ทำอย่างไรเมื่อลูกกลายเป็นเด็ก จอมขว้าง

ทำอย่างไรเมื่อลูกกลายเป็นเด็ก จอมขว้าง

ทำอย่างไรเมื่อลูกกลายเป็นเด็ก จอมขว้าง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Q: ลูกชายอายุ 1 ขวบกว่า ชอบขว้างปาของลงพื้นมากๆ ค่ะ และยิ่งหัวเราะชอบใจถ้าเห็นแม่ต้องก้มลงไปเก็บของให้ จะแก้อย่างไรได้บ้างคะ

ความสนุกของลูกน้อยที่เป็นเรื่องน่าโมโหของคุณแม่นี้ เป็นพัฒนาการตามวัยของลูกค่ะ สมองกำลังสั่งงานให้เขาใช้นิ้วมือควบคุมการหยิบจับสิ่งของต่างๆ ยิ่งเขาขยันขว้าง ขยำ ทึ้งของเล่นมากเท่าไหร่ กล้ามเนื้อมือของลูกจะยิ่งได้พัฒนาและแข็งแรงมากขึ้น อีกอย่างหนึ่งคือ เขากำลังเรียนรู้และทดลองเรื่องเหตุและผล "ถ้าลองทิ้งของที่อยู่ในมือให้ตกลงพื้น แล้วจะเกิดอะไรขึ้น" ซึ่งผลคือ ความสนุก พอของในมือลอยละลิ่วและหล่นตุ้บอยู่บนพื้นแม่ก็เก็บให้ หล่นตุ้บแม่ก็เก็บ หล่นตุ้บแม่ก็เก็บ

แล้วเราจะรับมืออย่างไรกับการเรียนรู้นี้ ลองมาดูกันค่ะ

มาเล่นเก็บของกันเถอะ ถ้าชอบขว้างชอบปาของนักก็ดัดแปลงเป็นเกมซะเลย วิธีการเล่นนั้นแสน
ง่าย แค่รอให้เตาะแตะขว้างของลงบนพื้นไปเรื่อยๆ จนเขาหยุด จากนั้นให้คุณแม่เปิดเพลงโปรดของเขาแล้วชักชวนกันลงมาเก็บของที่เกลื่อนกลาดบนพื้น "ไหนๆ...ก่อนเพลงจบใครจะเก็บได้มากกว่ากันนะ” หรือ “ถ้าเก็บของได้มากที่สุดแม่มีสติ๊กเกอร์เพิ่มให้อีก 1 รูปเลย"

จับนั่งกับพื้นซะ ส่วนใหญ่การทดลองนี้มักเกิดขึ้น เมื่อเจ้าแสบนั่งบนเก้าอี้หรืออยู่ที่สูง ถ้าคุณเหนื่อย
กับความสนุกของลูกแล้ว วิธีแก้ก็เพียง เปลี่ยนให้เขาลงมานั่งกับพื้นบ้าง พอขว้างแล้วของไม่ได้ลอยละลิ่วแนวดิ่งก็หมดสนุกหยุดไปเอง คุณคงได้หายเหนื่อยไปพักใหญ่ แต่อีกไม่นานเขาก็จะเปลี่ยนมาขว้างแนวนอนบ้าง ก็เตรียมเล่นเกมใหม่กันนะจ๊ะ

เราไม่ขว้างอาหารกันนะ ถ้าของที่ลูกชอบปาลงพื้นเป็นอาหารที่อยู่ในจานล่ะ งานนี้ผู้เชี่ยวชาญ
แนะนำว่า "เก็บเลยค่ะ" เพราะเมื่อใดที่ลูกเริ่มไม่สนใจที่จะเอาอาหารเข้าปาก และขว้างปาอาหารแล้ว นั่นแสดงว่าเขาอิ่มแล้ว หรือเขาไม่หิว และที่สำคัญบอก (ไม่ดุ) เสียงหนักแน่น หน้าตาเอาจริง ให้เขารู้ว่า “อาหารไม่ใช่ของเล่นลูก”

ไม่บ่นจุกจิก ถึงจะยากสำหรับคุณ แต่รู้หรือไม่ว่าถ้าคุณยิ่งแสดงออกว่าไม่พอใจหรือโกรธลูก
มากเท่าใด สำหรับลูกวัยเตาะแตะ การบ่น ดุ ว่า จะกลายเป็นแรงผลักให้ลูกอยากแสดงพฤติกรรมนี้บ่อยขึ้น เข้าทำนอง ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ

เมื่อคุณเข้าใจเหตุผลของพฤติกรรมนี้แล้วว่าเป็นพัฒนาการตามวัยและการเรียนรู้ที่ดี จะไม่ให้ลูกได้ทำก็จะเสียโอกาส อารมณ์โมโหหรือหงุดหงิดของคุณคงดีขึ้น และพยายามหาทางรับมือที่สร้างสรรค์ สบายใจทั้งสองฝ่ายจะดีกว่า

 

ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.photos.com/

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook