้อง Ping CGM48 กับล่าสุดเลยก็น้อง Meemie Last Idol (ไม่นับอีกหลายคนที่ถึงไม่ขนาดพรีเซนต์ตัวเองเป็นสาวแว่นชัดเจนตลอดแต่ก็ต้องมีภาพชอตตอน “ใส่แว่น” มาให้ได้ชมกันบ้าง) วันนี้ผู้เขียนจะมาขอเล่า “ประวัติศาสตร์” พัฒนาการของคาแรกเตอร์ “สาวแว่น” ตั้งแต่ยุคเมจิกันเลยนะครับ (แลดูมีสาระ 55)



 
ภาพลักษณ์ของ “คนใส่แว่นตา”

ภาพวาด “คนใส่แว่นตา” ที่เก่าที่สุดในโลกคือภาพวาดบุคคลของ Hugh of Saint Cher พระคาร์ดินัลชาวฝรั่งเศส ซึ่งวาดขึ้นในปี ค.ศ. 1352 หลังจากที่  Hugh of Saint Cher ถึงแก่กรรมไปแล้ว (ถึงแก่กรรม ปี ค.ศ. 1263) สิ่งที่น่าสนใจคือ ผู้วาดจงใจวาดให้ “ใส่แว่นตา” ทั้งที่ในยุคที่  Hugh of Saint Cher ยังมีชีวิตอยู่นั้นยังไม่มีแว่นตาเกิดขึ้นในโลก!

ภาพวาดบุคคลของ Hugh of Saint Cher วาดเมื่อ ค.ศ. 1352ภาพวาดบุคคลของ Hugh of Saint Cher วาดเมื่อ ค.ศ. 1352
แล้ววาดภาพบุคคลโดยให้ใส่ของที่มัน “ผิดยุค” เพื่ออะไร? เดาว่าเพื่อจะใช้ “แว่นตา” เป็นสัญลักษณ์ว่าบุคคลในภาพ “มีการศึกษาสูง” “รู้หนังสือดี” (ประมาณว่าอ่านหนังสือหนักมากจนต้องใส่แว่น) ก็เป็นได้

ภาพ “สาวแว่น” ยุคเมจิ
น่าคิดว่าภาพลักษณ์ของ “คนใส่แว่นตา” ในทางบวก (“แว่นตา”=“มีการศึกษาสูง” “รู้หนังสือดี” แผลงเป็น “มีสติปัญญาฉลาด”) ซึ่งเกิดขึ้นในหมู่ฝรั่งยุโรปนั้น น่าจะแพร่มาถึงญี่ปุ่นในยุคเมจิ ซึ่งเป็นยุคที่ญี่ปุ่น “เปิดประเทศ” รับความรู้และเทคโนโลยีจากตะวันตกเข้ามาด้วยหรือเปล่า ดังปรากฏในภาพอุคิโยเอะ ชื่อภาพ “คนงามแท้” (真美人 ชินบิยิน) ซึ่งเป็นภาพผู้หญิงญี่ปุ่นยุคเมจิใส่แว่น ผลงานของ โยชู จิคะโนบุ (楊洲周延) ในปี พ.ศ. 2441 (ปีเมจิที่ 31) ซึ่งน่าจะต้องการสื่อว่า ความสวยนั้นอยู่ที่ความฉลาดด้วย

ภาพอุคิโยเอะ “คนงามแท้” (真美人 ชินบิยิน)ภาพอุคิโยเอะ “คนงามแท้” (真美人 ชินบิยิน)

ภาพลักษณ์ของ “สาวแว่น” ที่ถูกสร้างผ่านมังงะและอนิเมะ

อย่างไรก็ดี ผู้เขียนเห็นว่า ภาพลักษณ์ของ “สาวแว่น” ที่ถูกสร้างผ่านมังงะและอนิเมะนั้นเป็นอะไรที่ถูกบิดให้เพี้ยนไปจากภาพลักษณ์ของ “คนใส่แว่นตา” ที่มีมาแต่เดิม จากการจงใจสร้างคาแรกเตอร์เด็กผู้หญิงให้แลดู “น่าสนใจ” โดยเอา “แว่นตา” มาบวกกับภาพลักษณ์ของ “สาวน้อยน่ารัก” โมเอะ ซึ่งประสบความสำเร็จเนื่องจากอาจจะไป “จับถูกเส้น” จิตวิทยาของผู้ชายที่ชอบเสพมังงะและอนิเมะดังนี้

คนใส่แว่น→สายตาสั้น→อ่านหนังสือหรือเล่นคอมฯ มาก→เป็นคนชอบขลุกอยู่แต่สิ่งที่ตัวเองสนใจ→โลกส่วนตัวสูง ดีไม่ดีอาจถึงขั้น introvert→น่าค้นหา อยากรู้จังตัวตนจริงของเธอจะเป็นไงน้าา

หรือ

คนใส่แว่น→สายตาสั้น→บกพร่องทางสายตา→บวกกับความที่อยู่กับหนังสือหรือเล่นคอมฯ มากไป ทำให้ร่างกายอ่อนแอเพราะขาดการออกกำลังกาย บุคลิกดูไม่แคล่วคล่อง→ผู้หญิงที่ดูอ่อนแอ บอบบางนั้นกระตุ้นความเป็นชาย เห็นแล้วอยากจะปกป้อง (เพราะความอ่อนแอตีความได้ว่าการต้องการที่พึ่งพา) หรือกลับกันบางทีก็อยากจะลองรังแกดูบ้าง

หรือ

คนใส่แว่น→แว่นเป็นตัวอำพรางหรือปิดบังใบหน้าอย่างหนึ่ง ซึ่งพอถอดแว่นแล้วหน้าตาก็จะดูเป็นอีกอย่าง →มีสองบุคลิกในคนเดียวกัน→น่าสนใจ

ครับ และจากการ “สร้าง” คาแรกเตอร์ของ “สาวแว่น” เช่นนี้ พอคาแรกเตอร์แนวๆ นี้ได้รับความนิยมก็ก่อให้เกิดการผลิตซ้ำไปมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค (เสพสื่อ) จนไปปรากฏตัวได้เรื่อยๆ ทั้งในมังงะ อนิเมะ วิดีโอเกม จนถึงไอดอล! อย่างในเกม Samurai Spirits ภาคล่าสุดก็ Wu Ruixiang นั่นไงครับ สาวแว่น เบิ้ม ๆ คือ ลือ เลยนะนั่นน่ะ


 
วันนี้ก็อจบแต่เพียงดื้อๆ เท่านี้ก่อนนะครับ สำหรับใครที่เข้ามาอ่านโดยคาดหวังว่าจะมีสาระก็ต้องขออภัยด้วยนะครับ 555 เอาเป็นว่าพบกันใหม่คราวหน้าสวัสดีครับ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook