7 วิธีสต็อกนมแม่ไว้ได้นาน ไร้กลิ่นเหม็นหืน

7 วิธีสต็อกนมแม่ไว้ได้นาน ไร้กลิ่นเหม็นหืน

7 วิธีสต็อกนมแม่ไว้ได้นาน ไร้กลิ่นเหม็นหืน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในยุคที่คุณแม่ให้ความสำคัญกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เราจึงเห็นคุณแม่หลายคนพยายามหาวิธีเพิ่มน้ำนมกันอย่างจริงจังมาก แต่เมื่อคุณแม่มีน้ำนมให้ลูกน้อยได้กินในระยะยาว การจัดเก็บน้ำนมจึงกลายเป็นสิ่งที่คุณแม่จะต้องให้ความสำคัญไม่แพ้การเพิ่มน้ำนมเลยก็ว่าได้ วันนี้เราจะชวนให้คุณแม่มารู้ 7 วิธีการเก็บรักษานมแม่ เพื่อจะสามารถสต็อกนมไว้ได้นาน และไร้กลิ่นเหม็นหืนกันค่ะ


1.ปั๊มนมให้ลูกกินหมดภายใน 4 วัน
โดยปกติแล้วคุณแม่จะปั๊มนมให้ลูกกินวันต่อวัน แต่หากมีน้ำนมในปริมาณมาก คุณแม่สามารถปั๊มนมแล้วสต็อกไว้ให้ลูกกินให้หมดภายใน 4 วัน ซึ่งนมที่คุณแม่สต็อกไว้ แนะนำให้แช่ตู้เย็นช่องธรรมดา เพราะน้ำนมของคุณแม่สามารถอยู่ในตู้เย็นช่องธรรมดาได้ 4 วัน จึงควรปั๊มนมให้ลูกกินให้หมดภายใน 4 วันจะดีมากๆ


2.เปลี่ยนจากแช่แข็งมาไว้ในตู้เย็น 12 ชั่วโมง
ในกรณีที่คุณแม่สต็อกนมและแช่ไว้ในตู้แช่แข็ง หากต้องการเอานมที่แช่แข็งมาใช้ ควรเอานมมาไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาประมาณ 12 ชั่วโมง เพื่อให้นมละลาย และสามารถเอามาใส่ขวดให้ลูกดื่มแบบเย็นๆ ได้เลย ซึ่งจะไม่ส่งผลให้เกิดอาการท้องเสียหรือปวดท้องแต่อย่างใด ทั้งนี้การกินนมเย็นๆ จะไม่ทำให้นมแม่มีกลิ่นเหม็นหืนอีกด้วย แต่สำหรับลูกบ้านไหนที่ไม่ชอบกินนมเย็นๆ แนะนำให้คุณแม่เอานมแม่ในถุงไปวางไว้ในน้ำอุ่นอุณหภูมิ 40 องศา ประมาณ 20 นาที ทั้งนี้ห้ามละลายนมในอุณหภูมิห้องหรือไปละลายในไมโครเวฟเด็ดขาด


3.นมที่ละลายแล้วต้องใช้ให้หมดภายใน 24 ชั่วโมง
คุณแม่จะต้องคำนวณปริมาณนมที่ลูกกินในแต่ละครั้งให้ดี เพราะนมที่ละลายแล้วจะต้องให้ลูกกินให้หมดภายใน 24 ชั่วโมง ดังนั้นถ้าลูกกินนม 12 ออนซ์ คุณแม่ควรเอานมจากช่องแช่แข็งลงมาไว้ในช่องธรรมดาประมาณ 12 ออนซ์ ในระยะเวลา 12 ชั่วโมง ก่อนให้ลูกกินนม และหากลูกกินไม่หมด คุณแม่สามารถเอานมมาให้ลูกกินได้อีกครั้ง แต่ต้องเอาไปแช่เย็นก่อนเพื่อให้ลูกกินในมื้อถัดไป


4.นมที่ละลายแล้วห้ามนำไปแช่แข็งใหม่
นมแม่ที่เอามาละลายแล้ว หากใช้ไม่หมด คุณแม่จำเป็นต้องเททิ้งโดยห้ามเสียดาย และห้ามนำกลับไปแช่แข็งใหม่เด็ดขาด


5.ปิดและรีดปากถุงเก็บน้ำนมให้สนิท
เมื่อคุณแม่เก็บน้ำนม ควรปิดและรีดปากถุงให้สนิท ที่สำคัญต้องให้อากาศออกมากที่สุด เพื่อให้ถุงน้ำนมมีการขยายได้เมื่อนมกลายเป็นน้ำแข็ง


6.วางถุงนมในแนวราบ เพื่อให้นมแข็งตัวเร็ว
เมื่อคุณแม่จะเก็บน้ำนมในตู้แช่แข็ง ให้วางถุงนมในแนวราบ และวางบนถาดสแตนเลส จากนั้นให้เทน้ำเย็นราดก่อนที่จะเอาไปแช่แข็ง การทำแบบนี้เพื่อให้นมแม่ที่เก็บไว้แข็งตัวได้เร็วที่สุด และยังช่วยลดกลิ่นเหม็นหืนอีกด้วย


7.สามารถเก็บนมแม่รวมกันได้ภายใน 24 ชั่วโมง
ในกรณีที่คุณแม่ปั๊มนมได้ไม่มาก สามารถเก็บนมที่ปั๊มได้ในเวลาที่ต่างกันไว้ในถุงเดียวกันได้ แต่ถ้าใส่นมในถุงเก็บนมแล้ว ให้เอาไปแช่ตู้เย็น เมื่อปั๊มนมในคราวต่อไปก็นำกลับมาใส่ในถุงเดิมได้ ทั้งนี้คุณแม่สามารถเก็บนมรวมกันได้ภายใน 24 ชั่วโมงเท่านั้น


การเก็บรักษานมแม่ ถือเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะจะช่วยให้ลูกน้อยมีนมได้กินนานๆ และในส่วนของกลิ่นนมเหม็นหืน เกิดจากการที่นมแม่มีเอนไซม์ไลเปส ซึ่งจะเป็นตัวย่อยไขมัน ทำให้ร่างกายดูดซึมไขมันได้ดี ทั้งนี้นมแม่แต่ละคนจะมีเอนไซม์ไลเปสที่แตกต่างกัน หากมีไลเปสมากก็จะมีกลิ่นเหม็นหืนมาก แต่ไม่เป็นอันตรายต่อลูกน้อยแต่อย่างใด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook