อีลอน มัสก์ แนะเด็กควรหลีกเลี่ยงไม่ใช้ 50 Cognitive Bias ในการตัดสินใจ
เมื่อเดือนธันวาคม ปีที่ผ่านมา อีลอน มัสก์ แนะนำ เด็กให้หลีกเลี่ยงไม่ใช้ 50 Cognitive Bias ในการตัดสินใจ ในทวิตเตอร์ส่วนตัวของเขา และทำให้มีการรีทวีต 64,000 ครั้ง และมีคนกด Like มากถึง 315,000 ครั้ง เป็นข้อความสั้นๆ และภาพประกอบว่า ‘เราควรสอนเรื่องนี้แก่ทุกคนตั้งแต่เด็กเลย’
นอกจากจะทำโรงเรียน Ad Astra แล้ว เรื่องที่ทำให้ อีลอน มัสก์ ถึงกับแนะนำและประกาศในทวีตนั่นก็คือ ‘Cognitive Bias ความเอนเอียงหรืออคติ 50 อย่างที่ควรหลีกเลี่ยง’ เพราะไม่ว่าการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องใดก็ตาม อีลอน มัสก์ แนะนำว่า ควรใช้ข้อมูลเป็นพื้นฐาน และรู้ว่าตัวเองกำลังเอนเอียงไปทางหนึ่งทางใด จนลืมนึกถึงเป้าหมายและความเป็นจริงไปหรือเปล่า
Cognitive Bias ความเอนเอียงหรืออคติคืออะไร
ตามหลักวิชาการ Cognitive Bias ความเอนเอียงหรืออคติ เป็นความผิดพลาดอย่างเป็นระบบของการคิดที่มาจากความทรงจำ ประสบการณ์ในอดีต การรับรู้รับทราบ การสังเกต ความเห็น เป็นต้น ซึ่งทำให้มองเห็นความความเชื่อมโยงของสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างผิดๆ ตีความคำพูดของคนอื่นอย่างผิดๆ เข้าใจความสามารถของตนเองผิด ฯลฯ ซึ่งอาจส่งผลให้การตัดสินใจผิดพลาดได้
Pexels
และนี่คือ 50 Cognitive Bias ที่ อีลอน มัสก์ แนะนำในทวิตเตอร์ให้สอนเด็กควรหลีกเลี่ยง
- Fundamental Attribution Error เราตัดสินคนอื่นจากบุคลิกและภาพลักษณ์ของเขา หรือเหมารวมว่าเขาเป็นคนแบบนั้นเพราะเขาเป็นคนชาตินั้น แต่เราตัดสินตัวเองจากสถานการณ์ ที่เป็นการเข้าข้างตัวเอง
- Self-Serving Bias ความล้มเหลวของเราเกิดขึ้นเพราะสถานการณ์บังคับ แต่ความสำเร็จของตัวเองมาจากความรับผิดชอบของเรา
- In-Group Favoritism เราช่วยคนที่เป็นพรรคพวกเรา และจะเป็นปฏิปักษ์กับคนนอกกลุ่ม
- Bandwagon Effect การแห่ตามสมัยนิยมโดยไม่คำนึงถึงความถูกผิด ยิ่งคนนิยมทำหรือเป็นเจ้าของมากเท่าไร ก็ยิ่งแห่ทำตามมากขึ้นเท่านั้น
- Groupthink ความต้องการความสามัคคีเป็นกลุ่มก้อน ทำให้ตัดสินใจโดยขาดเหตุผล เพื่อลดความขัดแย้ง
- Halo Effect การยกย่องบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยไม่สนว่าเขาจะเป็นคนดีหรือไม่ และทำให้มองไม่เห็นข้อเสียของบุคคลนั้น
- Moral Luck ตัดสินคนจากผลลัพธ์ ถ้าผลลัพธ์ออกมาดี แสดงว่าคนๆนั้นมีคุณธรรมที่ดี แต่ถ้าผลลัพธ์ออกมาไม่ดี แสดงว่าคนๆนั้นไม่มีคุณธรรม
- False Consensus การคิดว่าคนจำนวนมากเห็นด้วยกับเรา หรือมีความคิดแนวเดียวกับเรา
- Curse of Knowledge เมื่อเรารู้อะไรบางอย่าง เราก็มักจะคิดว่าคนอื่นรู้เหมือนกัน
- Spotlight Effect เราคิดว่าตัวเองเป็นจุดสนใจ ไม่ว่าจะด้วยเรื่องรูปร่างหน้าตาหรือพฤติกรรม
- Availability Heuristic การตัดสินอะไรก็ตามจากตัวอย่างที่เรานึกได้ในชั่วขณะนั้น
Pexels
อีลอน มัสก์ แนะนำอีกว่า
- Defensive Attribution เราจะหวาดกลัวอยู่ลึกๆว่าจะตกเป็นเหยื่อ และจะโทษเหยื่อน้อยลง ถ้าเรารู้จักเหยื่อหรือเข้าใจหัวอกเหยื่อ
- Just-World Hypothesis เชื่อว่าถึงอย่างไรโลกนี้มีความยุติธรรม แม้บางครั้งจะเป็นความอยุติธรรม เราก็มักจะคิดว่าเป็นความยุติธรรมเสมอ
- Naive Realism เราเชื่อว่าคนอื่นไม่มีเหตุผล ไม่มีความรู้ หรือไม่ก็ลำเอียงเสมอ
- Naive Cynicism เราเชื่อว่าคนอื่นมักจะหลงตัวเองมากกว่าที่เป็น ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม
- Forer Effect เราจะเชื่อคำอธิบายกว้างๆ ที่ใช้ได้กับทุกคนเสมอ แม้ว่าจะเป็นคำอธิบายที่ไม่เฉพาะเจาะจงก็ตาม
- Dunning-Kruger Effect ยิ่งรู้น้อย ยิ่งมั่นใจ ยิ่งรู้มาก ยิ่งไม่มั่นใจ
- Anchoring เรามักจะตัดสินใจจากข้อมูลชิ้นแรกที่ได้รับเสมอ
- Automation Bias บางทีเรามักจะเชื่อผลลัพธ์ที่ถูกต้องโดยอัตโนมัติจากการตัดสินใจที่ถูกต้องอยู่แล้วมากเกินไปเสมอ
- Google Effect เรามีแนวโน้มที่จะลืมข้อมูลที่สามารถหาได้ง่ายในเซิร์ชเอ็นจิน
- Reactance เรามักจะทำตรงข้ามกับคำสั่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรู้สึกว่าอิสรภาพส่วนตนกำลังถูกคุกคาม
- Confirmation Bias เรามักจะจดจำและมองหาข้อมูลที่ตอกย้ำการรับรู้ของเรา
นอกจากนี้ อีลอน มัสก์ แนะนำอีกด้วยว่า
- Backfire Effect การเชื่อหัวปักหัวปำ แม้ว่าจะมีหลักฐานโต้แย้งว่าผิด หรืออาจเชื่อมากกว่าเดิม และจะโต้กลับด้วย
- Third-Person Effect เชื่อว่าคนอื่นบริโภคสื่อ มากกว่าตัวเอง
- Belief Bias การที่เราตัดสินว่าคำโต้แย้งนั้นน่าเชื่อถือ ไม่ใช่เพราะมันมีเหตุผล แต่เพราะเราเชื่อว่าข้อสรุปนั้นมีความเป็นไปได้
- Availability Cascade เชื่อว่าถูกเพราะสังคมยอมรับ
- Declinism โหยหาอดีต และมองอนาคตในแง่ลบ เพราะเชื่อว่าสังคมและสถาบันกำลังเสื่อมถอย
- Status Quo Bias เรามีแนวโน้มที่จะไม่ชอบความปลี่ยนแปลง เพราะเชื่อว่าความเปลี่ยนแปลงเป็นความสูญเสีย
- Sunk Cost Fallacy เราลงทุนเพิ่มไปกับต้นทุนที่จม โดยไม่เปลี่ยนแปลงการลงทุน แม้ว่าเราจะขาดทุนแล้วก็ตาม
- Gambler’s Fallacy คิดว่าความเป็นไปได้ในอนาคต สืบเนื่องจากเหตุการณ์ในอดีต
- Zero-Risk Bias เราชอบที่จะลดความเสี่ยงให้เหลือศูนย์ มากกว่าจะลดความเสี่ยงให้มากกว่านั้นด้วยทางเลือกอื่น
- Framing Effect เราสรุปข้อมูลเดียวกัน แต่แตกต่างออกไป ขึ้นอยู่กับว่าเราได้รับข้อมูลนั้นในรูปแบบไหน
- Sterotyping เรามักจะเชื่อแบบเหมารวมว่า คนกลุ่มนี้จะต้องมีบุคลิกแบบนี้ โดยไม่สนใจข้อมูลเป็นรายบุคคล
- Outgroup Homogeneity Bias เชื่อว่าคนนอกกลุ่มเหมือนกันหมด แต่คนในกลุ่มตัวเองนั้นมีความหลากหลายกว่า
- Authority Bias เชื่อว่าความเห็นของผู้มีอำนาจสูงกว่านั้นถูกต้อง
Pexels
อีลอน มัสก์ แนะนำเด็กๆเพิ่มเติมด้วยว่า
- Placebo Effect ถ้าเราเชื่อว่าการรักษานี้จะได้ผล นั่นก็เพราะมันเป็นผลพวงทางจิตวิทยาเล็กๆ
- Survivorship Bias เรามีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับอะไรก็ตามที่รอดพ้นมาได้ และมองข้ามสิ่งที่ล้มเหลว
- Tachypsychia การับรู้เวลาที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะวิกฤติในชีวิต ยาเสพติด และการใช้แรงมากเกินไป
- Law of Triviality ให้ความสำคัญกับเรื่องเล็กน้อย โดยหลีกเลี่ยงเรื่องที่ซับซ้อนกว่า
- Zeigarnik Effect จดจำงานที่ไม่สำเร็จ มากกว่างานที่สำเร็จแล้ว
- IKEA Effect ให้คุณค่ากับสิ่งที่ตัวเองมีส่วนเกี่ยวข้อง หรือลงมือทำมากกว่า
- Ben Franklin Effect การเลือกช่วยคนที่เราเคยช่วย ไม่ใช่เพราะเขาเคยช่วยเรา
- Bystander Effect ยิ่งคนดูเยอะ ยิ่งมีคนช่วยน้อย เพราะไม่รู้ว่าใครต้องช่วย หรือว่าตัวเองต้องช่วยหรือเปล่า
- Suggestibility เกิดขึ้นกับเด็กๆมากกว่า เป็นการถามนำที่เกี่ยวข้องกับความจำ
- False Memory คิดว่าจินตนาการ เป็นความทรงจำที่แท้จริง
- Crptomnesia คิดว่าความทรงจำที่แท้จริง เป็นจินตนาการ
- Clustering Illusion พบแบบแผนและกลุ่มก้อนในข้อมูลแบบสุ่ม
- Pessimism Bias บางทีเราก็ประเมินผลลัพธ์ที่ไม่ดีว่าน่าจะเหมือนกันไปหมด
- Optimism Bias บางทีเราก็มองผลลัพธ์ที่ดีในแง่ดีจนเกินไป
- Blind Spot Bias มองข้ามอคติของตัวเอง แต่มองเห็นอคติของคนอื่น
เมื่อคุณอ่านมาจนถึงบรรทัดนี้ ก็คงจะตระหนักว่า สิ่งที่ อีลอน มัสก์ แนะนำนั้นถูกต้องแล้ว เพราะหากเราสอนเด็กถึง 50 ความเอนเอียงหรือคตินี้แก่พวกเขา โลกเราจะน่าอยู่มากกว่าเดิมแน่นอน